บทที่ 2 องค์ประกอบของจักรวาล

เนื้อหาบทที่ 2 องค์ประกอบของจักรวาล

  • 2.1 ธาตุ
  • 2.1.1 คำแปลและความหมาย
  • 2.1.2 การแบ่งธาตุ
  • 2.1.3 ลักษณะและคุณสมบัติของธาตุ
  • 2.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษาเรื่องธาตุ
  • 2.2.1 สัดส่วนของธาตุนำมาซึ่งความแตกต่าง
  • 2.2.2 ธาตุเปลี่ยนแปลงได้
  • 2.2.3 สัตวโลกคบกันโดยธาตุ
  • 2.2.4 ธาตุทั้งหลายเป็นไตรลักษณ์

แนวคิด

1. สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตดำรงอยู่ได้ด้วยองค์ประกอบพื้นฐานชั้นต้นที่ ละเอียดสุด เรียกว่า “ ธาตุ” เป็นองค์ประกอบที่แท้จริงหรือองค์ประกอบดั้งเดิมซึ่ง ละเอียดสุด ไม่สามารถแยกย่อยให้ละเอียดไปกว่านี้ได้อีก

2. ธาตุ หมายถึงสิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง มีอยู่โดยธรรมดาจะแยกออกไปอีกไม่ได้ ทำหน้าที่ทรงไว้หรือทำให้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงดำรงอยู่ได้

3. ธาตุ 4 ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ซึ่งมีอยู่ในทุกสรรพสิ่งไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีก็ตาม แต่ธาตุ 6 ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ และ ธาตุวิญญาณ จะมีปรากฏครบเฉพาะในสิ่งมีชีวิตคือมนุษย์และสัตว์เท่านั้น ทั้งนี้ไม่รวมต้นไม้ แม้ต้นไม้จะมีชีวิตแต่ไม่มีธาตุรับรู้คือไม่มีวิญญาณธาตุครอง

4. ธาตุแต่ละธาตุมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกัน เช่น ปฐวีธาตุ มีลักษณะแข็ง มีคุณสมบัติพิเศษ กว่าธาตุอื่นคือทำให้สิ่งต่างๆ แข็งหรืออ่อน โดยที่ธาตุอื่นไม่มีคุณสมบัติเช่นนี้ ถ้าปราศจาก ปฐวีธาตุแล้ว สิ่งอื่นไม่สามารถดำรงอยู่ได้ อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำมีคุณสมบัติทำให้วัตถุ หรือสิ่งต่างๆ เกาะกุมรวมตัวเข้าเป็นกลุ่มก้อน หรือไหลได้ เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อนและเย็น มีหน้าที่ ทำให้วัตถุต่างๆ สุก และละเอียดนุ่มนวล ให้ความอบอุ่น ฯลฯ วาโยธาตุ คือ ธาตุลม มีลักษณะเคร่งตึงและเคลื่อนไหว ทำให้สิ่งต่างๆ เคลื่อนจากที่เดิมไปได้ อากาสธาตุ คือ ช่องว่าง ที่ว่าง ความว่างเปล่า สถานที่ที่ไม่มีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ หรือช่องว่าง ที่อยู่ระหว่าง ธาตุต่างๆ วิญญาณธาตุ คือ ธาตุรู้ วิญญาณธาตุนี้เมื่อเข้าไปอยู่ในธาตุทั้ง 5 จะทำให้สิ่งนั้นมีชีวิต แต่โดยปกติแล้ว จะมีเฉพาะ ในคนและสัตว์ และมีอยู่ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น

5. การศึกษาเรื่องธาตุทำให้เราทราบว่า สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มี ชีวิตก็ตามล้วนเกิดจากการที่ธาตุทั้งหลายมารวมตัวกัน และการที่สิ่งต่างๆ มีความแตกต่างกัน ก็เพราะสัดส่วนของธาตุต่างกัน แต่ธาตุที่ประกอบเป็นมนุษย์ก็สามารถเปลี่ยนแปลงหรือ สามารถทำให้บริสุทธิ์ได้ด้วยการรักษาศีลและปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา นอกจากนี้ยัง ทราบอีกว่าสัตวโลกคบกันโดยธาตุ คือสัตว์ประเภทใดก็เข้าหมู่สัตว์ประเภทนั้น คนก็เช่นกันจะ คบหาสมาคมกันกับคนที่มีธาตุเหมือนกัน แต่เนื่องจากธาตุมีการแปรเปลี่ยนได้และมีอำนาจ เหนี่ยวนำได้ ดังนั้นการคบหาคน หรือใกล้ชิดกับคนประเภทใด ธาตุในตัวของเราก็อาจถูก เหนี่ยวไปเหมือนธาตุของเขาได้ พระพุทธศาสนาจึงสอนให้หลีกเลี่ยงการคบคนพาล แต่ให้ หมั่นคบบัณฑิต อย่างไรก็ตามธาตุทั้งหลายล้วนตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อถึง เวลาหนึ่งก็สลายไปตามเหตุปัจจัยกลายเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ธาตุอากาศ กระจัดกระจายแตกแยกออกจากกัน จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น แต่ให้มองโลกและสิ่งต่างๆ ตาม ความเป็นจริง และดำเนินชีวิตให้ถูกต้องตามหลักธรรมคำสอนของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อความหลุดพ้นจากห้วงวัฏสงสาร เข้าสู่พระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของทุกชีวิต

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายองค์ประกอบของสรรพสิ่งทั้งหลายซึ่งพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ ธาตุ” ได้อย่างถูกต้อง

2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายของคำว่า “ ธาตุ” ได้อย่างถูกต้อง

3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความแตกต่างของธาตุ 4 และธาตุ 6 ได้อย่างถูกต้อง

4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายลักษณะและคุณสมบัติของแต่ละธาตุได้

5. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายจุดมุ่งหมายของการศึกษาเรื่องธาตุได้

ความนำ

ในบทเรียนที่ผ่านมา เราได้ศึกษาถึงความหมายของจักรวาลวิทยา ทราบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้ค้นพบเรื่องราวความเป็นจริงของโลกและชีวิต ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งทำให้เราเข้าใจ ปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น เนื่องจากการอธิบายสิ่งต่างๆ ในพระพุทธศาสนาเป็นการอธิบายด้วยเหตุและผล ไม่ใช่การใช้ศรัทธานำหน้า ไม่มีการบังคับให้เชื่อตาม แต่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง และพระพุทธศาสนาได้แสดงวิธีพิสูจน์ไว้ให้แล้ว มาถึงบทเรียนนี้จะอธิบายในรายละเอียดต่อไป หลังจากที่เราทราบถึงความเป็นมาของโลกไปแล้ว ต่อจากนี้เราจะมารู้จักและเข้าใจสิ่งที่เป็นองค์ประกอบของสรรพสิ่งทั้งหลาย ซึ่งพระพุทธศาสนาเรียกว่า ธาตุ

GL101-2.pdf
Download
Complete and Continue