1.3 แหล่งความรู้เรื่องจักรวาลวิทยา

1.3 แหล่งความรู้เรื่องจักรวาลวิทยา 

   มนุษย์ทั้งหลายในโลก เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ มีแต่ความสงสัยและเต็มไปด้วยคำถามที่ค้างใจในหลายๆ เรื่อง ให้เรานึกย้อนไปในวัยเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถามว่าเรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับตัวเราในขณะที่ลืมตาดูโลกครั้งแรก คำตอบคือ เราเกือบจะจำไม่ได้เลยว่า ขณะนั้นเรานึกคิดอะไร หรือรู้สึกอย่างไรแต่ความจริงแล้ว เรามีความสงสัยอยู่ในใจว่าสิ่งที่เห็นสิ่งที่สัมผัสิ่งที่ได้ยินเป็นครั้งแรกหลังจากคลอดออกมานั้นคืออะไร เมื่อเราเริ่มพูดได้ ก็เริ่มตั้งคำถามกับคุณพ่อคุณแม่ถึงสิ่งที่แปลกใหม่ที่ไม่เคยรู้ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้คืออะไร และเมื่อเราเจริญวัยขึ้นตามลำดับ ความสงสัยในสิ่งต่างๆ ก็ยังคงมีอยู่ แต่จะสงสัย

ในเรื่องที่ต่างออกไปจากวัยเด็ก และเราก็ยังคงสงสัยเรื่อยไป

      ในบรรดาเรื่องที่มนุษย์ไม่รู้นั้น เรื่องการกำเนิดโลกและจักรวาลมีผู้สนใจศึกษากันอย่างกว้างขวางทั้งด้านปรัชญาและด้านวิทยาศาสตร์ เหตุที่มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง เพราะโลกใบนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้อาศัยในการดำรงชีวิต จำเป็นต้องทำความรู้จักให้มากที่สุด เพื่อจะได้อยู่ในโลกใบนี้อย่างปลอดภัยและมีความสุข

      เนื้อหาต่อไปนี้จะนำเสนอเรื่องแหล่งความรู้ในทางพุทธศาสตร์ เพื่อให้เห็นแนวทางการค้นหาคำตอบของโลกและจักรวาลด้วยพุทธวิธี ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างจากวิทยาศาสตร์ คำตอบที่ได้มีทั้งส่วนที่เหมือนและแตกต่างกัน

     1.3.1 การค้นพบกฎธรรมชาติ 

   พระพุทธศาสนา ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาที่มีคำสอนประกอบไปด้วยความเป็นเหตุเป็นผล ความรู้ต่างๆในพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้ามิได้ผูกขาดว่ามีเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ทรงรู้ แต่ตรงกันข้าม

ถ้ามีใครที่พูดตรงกับความจริง พระพุทธองค์ก็ทรงรับว่าเรื่องนั้นเป็นความจริง ความจริงในที่นี้ คือ ธรรมะพระองค์ไม่ใช่เจ้าของธรรมะ ธรรมะเป็นของกลางๆ ที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ บุคคลใดสามารถเข้าถึงธรรมนั้นได้ย่อมได้ชื่อว่าค้นพบความจริงเช่นนั้น ซึ่งพระพุทธองค์ทรงค้นพบความจริงที่เป็นกฎธรรมชาตินั้นแล้วทรงนำมาแสดงให้ชาวโลกได้รับทราบ ในทำนองเดียวกับกฎทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีอยู่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ค้นพบในภายหลัง ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า

"พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุนั้นก็ยังคงมีอยู่ เป็นธรรม

ฐิติ เป็นธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติ) คือ หลักอิทัปปัจจตา พระตถาคต ตรัสรู้ เข้า

ถึงธาตุนั้นแล้ว จึงบอกแสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผย แจกแจง ทำให้

เข้าใจง่ายและจึงตรัสว่า จงดูสิ "

      คำว่า ธรรม ในที่นี้หมายถึง กฎธรรมชาติ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบมีมากมายหลายประการเพราะญาณทัสสนะของพระองค์กว้างไกลสุดประมาณ ที่เรียกว่าสัพพัญุตญาณ แต่พระองค์

