2.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษาเรื่องธาตุ

2.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษาเรื่องธาตุ 

 ที่ต้องศึกษาเรื่องธาตุนี้ เพื่อจะได้ทำให้เราเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ ทั้งหลาย ทั้งที่มีอยู่ในโลกและนอกโลกไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ก็ตามล้วนเกิดจากการที่ธาตุทั้งหลายมารวมตัวกันด้วยสัดส่วนที่แตกต่างกันไป จึงเกิดเป็นสิ่งต่างๆมากมายหลากหลายชนิดและมีอายุจำกัดเนื่องจากคงสภาพได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเมื่อถึงคราวธาตุต่างๆ เหล่านี้ ก็ต้องแตกแยกกระจัดกระจายออกจากกัน ไม่สามารถคงทนถาวรอยู่ได้

    ดังนั้น เราจึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ในโลก ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีคุณสมบัติหรือลักษณะใดๆ ก็ตามเพราะแม้ว่าเราจะมีสิ่งที่ชื่นชมพออกพอใจเพียงใด แต่เราก็ไม่สามารถที่จะรักษาและครอบครองสิ่งนั้นได้ตลอดไป เมื่อถึงเวลาสิ่งเหล่านั้นก็เสื่อมสลายแปร ภาพกลับกลายเป็นธาตุ 4 ซึ่งเป็นส่วนประกอบดั้งเดิมของสิ่งของทั้งหลายทั้งปวง การยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงจะนำมาซึ่งความทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจ และเป็นเหตุแห่งความขัดแย้ง เกิดการแก่งแย่งแข่งขัน เบียดเบียนกันและกัน และไม่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้

    การที่โลกของเราสับสนวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะว่าชาวโลกไม่มีความเข้าใจในเรื่องธาตุ จึงทำให้ไม่มีความรู้และเข้าใจในความเป็นจริงว่าทุกสิ่งไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ต่างก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปในที่สุด ด้วยเหตุนี้ ชาวโลกจึงต่างอ้างความเป็นเจ้าของในสิ่งต่างๆ เกิดความเห็นแก่ตัวมีการเอารัดเอาเปรียบกันขึ้นในสังคม ที่ร้ายไปกว่านั้นเกิดการรบราฆ่าฟัน กลายเป็นสงครามในหลายภูมิภาคทั่วโลก นำมาซึ่งความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สินเหลือคณานับ

    หากชาวโลกได้ศึกษาในเรื่องธาตุ ก็จะเข้าใจได้ว่าสิ่งต่างๆ ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่ควรจะยึดมั่นถือมั่น เพราะแม้แต่ตัวเราเองก็ไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่หรือร่ำรวยสักปานใด

สักวันหนึ่งทุกคนก็ต้องตาย ต้องจากโลกนี้ไปโดยที่ไม่มีใครนำสิ่งใดติดตัวไปได้ เมื่อทุกคนทราบอย่างนี้ ก็จะไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ ดูถูกเหยียดหยาม แก่งแย่งแข่งขันและทำร้ายกันและกัน แต่จะมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันเข้าอกเข้าใจกัน เพราะต่างรู้ดีว่าแต่ละคนล้วนมีทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น ที่สำคัญที่สุด จะทำให้เราเห็นว่าโลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ตราบใดที่เรายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่เรายังต้องเผชิญหน้ากับทุกข์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเมื่อทราบว่าโลกนี้มีแต่ทุกข์ ไม่มีสิ่งใดมั่นคงที่เราจะยึดมั่นถือมั่นได้ เราก็ควรปล่อยวางทุกสิ่ง และควรหาทางที่จะทำให้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดด้วยการสั่งสมบุญกุศลให้มากจนกระทั่งเกิดความบริสุทธิ์บริบูรณ์หมดกิเลส ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกในที่สุด

    อีกประการหนึ่ง เมื่อศึกษาเรื่องธาตุแล้ว จะทำให้เราทราบว่า ธาตุสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยเฉพาะในสิ่งมีชีวิต ความเปลี่ยนแปลงของธาตุ ทำให้คุณลักษณะและคุณสมบัติของธาตุเปลี่ยนแปลงไปด้วยหากว่าธาตุในสิ่งมีชีวิตใดมีสภาพที่ไม่บริสุทธิ์ คือหย่อนสมรรถภาพ ก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้น มีคุณสมบัติหย่อนตามไปด้วย แต่หากว่าธาตุในตัวของสิ่งมีชีวิตใด มีความบริสุทธิ์มาก ลักษณะและคุณสมบัติในตัวของบุคคลนั้นก็จะดีไปด้วย

ดังนั้นการที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆสามารถกระทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงธาตุที่มีอยู่ในตัว ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป

2.2.1 สัดส่วนของธาตุนำมาซึ่งความแตกต่าง 

จากเนื้อหาที่ผ่านมาในบทเรียนนี้ทำให้เราทราบว่า ธาตุคืออะไร มีลักษณะอย่างไร และทราบว่า

