มหากัป อสงไขยกัป อันตรกัป (21:60)

ความหมายของอสงไขยและมหากัป

คำว่า อสงไขย คือ จำนวนที่กำหนดไว้แทนระยะเวลาอันจะนับจะประมาณไม่ได้ ซึ่งได้มีผู้เปรียบเทียบหน่วยของอสงไขยเอาไว้ว่า “เหมือนมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายเลย กล่าวคือ ฝนตกทั้งวันทั้งคืน เป็นระยะเวลายาวนานถึงสามปี จนกระทั่งน้ำฝนท่วมเต็มขอบจักรวาลหรือขอบของภพสาม จากนั้น...ให้ลองคำนวณนับเม็ดฝนทั้งหมดที่ตกลงมากว่าสามปีว่ามีจำนวนเท่าใด ถ้านับได้เท่าไหร่ นั่นคือจำนวนระยะเวลาใน 1 อสงไขย

  ระยะเวลาหนึ่งอสงไขย อุปมาได้กับจำนวนเม็ดฝนที่ตกติดต่อกันสามปี จนท่วมขอบของภพสาม

        คำว่า มหากัป คือ หน่วยนับระยะเวลาที่โลกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไป ครบหนึ่งรอบ ระยะเวลาในมหากัปหนึ่งๆนั้น ถือว่ายาวนานมากๆ หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ เราคงต้องนึกตามคำอุปมาเปรียบเทียบที่องค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าได้ทรงตรัสเอาไว้

 

 ระยะเวลาหนึ่งมหากัป คือ ช่วงเวลาที่โลกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อสลายไป ครบหนึ่งรอบ

        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสอุปมาเปรียบเทียบระยะเวลาในหนึ่งมหากัปเอาไว้ ซึ่งมีปรากฏเป็นพุทธวัจนะอยู่ในพระไตรปิฎก โดยสามารถสรุปใจความให้เข้าใจง่ายๆได้ดังนี้ว่า “ดั่งมีภูเขาหินแท่งทึบลูกใหญ่ที่ไม่มีช่องไม่มีโพรง ซึ่งมีขนาดความกว้าง ความยาว และความสูง ด้านละหนึ่งโยชน์ (หรือประมาณ 16-กิโลเมตร)-ในทุกๆหนึ่งร้อยปี จะมีบุรุษนำเอาผ้าเนื้อดีจากแคว้นกาสี มาลูบภูเขาหินแท่งทึบลูกนี้หนึ่งครั้ง... 

 ภูเขาหินแท่งทึบ กว้าง ยาว สูง ด้านละหนึ่งโยชน์ ในทุกๆร้อยปีมีบุรุษนำผ้าเนื้อดีจากแคว้นกาสีมาลูบ

        เมื่อใดก็ตามที่ภูเขาหินแท่งทึบที่มีความกว้าง ความยาว และความสูง ด้านละหนึ่งโยชน์ลูกนี้ สึกกร่อนจนมีสัณฐานที่ราบเรียบเสมอกับพื้นดิน เมื่อนั้น...ช่วงระยะเวลาของหนึ่งมหากัปก็ยังไม่ถึงกาลหมดสิ้นไป ดังนั้น...ระยะเวลาในหนึ่งมหากัปจึงยาวนานอย่างนี้”

 เมื่อใดสัณฐานของภูเขาหินแท่งทึบ กว้าง ยาว สูง ด้านละหนึ่งโยชน์ เสมอพื้นดิน ระยะเวลาหนึ่งกัปยังไม่ถึงกาลหมดสิ้น

        นอกจากนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงตรัสอุปมาเปรียบเทียบระยะเวลาในหนึ่งมหากัป เอาไว้อีกอุปมาหนึ่ง โดยสามารถสรุปใจความให้เข้าใจง่ายๆได้ดังนี้ว่า “ดั่งมีนครที่กำแพงเมืองทำด้วยเหล็กขนาดใหญ่ ซึ่งมีความยาวขนาดหนึ่งโยชน์ ความกว้างขนาดหนึ่งโยชน์ และมีความสูงขนาดหนึ่งโยชน์ (ถ้าจะคำนวณปริมาตรที่อยู่ภายในเขตกำแพงของนครแห่งนี้ทั้งหมด ก็ประมาณ 4,096-ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือประมาณ 4,096,000-ลูกบาศก์เมตร)-ภายในนครแห่งนั้น จะถูกอัดแน่นไปด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาดจนเต็มพื้นที่ไปหมด และในทุกๆหนึ่งร้อยปี จะมีบุรุษหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดออกจากนครหนึ่งเมล็ด...” 