ไม่ได้นำมาสอนแก่ชาวโลกทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบรรลุมรรคผลนิพพานแต่พระองค์ทรงเลือกธรรมะ ที่เป็นไปเพื่อการบรรลุธรรม หลุดพ้นจากวัฏสงสารเท่านั้นส่วนเรื่องอื่นๆที่นอกเหนือจากการบรรลุธรรมแล้ว จะศึกษาทำความเข้าใจในภายหลังสำหรับธรรมะที่พระองค์

นำมาสอนนั้นเปรียบได้กับใบไม้ในกำมือส่วนธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้แล้วแต่ไม่ได้นำมาสอนนั้นเปรียบได้กับใบไม้ในป่า ดังที่ปรากฎใน สีสปาปัณณวรรค ว่า 

      ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ป่าประดู่ลาย ทรงหยิบใบประดู่ลายขึ้นมาหน่อยหนึ่ง แล้ว ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า "ใบประดู่ลายเล็กน้อยที่เราถือไว้ในมือ กับใบที่อยู่บนต้นประดู่ลาย อย่างไหนจะมากกว่ากัน" ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า "ใบประดู่ลายในพระหัตถ์ของพระองค์น้อยกว่าใบที่อยู่บนต้นประดู่ลาย พระเจ้าข้า" พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "เรื่องที่เราตรัสรู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมากกว่าฉันนั้นเหมือนกัน เรื่องที่เราบอกเธอทั้งหลายมีน้อยเหมือนใบไม้ในกำมือ เพราะเหตุไร เพราะว่าเรื่องนั้นไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและความดับทุกข์"

       1.3.2 วิชาจักรวาลวิทยาเป็นส่วนหนึ่งของธรรมะ 

  เรื่องจักรวาลวิทยานี้ เป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ การค้นพบ

สรรพสิ่งทั้งหลายนั้น พระองค์ทรงทราบว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นจากกฎธรรมชาติที่เรียกว่า ธรรมนิยามดังที่กล่าวมาแล้ว      เรื่องธรรมนิยามนี้พระองค์ตรัสไว้เพียงบางส่วน ไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งภายหลังพระอรรถกถาจารย์ผู้มีความรู้แตกฉานในธรรมะได้ขยายความเพิ่มเติม ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ในอรรถกถาแห่งทีฆนิกาย

อรรถกถาจารย์ได้จำแนกนิยามออกได้ 5 ประการ คือ

     1. อุตุนิยาม (Physical Laws ) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของปรากฏการณ์

ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แม้กระทั่งการเกิดและการ

ดับสลายของโลกก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติข้อนี้ ในตำราพุทธศาสนาที่เขียนโดยชาวตะวันตก มักใช้คำว่าคนอินเดียใน มัยพุทธกาลสงสัยกันว่า อะไรคือสิ่งกำหนดให้มีความสม่ำเสมอคงที่ในธรรมชาติ

ส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุ เช่นความสม่ำเสมอของฤดูกาล ซึ่งทางพระพุทธศาสนาตอบปัญหานี้ว่าสิ่งที่กำหนด คืออุตุนิยาม

     2. พีชนิยาม (Biological Laws ) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช

และสัตว์ กฎธรรมชาตินี้ทำให้เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปเพาะ ต้นที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ หรือช้างเมื่อออกลูกมาแล้วย่อมเป็นลูกช้างเสมอ ความเป็นระเบียบนี้พระพุทธศาสนาค้นพบว่าเป็นผลมาจากการควบคุมของพีชนิยาม

     3. จิตนิยาม ( Phychic Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต พระพุทธศา สนาค้นพบว่า คนเราประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ จิตมีกฎเกณฑ์ในการทำงานเปลี่ยนแปลงและแสดงพฤติกรรม เป็นแบบฉบับเฉพาะตัว ซึ่งเป็นผลมาจากจิตนิยาม

     4. กรรมนิยาม ( Karmic Laws) คือ กฎการให้ผลของกรรม กรรมคือ การกระทำที่ประกอบด้วย

ความตั้งใจ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ กรรมดีและกรรมชั่ว กรรมดีย่อมตอบสนองในทางดี กรรมชั่วย่อม

