บทที่ 3 โครงสร้างของจักรวาล

เนื้อหาบทที่ 3 โครงสร้างของจักรวาล

  • 3.1 ความรู้เรื่องจักรวาลทางวิทยาศาสตร์
  • 3.1.1 จักรวาลมีจำนวนมากนับประมาณไม่ได้
  • 3.2 องค์ประกอบของจักรวาลทางพุทธศาสตร์
  • 3.3 โครงสร้างทางกายภาพของจักรวาล
  • 3.3.1 โครงสร้างสิ่งต่างๆ รอบเขาสิเนรุ
  • 1. ทวีปทั้ง 4
  • 1.1 ปุพพวิเทหทวีป
  • 1.2 อปรโคยานทวีป
  • 1.3 อุตตรกุรุทวีป
  • 1.4 ชมพูทวีป
  • 3.3.2 โครงสร้างจักรวาลเบื้องบนเขาสิเนรุ
  • 1. สวรรค์ชั้นที่ 1
  • 2. สวรรค์ชั้นที่ 2
  • 3. สวรรค์ชั้นที่ 3
  • 4. สวรรค์ชั้นที่ 4
  • 5. สวรรค์ชั้นที่ 5
  • 6. สวรรค์ชั้นที่ 6
  • 3.3.3 โครงสร้างจักรวาลเบื้องล่างเขาสิเนรุ
  • 3.4 ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลายในจักรวาล
  • 3.4.1 ความหมายของภพภูมิ
  • 3.5 องค์ประกอบของภพ
  • 3.5.1 ความหมายของ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ
  • 3.6 กามภพ
  • 3.6.1 มนุสสภูมิ
  • 3.6.2 อบายภูมิ 4
  • 1. นิรยภูมิ
  • 1.1 มหานรก
  • 1.1.1 สัญชีวมหานรก
  • 1.1.2 กาฬสุตตมหานรก
  • 1.1.3 สังฆาฏมหานรก
  • 1.1.4 โรรุวมหานรก
  • 1.1.5 มหาโรรุวมหานรก
  • 1.1.6 ตาปนมหานรก
  • 1.1.7 มหาตาปนมหานรก
  • 1.1.8 อเวจีมหานรก
  • 1.2 อุสสทนรก
  • 1.2.1 คูถนรก
  • 1.2.2 กุกกุฬนรก
  • 1.2.3 อสิปัตตนรก
  • 1.2.4 เวตรณีนรก
  • 1.3 ยมโลก
  • 1.3.1 โลหกุมภีนรก
  • 1.3.2 สิมพลีนรก
  • 1.3.3 อสินขนรก
  • 1.3.4 ตามโพทกนรก
  • 1.3.5 อโยคุฬนรก
  • 1.3.6 ปิสสกปัพพตนรก
  • 1.3.7 ธุสนรก
  • 1.3.8 สีตโลสิตนรก
  • 1.3.9 สุนขนรก
  • 1.3.10 ยันตปาสาณนรก
  • 1.4 โลกันตนรก
  • 2. เปตติวิสยภูมิ
  • 3. อสุรกายภูมิ
  • 4. ติรัจฉานภูมิ
  • 3.6.3 เทวภูมิ 6
  • 3.7 รูปภพ
  • 3.8 อรูปภพ

แนวคิด

1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบความจริงว่า จักรวาลนี้มิได้มีเพียงจักรวาลเดียว แต่มีจักรวาล มากมายนับไม่ถ้วน และสามารถจัดกลุ่มจักรวาลออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มจักรวาลขนาดเล็ก มีพันจักรวาล กลุ่มจักรวาลขนาดกลาง มีล้านจักรวาล กลุ่มจักรวาลขนาดใหญ่ มีแสนโกฏิจักรวาล โครงสร้างของจักรวาลทุกจักรวาล มีส่วนประกอบอย่างเดียวกันและเหมือนกันทุกประการประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เขาสิเนรุ ทวีปทั้ง 4 (ชมพูทวีป อปรโคยานทวีปปุพพวิเทหทวีป และอุตตรกุรุทวีป) มหาสมุทรทั้ง 4 สวรรค์ 6 ชั้น และพรหมโลก รวมถึง อรูปพรหมและอบายภูมิด้วย