เมืองที่มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ มีขนาดกว้าง ยาว สูง ด้านละหนึ่งโยชน์ บรรจุเมล็ดพันธุ์ผักกาดไว้เต็ม ในทุกๆร้อยปีมีบุรุษหยิบออกไปหนึ่งเมล็ด

 

เมื่อใดก็ตามที่เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่ ได้หมดสิ้นไปจากนครแห่งนี้ เมื่อนั้นช่วงระยะเวลาของหนึ่งมหากัปก็ยังไม่ถึงกาลหมดสิ้นไป ดังนั้น ระยะเวลาในหนึ่งมหากัปจึงยาวนานอย่างนี้” 

เมื่อใดก็ตามที่เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่ ได้หมดสิ้นไปจากนครแห่งนี้ เมื่อนั้นช่วงระยะเวลาของหนึ่งมหากัปก็ยังไม่ถึงกาลหมดสิ้นไป

        แต่ก่อนที่จะทำความเข้าใจในเรื่องมหากัปให้ละเอียดกว่านี้ ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เราควรมาทำความเข้าใจกันเป็นอันดับแรก นั่นก็คือ...เรื่องของอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ รวมถึงเรื่องการเพิ่มและการลดลงของอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ หรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า การไขขึ้นและไขลงของอายุ เพราะถ้าเรามีความเข้าใจในเรื่องอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์แล้ว เราก็จะสามารถทำความเข้าใจในเรื่องระยะเวลาในหนึ่งมหากัปได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว อายุขัยเฉลี่ย หรือที่เรียกว่า อายุกัป ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน คือ 75-ปี แต่ในสมัยพุทธกาลอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์จะเท่ากับ 100-ปี สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าอายุขัยเฉลี่ยในแต่ละยุคแต่ละสมัยนั้น มีความแตกต่างกันออกไป

 

 อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ในแต่ละยุคไม่เท่ากัน

        ที่เป็นแบบนี้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับศีลธรรมที่อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ หากในยุคใดสมัยใดมนุษย์มีศีลธรรมในจิตใจมาก ในยุคนั้นสมัยนั้น...อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ก็จะยืนยาวตามไปด้วย และในขณะเดียวกัน หากในยุคใดสมัยใดมนุษย์มีศีลธรรมในจิตใจน้อย ในยุคนั้นสมัยนั้น...อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ก็จะสั้นลง อย่างนี้วนไปเวียนมาเรื่อยๆ 

 อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับศีลธรรมในจิตใจของมนุษย์

        มาถึงตรงนี้ หลายๆคนคงเริ่มสงสัย และอยากรู้ขึ้นมาว่า “แล้วอายุขัยที่ว่ายืนยาวที่สุดและสั้นที่สุดของมนุษย์ จะยืนยาวนานหรือสั้นสักขนาดไหน”-คำตอบ คือ อายุขัยที่ยืนยาวที่สุดของมนุษย์จะเท่ากับหนึ่งอสงไขยปี หรือเท่ากับ 10140-ปี (10-ยกกำลัง 140)-ส่วนอายุขัยที่สั้นที่สุดของมนุษย์จะลดลงเหลือเพียงแค่สิบปีเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเรานับระยะเวลาจากอายุมนุษย์ที่ยืนยาวที่สุด คือ หนึ่งอสงไขยปี แล้วอายุค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงที่มนุษย์มีอายุลดลงเหลือเพียงแค่สิบปี จากนั้น...อายุก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นไปจนถึงหนึ่งอสงไขยปีอีกครั้ง เราจะเรียกระยะเวลาในช่วงนี้ว่า หนึ่งรอบอสงไขยปี ซึ่งเป็นคนละอย่างกับคำว่า อสงไขยมหากัป ถ้าพวกเราเข้าใจตรงนี้แล้ว เราก็จะเข้าสู่เรื่องมหากัปกันต่อไป 