ตอบสนองในทางชั่ว นี่คือ กฎแห่งกรรม

     5. ธรรมนิยาม ( General Laws ) คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย

เป็นกฎสากลที่ครอบคลุมความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด กฎ 4 ข้อข้างต้น รุปรวมลงในข้อสุดท้ายนี้

     พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งเรื่องทั้งปวง แสดงว่าทรงค้นพบนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้ง 5 เหล่านี้

พระองค์ทรงสอนธรรมนิยาม เน้นในส่วนที่เกี่ยวกับจิตนิยามและกรรมนิยาม พระองค์ทรงสอนเรื่อง

อุตุนิยามและพีชนิยามเพียงเล็กน้อย ในทางกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาธรรมนิยามเน้นในส่วนที่

เกี่ยวกับอุตุนิยามและพีชนิยาม ไม่สนใจกรรมนิยามและสนใจในจิตนิยามเล็กน้อย นี่คือจุดเน้นที่ต่างกัน

ระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนามองภาพรวมของโลกและชีวิตได้กว้างขวางมากกว่า

     ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมนิยามเป็นกฎธรรมชาติสากลที่ครอบคลุม 4 กฎย่อยดังที่

กล่าวมาแล้ว แม้พระพุทธศาสนาจะศึกษาเน้นเรื่องกรรมนิยามและจิตนิยามก็จริง ถึงกระนั้น พระพุทธศา สนาก็ไม่ปฏิเสธเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามที่เป็นจุดเน้นของวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุนี้เอง พระพุทธศาสนาจึงไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์

     จากการค้นพบธรรมะดังกล่าวนี้ ทำให้เราทราบว่า ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่ง

ของธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบเท่านั้น ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พระองค์ทรงค้นพบ

แล้วมิได้นำมาตรัสให้ฟัง และเรื่องที่นำมาตรัสเล่านั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ฟังได้ข้อคิดแนวทางในการ

ปฏิบัติธรรมอันนำไปสู่ความพ้นทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องหลักในชีวิต

        1.3.3 แหล่งที่มาของความรู้เรื่องจักรวาลวิทยา   

      

 การศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆ ในโลก เรียนด้วยการใช้วัตถุนอกตัวเป็นอุปกรณ์ในการทดลอง ค้นคว้าพิสูจน์ วิจัย ความรู้ที่ได้จึงมีทั้งถูกและผิด ซึ่งถ้าถูกก็เป็นเพียงบางแง่มุมที่ไม่ลึกซึ้ง และไม่รู้ตลอดในความจริงทั้งหมด รู้เป็นท่อนๆ เป็นช่วงๆ เพราะว่าเครื่องมือที่ใช้ศึกษานั้นมีขีดความสามารถจำกัด    ยังมีการศึกษาอีกแขนงหนึ่งที่ทำให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงที่ถูกต้อง คือ การศึกษาทางจิต ซึ่งไม่

ต้องอาศัยอุปกรณ์ใดๆ ขอเพียงมีจิตที่มีสภาพใสเป็นปกติ มีใจที่แน่วแน่มั่นคง ดำรงสติตั้งมั่น ประกอบ

ความเพียรไม่ถอนถอยอย่างถูกวิธี แค่เริ่มต้นเท่านี้ ก็จะค้นพบหลักความจริงของชีวิตอย่างคาดไม่ถึง

เมื่อประสบผลสำเร็จ ความรู้ที่เกิดขึ้นจะปรากฏเป็นภาพขึ้นภายในใจ ภาษาทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า

ญาณทัสสนะ คือ การรู้เห็นด้วยอำนาจจิต

    ถ้าเราเป็นบุคคลในยุควิทยาศาสตร์ฟังแล้วอาจจะเกิดข้อสงสัยว่า จิตเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ

ในการค้นหาความจริงดังที่กล่าวมาแล้วได้อย่างไร ขออธิบายการทำงานของจิตสักนิดว่า ลักษณะเดิมของจิตนั้นมีลักษณะใสบริสุทธิ์ แต่เมื่อจิตถูกกิเลสครอบงำทำให้จิตมีสภาพที่ผิดปกติ ขุ่นมัวแปรปรวนกระจัดกระจาย ทำให้คุณภาพใจลดลง ไม่มีอานุภาพ แต่เมื่อใดได้รวมจิต คือ ความเห็น ความจำ ความคิดความรู้ ให้หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งอันถาวรของใจแล้ว ใจของเราจะมีพลังอุปมาเหมือนการรวมแ งอาทิตย์ด้วยเลน ์ เมื่อแ งตกกระทบเลน ์จะทำให้แ งที่กระจัดกระจายอยู่นั้นรวมเป็นจุดเดียว จนเกิดเป็นความร้อนสามารถเผาผลาญวั ดุที่เป็นเชื้อไฟได้ ใจก็มีลักษณะเดียวกันเมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียว ความคิดไม่ซัดส่าย ไม่กระจัดกระจาย ย่อมมีพลังในการทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างอัศจรรย์

     ขอยกตัวอย่างเพิ่มเติม คือ เรื่องการเดินทางของแ งที่มีการค้นพบว่าเร็วที่สุดในขณะนี้ เทียบกับ

ความเร็วของใจ ไม่น่าเชื่อใช่ไหมว่า ใจของเรานั้น มีความเร็วที่เหนือแ งอย่างน่าอัศจรรย์ ไม่คิดไม่แปลกสมมุติว่าเราเคยไปประเทศอเมริกา เมื่อเรานึกถึงอเมริกา เราจะใช้เวลาเพียงไม่ถึงเสี้ยววินาทีที่เดินทางไปถึงสถานที่ที่เราเคยไป เป็นการย้อนอดีตแห่งกาลเวลาในความทรงจำได้อย่างน่าอัศจรรย์

     วิธีการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ด้วยการฝึกจิตดังกล่าวนั้น มิใช่เพิ่งจะมีครั้งแรกในสมัยของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น แต่มีมายาวนานก่อนหน้านั้น เป็นการฝึกจิตของพวกฤษี นักพรต เจ้าลัทธิ

ต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความรู้เห็นภาพทางจิตได้เหมือนกัน แต่ว่ารู้เห็นไม่สมบูรณ์รู้เป็นส่วนๆ และได้นำความรู้นั้นมาเผยแพร่ เช่น เห็นสวรรค์บ้าง พรหมบ้าง จึงยึดถือว่าสิ่งที่ตนเห็นนั้น เป็นผู้สร้างสรรพสัตว์และสรรพสิ่ง

     ครั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลก พระองค์เป็นผู้ฝึกฝนตนเองดีแล้ว และเป็นผู้ฝึก

จิตอย่างสม่ำเสมอสั่ง มอบรมบ่มบารมีมานับภพนับชาติไม่ถ้วนจนกระทั่งบารมีของพระองค์เต็มเปียม จึงทรงค้นพบความจริงของสรรพสัตว์และสรรพสิ่งว่ามีความเป็นมาอย่างไร การกำเนิดและแตกดับของโลกจักรวาลและสรรพสิ่งเกิดขึ้นได้อย่างไร พระองค์ได้ทรงนำมาตรัสแสดงให้ชาวโลกได้รับรู้ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งความรู้ที่ว่านี้ คือ ความรู้แจ้ง เป็นความรู้อันสูงสุดในพระพุทธศาสนา ความรู้แจ้ง หรือความรู้อันวิเศษดังกล่าวเรียกว่า วิชชา 3 ประกอบด้วย

    1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สามารถระลึกชาติในอดีตได้ หนึ่งชาติบ้าง

สองชาติบ้างสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง จนถึงนับชาติไม่ถ้วนบ้าง

    2. จุตูปปาตญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้รู้การเกิด การตายของสัตวโลกทั้งหลายด้วยกรรมอะไร

มีผิวพรรณ เลว ละเอียดประณีต ได้ดี ตกยากอย่างไร ด้วยทิพยจักษุ

    3. อาสวักขยญาณ คือ ปัญญาหยั่งรู้ที่ปราบกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป

ในวิชชา 3 นั้น วิชาปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นวิธีที่ทำให้เรารู้เรื่องความเป็นไปของโลก

โดยระลึกชาติย้อนหลังไปในยุคที่โลกเริ่มก่อตั้ง จนถึงแตกทำลายได้ ความรู้เหล่านี้เอง ที่สามารถ

