1.1 ศัพท์สำคัญที่ต้องศึกษา

1.1.1 จักรวาลวิทยา คือ อะไร 

จักรวาลวิทยา คือ อะไร

             คำว่า จักรวาลวิทยา ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Cosmology ประกอบด้วยศัพท์ 2 คำ คือ คำว่าจักรวาล ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คำแปลไว้ว่า ปริมณฑล ประชุม หมู่ บริเวณโดย รอบของโลก และคำว่า วิทยา แปลว่า ความรู้ ดังนั้น คำว่า จักรวาลวิทยา เมื่อรวมความแล้วหมายความว่าความรู้ที่ว่าด้วยเรื่องโลกและบริเวณโดยรอบของโลก

         เมื่อเราทราบความหมายจากคำในภาษาไทยแล้ว ยังมีคำจำกัดความในภาษาอังกฤษของคำว่า Cosmology แปลว่า the science of the origin and structure of the universe, especially as studied in ASTRONOMY แปลเป็นภาษาไทยว่า วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยการกำเนิดและโครงสร้างจักรวาล จากการศึกษาทางดาราศาสตร์

             จากความหมายของ จักรวาลวิทยา ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ทำให้เราทราบความหมายของวิชาจักรวาลวิทยาในเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีการศึกษากันทั่วไปในมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ความหมายของ วิชาจักรวาลวิทยาในเชิงพุทธศาสตร์ ยังไม่เคยมีใครให้ความหมายที่ชัดเจนไว้

              ดังนั้น คณะผู้เขียนคู่มือการศึกษาวิชาจักรวาลวิทยาของมหาวิทยาลัยเปิดธรรมกายแคลิฟอร์เนีย จึงขอนำเสนอความหมายของวิชาจักรวาลวิทยาเชิงพุทธศาสตร์ ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Buddhist Cosmology  มีความหมายว่า การศึกษาเรื่องความเป็นไปของโลก จักรวาล และสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และการเสื่อม ลายไป โดยการศึกษาจากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคัมภีร์สำคัญ ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท

              จากความหมายของคำว่า จักรวาลวิทยาเชิงวิทยาศาสตร์ และจักรวาลวิทยาเชิงพุทธศาสตร์ ทำให้เราเห็นภาพรวมของวิชานี้ว่าเป็นการศึกษาเรื่องโลกและจักรวาลอันเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ แต่มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแตกต่างกัน คือการศึกษาจักรวาลเชิงวิทยาศาสตร์มุ่งแสวงหาความรู้ใหม่ๆ โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ส่วนการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงพุทธศาสตร์เป็นการศึกษา ภาพความเป็นจริงของจักรวาล จากคำ อนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเตือนสติ

ให้ผู้ศึกษาเข้าใจชีวิตได้อย่างถูกต้อง

1.1.2 โลก คือ อะไร 


     ในหัวข้อต่อไปนี้ นักศึกษาจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำศัพท์สำคัญที่มักจะพบบ่อยๆ ในทุกบทเรียนของหนังสือเล่มนี้ คือ คำว่า โลก ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจโดยความหมายแคบๆ ว่า โลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงกลมๆ ที่อยู่ในระบบสุริยจักรวาลเท่านั้น แต่สำหรับความหมายของโลก ในทางพระพุทธศาสนายังมีความหมายที่กว้างกว่านั้น ดังนั้นเราควรทำความรู้จักความหมายของโลก ให้ถ่องแท้ว่า โลก คือ อะไร

     โลก1 ความหมายของ โลก ในโลกสูตรกล่าวว่า มี 3 โลก คือสัตวโลกสังขารโลก โอกาสโลก

(หรือ อากา โลก) ในโลกทั้ง 3 นั้น หมู่สัตว์ทั้งหลายที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งการสืบต่อ แห่งรูปธรรม อรูปธรรม และทั้งรูปธรรมและอรูปธรรม ชื่อว่าสัตวโลก โลกที่แยกประเภทออกไปเป็น พื้นดิน และภูเขาเป็นต้น ชื่อว่า โอกาสโลก ขันธ์ทั้งหลายในโลกทั้งสอง ชื่อว่าสังขารโลก

      โลก2 แปลว่า แผ่นดิน หมายถึง มนุษย์ โดยปริยายหมายถึง (1)ส่วนหนึ่งแห่ง

กลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก (2)ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ลักษณะอย่างลูกทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตร  ยาว 12,755 กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้วโลก ยาว 12,711 กิโลเมตร มีเนื้อที่บนผิวโลก 510,903,400 ตารางกิโลเมตร

      โลก3 พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ให้คำจำกัดความจากคำสอนของพระมงคลเทพมุนี ( สด จนฺท สโร) ที่แบ่งเป็น 3 โลก ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ขยายความเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้ คือ

1. สัตวโลก ได้แก่ จิตใจ หรือ เห็น จำ คิด รู้ ของ สรรพสัตว์ทั้งหลาย

2. ขันธโลก ได้แก่ ขันธ์ 5 ตั้งแต่ขันธ์ 5 ของ สรรพสัตว์ของมนุษย์ เทวดา อรูปพรหม จนถึง กายธรรมโคตรภู กายธรรมพระโสดาบัน กายธรรมพระ กิทาคามี กายธรรมพระอนาคามี และ กายธรรมอรหันต์

3. อากาสโลก ได้แก่สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่สิ่งแวดล้อมที่ติดตัวเราขยายออกไปโดยรอบไปถึง ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ถึงจักรวาลต่างๆ แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ขยายใหญ่โตขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่มีขอบเขต ไม่มีที่สิ้นสุด 