 หนึ่งรอบอสงไขยปี เท่ากับ ช่วงระยะเวลาที่มนุษย์มีอายุไขลง-ไขขึ้น หนึ่งรอบ

        แต่ก่อนที่เราจะพูดถึงเรื่องมหากัป เรามาดูในเรื่องหน่วยเวลา ตามหลักพุทธศาสนากันก่อน

 หน่วยนับจำนวนในพระไตรปิฎก

หนึ่งอสงไขย เท่ากับ 10140  (คือ เขียนเลข 1 แล้วเติมศูนย์ไปอีก 140 ตัว)

        การสร้างบารมีเพื่อที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อยถึง 20-อสงไขยมหากัป กับเศษอีกแสนมหากัป ซึ่งหน่วยนับระยะเวลาในพระไตรปิฎกนั้น มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • 1 รอบอสงไขยปี เท่ากับ ช่วงระยะเวลาที่มนุษย์มีอายุไขลง-ไขขึ้น หนึ่งรอบ
  •  1 รอบอสงไขยปี มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์

 ช่วงระยะเวลาที่มนุษย์มีอายุไขลง หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่มนุษย์มีอายุลดลงจากหนึ่งอสงไขยปี หรือ 10140-ปี จนกระทั่งมนุษย์มีอายุสิบปี ซึ่งในทุกๆ 100 ปี อายุของมนุษย์จะลดลงหนึ่งปี

 ช่วงระยะเวลาที่มนุษย์มีอายุไขขึ้น หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่มนุษย์มีอายุเพิ่มขึ้นจากสิบปีไปจนถึงหนึ่งอสงไขยปี หรือ 10140-ปี ซึ่งในทุกๆ 100-ปี อายุของมนุษย์จะเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัว จาก 10-ปีเป็น 20-ปี จาก 20-ปีเป็น 40-ปี จาก 40-ปีเป็น 80-ปี เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมนุษย์มีอายุหนึ่งอสงไขยปี

        สำหรับมหากัปนั้น เราสามารถแยกย่อยเวลาในมหากัปหนึ่งๆออกเป็นสี่ช่วงเวลาด้วยกัน ซึ่งในแต่ละช่วงเวลา จะเรียกว่า อสงไขยกัป หากจะอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ เราก็อาจจะเปรียบเทียบมหากัปเป็นเหมือนเค้กก้อนหนึ่ง ที่ถูกตัดแบ่งออกมาเป็นสี่ส่วนเท่าๆกัน ซึ่งในแต่ละส่วนที่ถูกตัดแบ่งออกมานั้น ก็คือ อสงไขยกัป นั่นเอง ดังนั้น ในหนึ่งมหากัปจึงมีจำนวนอสงไขยกัป เท่ากับ สี่อสงไขยกัป

 

 ในหนึ่งมหากัปมีสี่อสงไขยกัป

        ในแต่ละอสงไขยกัป ยังจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปของโลก ดังนี้

 ช่วงที่ 1.เป็นช่วงเวลาที่โลกของเรากำลังถูกเพลิงเผาไหม้ไปทั่วทุกพื้นที่ ซึ่งเราจะเรียกช่วงนี้ว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงเวลาที่โลกกำลังถูกทำลาย หรือช่วงที่กัปกำลังพินาศ

 

สังวัฏฏอสงไขยกัป

 ช่วงที่ 2.เป็นช่วงเวลาที่เพลิงได้มอดดับลงไป ซึ่งเราจะเรียกช่วงนี้ว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงเวลาที่โลกได้ถูกทำลายลงไปเรียบร้อยแล้ว จนเหลือแต่อวกาศที่ว่างเปล่า

 

สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป

 ช่วงที่ 3.เป็นช่วงเวลาที่แผ่นดินเริ่มก่อตัวขึ้นมาใหม่จนกลายเป็นโลก ซึ่งเราจะเรียกช่วงนี้ว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงเวลาที่โลกกำลังเริ่มพัฒนาจนเข้าสู่สภาวะปกติ หรือช่วงเวลาที่กัปกำลังเจริญขึ้น