พิสูจน์เรื่องการกำเนิด และเสื่อมสลายของโลก จักรวาล และสรรพสิ่งทั้งหลายได้ โดยฝึกฝนตนเองตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสักวันหนึ่งเราก็จะไปถึง ณ จุดแห่งความสว่างที่ทำให้เราไปศึกษาเรื่องความเป็นไปของโลกและสรรพสิ่งได้

       1.3.4 เรื่องจักรวาลวิทยาเป็นอจินไตย  

 ดังที่ได้กล่าวมาบ้างแล้วว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีเหตุมีผล แล้วเหตุใดจึงมีธรรมะบางหัวข้อที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงห้ามไม่ให้คิด เพราะถ้าคิดแล้วจะเกิดความฟุ้งซ่านแห่งจิตมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ซึ่งพระองค์ทรงใช้คำว่าเป็นเรื่องอจินไตย ฟังแล้วเหมือนจะขัดแย้งกันอยู่ในตัวระหว่างความมีเหตุผลในพระพุทธศาสนากับการไม่ให้คิดเรื่องเหตุผลในบางเรื่อง ความจริงแล้วเรื่องดังกล่าวไม่ขัดแย้งกัน แต่เนื่องจากบางเรื่องเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง จะใช้การพิจารณาด้วยปัญญาขั้นธรรมดาไม่ได้ เพราะความคิดของมนุษย์นั้นมีขอบเขตจำกัด ต้องอาศัยการปฏิบัติธรรมที่เพียงพอจึงจะรู้เห็นเรื่องนี้ได้ ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องแหล่งที่มาของความรู้เรื่องจักรวาลวิทยา      เรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นอจินไตย มีปรากฏใน อจินติตสูตร  ดังนี้

       "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย 4 อย่างนี้ไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่ง

       ความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า อจินไตย 4 คืออะไรบ้าง คือ

       1. พุทธวิสัยแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด

         ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

       2. ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่ง

         ความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

       3. วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความ

         เป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

       4.โลกจินดา (ความคิดในเรื่องของโลก) เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด

         ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล อจินไตย 4 ไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่ง

         ความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า"

      จากพระสูตรนี้ นักศึกษาจะเห็นว่า เรื่องใครเป็นผู้สร้างโลก การเกิดขึ้น แตกทำลายของโลกนั้น

เป็นเรื่องอจินไตย ไม่ควรคิด คิดแล้วก็จะมีส่วนแห่งความเป็นบ้า เพราะโลกที่เราอยู่อาศัยนั้น ใช้ระยะเวลาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกทำลายนั้น นานมากเป็นอสงไขยกัป อสงไขยชาติ ยากที่จะใช้เครื่องมือใดๆ ไปตรวจสอบให้เห็นตามความเป็นจริงได้ ดังนั้นหากยิ่งใช้ความคิดในการพินิจพิเคราะห์ด้วยแล้ว ยิ่งเกิดความฟุ้งซ่านแห่งจิต เป็นการเสียเวลาและโอกาสในที่สุดอาจจะเป็นบ้าไปได้

      แต่เรื่องที่เราควรคิด คือ เรื่องทำอย่างไรให้หลุดพ้นจากโลกใบนี้ไปได้ หรือคิดเรื่องความเสื่อม

การเกิดขึ้นของโลก เพื่อเป็นคติสอนตัว ไม่ให้หลงมัวเมาอยู่ในโลก จะได้เร่งทำความดี หนีจากโลกนี้ไป

เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าพิจารณาใคร่ครวญ หรือเราควรเร่งจะฝึกจิต ตั้งใจปฏิบัติธรรมให้ยิ่ง ๆขึ้นไป เพื่อจะได้ไปตรวจสอบ พิสูจน์ความจริง หลังจากที่เราดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว

     1.3.5 จุดมุ่งหมายของการศึกษาจักรวาลวิทยา

พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่มุ่งเน้นให้ทุกคนได้สร้างความดี แก้ไขตนเองในเรื่องที่ทำให้พ้นทุกข์ก่อน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของชีวิต คือ พระนิพพาน ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกใบนี้อีกต่อไป เพราะเรามีเวลาในโลกนี้จำกัด       เรื่องจักรวาลวิทยา พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนอย่างละเอียด แต่พระองค์ทรงสอนแบบ