โครงสร้างจักรวาลเบื้องบนเขาสิเนรุ ทางด้านแนวตั้งส่วนบนของเขาสิเนรุ เป็นที่อยู่ของสัตว์ในสุคติภูมิ คือสวรรค์ชั้นต่างๆ 6 ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิตา นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี ถัดจากปรนิมมิตวสวัตดี ยังมีพรหมและอรูปพรหมอีก

2. ภพ หมายถึง โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์ มี กามภพ รูปภพ และอรูปภพ ส่วนคำว่า ภูมิ หมายถึง ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย แบ่งออกเป็น 31 ภูมิ

ภูมิ แปลได้อีกนัยหนึ่งว่า ชั้นแห่งจิต ระดับจิตใจ ระดับชีวิต มี 4 ชั้น คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ

อรูปาวภูมิและ โลกุตตรภูมิ นอกจากนี้ ถ้าแบ่งภูมิเป็น 2 ชั้น ก็จะประกอบด้วย โลกิยภูมิ และโลกุตตรภูมิ

สำหรับองค์ประกอบของภพนั้น ภูมิของสัตว์ทั้งหลายมีองค์ประกอบเหมือนกัน ประกอบ ด้วยภูมิทั้งหมด 11 ภูมิ คือ กามภพ มีทั้งหมด 11 ภูมิ ได้แก่ มนุสสภูมิ 1 อบายภูมิ 4 และเทวภูมิ 6

มนุสสภูมิ คือ โลกมนุษย์นี้ และยังรวมถึงคนที่อยู่ในอีกสามโลกในจักรวาลเดียวกับเรา

อบายภูมิ คือ ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มีทั้งหมด 4 ภูมิ ได้แก่ นิรยภูมิ เปตติวิสยภูมิ อสุรกายภูมิ และติรัจฉานภูมิ

นิรยภูมิ หรือ โลกนรก แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ มหานรก อุสสทนรก และยมโลก

อสุรกายมี 3 ประเภท ได้แก่ เทวอสูร เปตติอสูร นิรยอสูร

ติรัจฉานภูมิ คือ โลกของสัตว์ผู้ไปโดยขวาง เช่นสุนัข แมว หนู ไก่ เป็ด งู ปลา เป็นต้น

เทวภูมิ คือ สวรรค์ 6 ชั้น

รูปภพ หรือ พรหมโลก คือ ภพอันเป็นที่อยู่ของรูปพรหมมี 16 ชั้น และอรูปภพ คือ ภพอัน เป็นที่อยู่ของอรูปพรหม แบ่งออกเป็น 4 ชั้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถอธิบายองค์ประกอบของจักรวาลและโครงสร้าง ของจักรวาลทางกายภาพได้อย่างถูกต้อง

2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถอธิบายรายละเอียดของภพภูมิต่างๆ ที่เป็นที่อาศัยของเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายในจักรวาลได้

ความนำ

ในบทเรียนที่ผ่านมา นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่ององค์ประกอบของจักรวาล ทำให้ทราบว่าสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงนั้นประกอบขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ หากเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็จะประกอบด้วยธาตุ 4 ผสมกัน อย่างลงตัว จนมาเป็นสิ่งต่างๆ ในโลกใบนี้ แต่ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิตก็จะเพิ่มวิญญาณธาตุ ซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของจิตใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดในสัตว์ทั้งหลาย

สำหรับในบทเรียนนี้ นักศึกษาจะได้ทำความรู้จักโครงสร้างของจักรวาลที่ประกอบจากธาตุ 4 รวมตัวกันเป็นระยะเวลายาวนานจนนับไม่ได้ จนกระทั่งมาเป็นจักรวาลที่เราอยู่อาศัยกันในปัจจุบัน

ก่อนอื่นจะขอกล่าวถึงการค้นพบจักรวาลทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ทราบข้อมูลเรื่องจักรวาลที่เรา เรียนรู้กันอยู่ในปัจจุบันโดยการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ว่า มีการค้นพบอย่างไร เหมือนหรือแตกต่าง จากพุทธศาสตร์อย่างไร แต่ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบแบบใดก็ตาม สาระสำคัญของการค้นพบที่ตรงกัน คือ สรุปลงตรงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่า ทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปในที่สุด เราควรจะเบื่อหน่ายในการวนเวียนอยู่ในโลกใบนี้และรีบสั่งสมความดี เพื่อจะได้หลุดพ้นจากโลกใบนี้ ไปยัง ฝั่งแห่งพระนิพพาน ดินแดนที่ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

GL101-3.pdf
Download
Complete and Continue