 

วิวัฏฏอสงไขยกัป

ช่วงที่ 4.ถือเป็นช่วงเวลาที่โลกเจริญขึ้นจนมีสิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นบนโลก ซึ่งเราจะเรียกช่วงนี้ว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงเวลาที่โลกได้พัฒนาขึ้นเรียบร้อยจนเข้าสู่สภาวะปกติ หรือช่วงเวลาที่กัปเจริญขึ้น จนทุกๆสิ่งทุกๆอย่างบนโลกเข้าสู่สภาวะปกติ 

วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป

  เมื่อเราได้ทราบถึงความแตกต่างของช่วงเวลาในแต่ละอสงไขยกัปแล้ว เราก็ลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง อันตรกัป ซึ่งเป็นหน่วยของเวลาที่ถูกแบ่งย่อยออกมาจาก อสงไขยกัป อีกทีหนึ่ง ถ้าหากจะอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ เราก็มาลองสมมติกันต่อว่า...ถ้าเราเอาเค้กที่ถูกตัดแบ่งออกมาเป็นสี่ส่วน (ซึ่งก็คือสี่อสงไขยกัป)-มาตัดแบ่งย่อยให้มีขนาดที่เล็กลงไปอีก โดยให้แต่ละส่วนหรือในแต่ละอสงไขยกัป ถูกตัดแบ่งย่อยออกมาอีก 64-ส่วน ซึ่งในแต่ละส่วนที่ถูกตัดแบ่งย่อยออกมานี้...ก็คือ อันตรกัป นั่นเอง เพราะฉะนั้น ในหนึ่งอสงไขยกัปก็จะมีจำนวนอันตรกัป เท่ากับ 64-อันตรกัป และในหนึ่งมหากัป (ซึ่งมีอยู่สี่อสงไขยกัป)-จึงมีจำนวนอันตรกัป เท่ากับ 256 อันตรกัป

 

1 อสงไขยกับ เท่ากับ 64 อันตรกัป

เมื่อเราได้ทราบถึงที่มาที่ไปของ อันตรกัป กันแล้ว เราก็มาดูความหมายของคำว่า อันตรกัป กันต่อว่า...คืออะไร อันตรกัป คือ ช่วงระยะเวลาที่เท่ากับหนึ่งรอบของการเพิ่มและการลดของอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ ซึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่ช่วงเวลาที่อายุขัยของมนุษย์ยืนยาวที่สุด คือ หนึ่งอสงไขยปี และลดลงไปเรื่อยๆจนถึงช่วงเวลาที่อายุขัยของมนุษย์เหลือเพียงแค่สิบปี จากนั้น อายุขัยก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้นจนไปถึงช่วงเวลาที่มนุษย์มีอายุขัยถึงหนึ่งอสงไขยปี อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็คือ...หนึ่งรอบอสงไขยปีนั่นเอง 

อันตรกัป คือ ช่วงระยะเวลาที่เท่ากับหนึ่งรอบ ของการเพิ่มและการลดของอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์

        ดังนั้น ในมหากัปหนึ่งๆจึงใช้ระยะเวลาเท่ากับการไขขึ้นและไขลงของอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ถึง 256-รอบ (หรือ 256-รอบอสงไขยปี)-เลยทีเดียว มาถึงตรงนี้เราจะเห็นได้ว่า ระยะเวลาในหนึ่งมหากัปนั้นยาวนานมาก กล่าวได้ว่า...มากเสียจนเราไม่สามารถจะนำตัวเลขใดๆในโลกใบนี้ มาแสดงให้พวกเราเข้าใจกันได้ ถึงแม้ระยะเวลาในหนึ่งมหากัปจะยาวนานมากขนาดไหน แต่การสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้น (ซึ่งใช้ระยะเวลาในการสร้างบารมีอย่างน้อย 20-อสงไขยมหากัป กับเศษอีกแสนมหากัป)-กลับใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่ามากมายนัก

 การสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 20 อสงไขยกับอีกแสนมหากัป

 

Complete and Continue