ตัดตอน พอให้เห็นภาพการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปของคนสัตว์สิ่งของ จะได้เบื่อหน่ายคลาย

กำหนัด เร่งปฏิบัติธรรมเท่านั้น ดังเรื่องย่อใน จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร

       ในครั้งนั้น พระมาลุงกยบุตรได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านอยากจะทราบคำตอบ เรื่องโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกนี้ โลกหน้า พระมาลุงกยบุตรคิดว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาเรื่อง

ความเห็น 10 ประการ เช่น โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง โลกมีที่สุดหรือไม่มีที่สุด เป็นต้น จึงเข้าไปเฝ้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อทูลขอให้พระองค์ทรงตอบปัญหานี้ให้ได้ ถ้าพระองค์ทรงทราบก็ขอให้ตอบให้หายข้องใจ ถ้าพระองค์ไม่ทรงทราบคำตอบ ก็ขอให้ตรัสตรงๆ ว่าไม่ทราบ แต่ถ้าพระองค์ไม่ตอบอะไรข้าพระองค์ก็จะสึก

       จึงได้ไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสถามพระมาลุงกยบุตรว่า เราเคยชวน ให้เธอมาบวชเพื่อจะตอบปัญหานี้หรือ พระมาลุงกยบุตรตอบว่า ไม่เคย พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า ผู้ใด กล่าวว่าเราจะสึก ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ตอบปัญหาเหล่านี้ ผู้นั้นคงจะตายเปล่า เพราะเราจะไม่ตอบปัญหานั้น เปรียบเสมือนคนถูกยิงด้วยธนูอาบยาพิษ ญาติพี่น้องไปตามหมอมาช่วยรักษา แต่ถ้าคนไข้ไม่ยอมให้ หมอผ่าตัดเอาลูกศรออกจนกว่าจะมีใครบอกว่า ใครเป็นผู้ยิง มีชื่ออย่างไรสูงหรือต่ำ ดำหรือขาว อยู่ที่ไหน ธนูที่ใช้ยิงทำด้วยอะไร เป็นต้น คนไข้นี้ก็คงจะตายเปล่า เพราะมัวแต่ถามถึงสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ ซึ่งประโยชน์ เบื้องหน้าคือการรักษาอาการบาดเจ็บ และสุดท้ายพระพุทธองค์ทรงสรุปว่า พระองค์จะทรงตอบปัญหา ความเห็นที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ เพราะข้อนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อให้เบื่อหน่ายคลายความกำหนัด เพื่อความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน

       พระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า เรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงตอบ อย่างเรื่องที่

พระมาลุงกยบุตร ถามเรื่องโลกนี้ โลกหน้ามี ก็เป็นอจินไตย และเป็นเรื่องที่ยังไกลตัว ควรศึกษาเรื่องที่

เกี่ยวกับตัวเราที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ได้ก่อน โดยลงมือปฏิบัติทันที หากปฏิบัติจนเป็นผลสำเร็จแล้ว จึงจะไปเรียนรู้เรื่องราวที่นอกเหนือจากตัวเราออกไป เหมือนกับคนถูกยิงด้วยลูกธนู จะมัวถามหาคนยิง

ถามถึงอุปกรณ์ที่ใช้ยิง การถามอย่างนี้มีแต่จะตายเปล่า ควรจะรักษาชีวิตก่อนแล้วจึงสืบค้น

       เรื่องจักรวาลวิทยาก็เช่นเดียวกัน พระพุทธองค์นำมาตรัสเล่าให้ฟังเพื่อเป็นข้อเตือนใจ ให้เกิด

ความเบื่อหน่ายในความเสื่อมของโลก และเพื่อไม่ให้มนุษย์ตกอยู่ในความประมาท จะได้ใช้วันเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด และเต็มไปด้วยอันตรายจากการเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และมีความตายเป็นที่สุดนี้

เร่งสร้างความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป โดยค้นหาความจริงของชีวิตด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม

Complete and Continue