    จากความหมายที่ได้รวบรวมมานั้น ทำให้เราทราบว่าโลกมิได้มีความหมาย เพียงแค่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่คำว่า โลกยังมีความหมายที่ลึกซึ้งและมีนัยสำคัญอย่างน้อย 3 นัย ตามความหมายของโลกในความหมายที่ 3 คือสังขารโลกสัตวโลก และโอกาสโลกที่มีความหมายกว้างเช่นนี้  เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงรู้แจ้งสิ่งทั้งปวงในโลกด้วยญาณทัสสนะอันแม่นยำของพระพุทธองค์ ไม่มีสิ่งใดจะบดบังความรู้ของพระองค์ได้ ดังนั้นพระพุทธองค์จึงสามารถจำแนกแยกแยะความจริงในสิ่ง  ทั้งปวงได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง

    จากความหมายของคำว่าโลกดังกล่าว นักศึกษาคงจะเข้าใจแล้วว่า เรื่องจักรวาลที่จะได้ศึกษานั้น จึงหมายถึงโอกาสโลก อันเป็นที่อาศัยของหมู่สัตว์ทั้งหลาย

    ส่วนคำว่า โลก ในความหมายว่า ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในชมพูทวีปที่เราอาศัยอยู่นี้ ก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของจักรวาล ซึ่งรายละเอียดเรื่ององค์ประกอบของจักรวาลเราจะศึกษาในบทต่อไป เมื่อนักศึกษาทราบความหมายของโลกอย่างนี้แล้ว นักศึกษาก็จะไม่สับ นอีกต่อไป

1.1.3 โลกนี้ โลกหน้า คือ อะไร 

  ศัพท์ที่นักศึกษาต้องทำความเข้าใจกันต่อไป คือ คำว่า โลกนี้ โลกหน้า เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนเมื่อพบคำเหล่านี้ในเนื้อหา   คำว่า โลกนี้ โลกหน้า เป็นคำที่มาจากพระไตรปิฎก ในปุพพังคสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิปาตเรื่องสัมมาทิฏฐิ เป็นหัวข้อธรรมแรก ในอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งหมายถึงความเข้าใจถูกในเรื่องโลกและชีวิต มี 10 ประการ เรื่องโลกนี้ โลกหน้า เป็นหัวข้อหนึ่งในสัมมาทิฏฐินั้น ทั้งสองคำนี้ มักใช้ควบคู่กัน เพราะมีความหมายที่เกี่ยวเนื่องกัน

   โลกนี้ หมายความว่า โลกทั้ง 3 คือสังขารโลกสัตวโลก และอากาสโลก ดังที่กล่าวไว้แล้ว ในความหมายของคำว่า โลก ซึ่งสามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า โลกนี้ คือสถานที่อยู่อาศัยของสัตวโลก รวมถึงร่างกายและจิตของตัวเรา และ สรรพสัตว์ทั้งหลาย

   โลกนี้ เป็นโลกแห่งความแตกต่าง แต่ละคนล้วนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านร่างกาย ฐานะความเป็นอยู่ทางสังคมและเศรษฐกิจ สติปัญญา อุปนิสัย สรุปว่า มีความแตกต่างกันในทุกด้าน จากการ ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้เราทราบที่มาของความแตกต่างเหล่านั้น คือ กรรมที่เราเคยกระทำไว้ในอดีต ไม่ว่าจะดีหรือชั่วก็ตามส่งผลให้แต่ละคนเกิดมาแตกต่างกัน

โลกหน้า หรือที่เรียกว่า ปรโลก มีความหมาย 2 ประการ คือ 

1. ชีวิตหลังความตาย

2. สถานที่สถิตของชีวิตหลังความตาย

1. ชีวิตหลังความตาย หมายความว่า ภาพร่างกายและจิตใจของสัตว์ที่เกิดในภพใหม่ เมื่อมนุษย์รวมทั้งสัตวโลกทั้งมวลตายแล้ว ไม่สูญไปไหน จะสูญสิ้นแต่เฉพาะร่างกายซึ่งถูกเผาหรือถูกฝัง ดินเท่านั้น ส่วนใจยังไม่สูญไป ตราบใดที่ใจยังมีกิเลส ก็จะต้องไปเกิด มีชีวิตอาศัยในร่างกายใหม่ต่อไปอีก

ส่วนจะไปเกิดเป็นอะไร มีรูปร่างเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับกรรมที่ตนเคยกระทำไว้

2. ถานที่สถิตของชีวิตหลังความตาย ภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่กรรมของ สัตว์ที่เกิดในภพนั้นๆ จะดีจะเลวขึ้นอยู่กับกรรมของสัตว์ เป็นเรื่องที่แน่นอนว่า เมื่อมีการถือกำเนิดของชีวิต ก็จำเป็นต้องมีสถานที่อยู่ จากประสบการณ์ในชาตินี้ เราสามารถพิจารณาได้ว่า ถ้าเราได้เกิดใหม่ เป็นคนในตระกูลมั่งคั่ง มีเกียรติยศชื่อเสียง เราพอจะคาดเดาได้ว่า เราจะมีสถานที่อยู่อาศัยอย่างสุขสบาย แต่ถ้าเกิดในครอบครัวที่ยากจน เราพอจะคาดเดาได้ว่า เราจะมีที่อยู่อย่างยากลำบาก ไม่สะดวกสบาย

    เพราะฉะนั้น จึงพอสรุปได้ว่าเรื่องโลกหน้าเป็นเรื่องของความไม่แน่นอน จะต้องไปเกิดในกำเนิดใด จะมีสถานที่อยู่เป็นอย่างไร แต่ที่ทราบแน่ชัด เราต้องไปเกิดใหม่ ตราบใดที่เรายังไม่หมดกิเลส


Complete and Continue