มนุษย์และสัตว์เท่านั้น ที่มีธาตุครบทั้ง 6 คือ มีวิญญาณธาตุ ในขณะที่สิ่งอื่นมีเพียง 5 ธาตุ มีข้อน่าสังเกตว่าแล้วเหตุใดมนุษย์กับสัตว์ซึ่งมีองค์ประกอบ คือ ธาตุ 6 ครบด้วยกันทั้งสิ้น จึงมีลักษณะแตกต่างกันอย่างมากหรือแม้แต่มนุษย์ด้วยกันเองก็ยังมีข้อแตกต่างกัน

    เหตุที่ทำให้สิ่งที่มีธาตุครบทั้ง 6 ธาตุเหมือนกัน แต่มี ภาพแตกต่างกันนั้น เป็นเพราะว่า แม้จะมี

ธาตุทั้ง 6 ครบเหมือนกัน แต่ทว่าสัดส่วนของธาตุแต่ละชนิดมีไม่เท่ากัน หรือความบริสุทธิ์ของธาตุต่างกันสิ่งที่มีที่มีองค์ประกอบต่างกันทั้งในด้านสัดส่วน ในด้านคุณสมบัติหรือความบริสุทธิ์ ลักษณะย่อมปรากฏออกมาแตกต่างกันเสมอ ยกตัวอย่าง เพชรกับหิน มีคุณสมบัติและลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนทั้งนี้เป็นเพราะว่า เพชรกับหินมีสัดส่วนและความบริสุทธิ์ของธาตุที่เป็นองค์ประกอบต่างกัน 

    เช่นเดียวกัน ในสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์ แม้ว่าจะเป็นมนุษย์หรือเป็นคนเหมือนกัน เกิดในประเทศเดียวกันหรือแม้กระทั่งเป็นลูกพ่อแม่คนเดียวกันที่คลานตามกันออกมา ถึงอย่างนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ธาตุในตัวของแต่ละคนบริสุทธิ์ไม่เท่ากัน ซึ่งเปรียบได้กับการผสมปูนซีเมนต์เพื่อเอามาปันเป็นรูปถ้าส่วนผสมไม่สะอาดมีสิ่งปลอมปนเข้าไป ก็จะทำให้คุณภาพปูนหย่อนไม่แข็งแรงเท่าที่ควรจะเป็น แต่หากว่านำส่วนผสมแต่ละชนิดไปทำความสะอาดก่อนจะนำมาผสมเข้าด้วยกัน ก็จะทำให้ปูนที่นำมาปั้นมีความแข็งแรงขึ้น  เช่นเดียวกันธาตุในสิ่งมีชีวิต ถ้ามีความบริสุทธิ์ต่างกัน ก็ทำให้เกิดความแตกต่างกันตามมา

ความบริสุทธิ์ของธาตุในตัวนั้นขึ้นอยู่กับศีลธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้น ถ้ามีศีลธรรมมาก ธาตุในตัวก็บริสุทธิ์มากทั้งนี้เป็นเพราะว่า ปกติทั้งมนุษย์และสัตว์ต่างก็มีสิ่งที่ทำให้ธาตุในตัวไม่บริสุทธิ์ ได้แก่ ความโลภ ความโกรธและความหลง การที่บุคคลใดมีศีลธรรมมาก ย่อมทำให้ธาตุในตัวบริสุทธิ์มาก เพราะว่าศีลธรรมจะช่วยชำระความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้เจือจางและหมดไปในที่สุด 

    การมีธาตุบริสุทธิ์นี้ จะแสดงออกมาในลักษณะต่างๆ เป็นต้นว่า มี ติปัญญาดี เฉลียวฉลาด สุขภาพร่างกายแข็งแรง รูปร่างงดงาม ผิวพรรณผ่องใสเมื่อจะคิด พูด ทำสิ่งใดๆ ก็คิด พูด ทำแต่สิ่งดีๆซึ่งตรงกันข้ามกับผู้ที่มีธาตุในตัว สกปรก จะมี ติปัญญาสุขภาพร่างกายอ่อนแอ รูปร่างไม่งดงาม เมื่อจะคิด พูด ทำสิ่งใด ก็ทำในสิ่งที่ไม่ดีไม่เกิดประโยชน์ และนำความเสียหาย ความเดือดร้อนมาสู่ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

    ดังนั้น เหตุที่ทำให้มนุษย์และสัตว์แตกต่างกันก็เพราะว่า มีความโลภ ความโกรธ ความหลงที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ธาตุในตัวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยศีลธรรม คือ การรักษาศีล และเจริญภาวนา เมื่อหมั่นทำเป็นประจำ จะทำให้ธาตุในตัวบริสุทธิ์ขึ้นได้ ขณะเดียวกัน ถ้าหากไม่อยู่ในศีลธรรม ธาตุที่เคยบริสุทธิ์ก็อาจมัวหมองลงได้เช่นกัน

2.2.2 ธาตุเปลี่ยนแปลงได้ 

จากที่ได้ศึกษามาจะเห็นว่าที่มาประกอบกันเข้าเป็นสิ่งเหล่านั้น และเรายังทราบอีกด้วยว่าความบริสุทธิ์ของธาตุ ขึ้นอยู่กับกิเลส ว่า มีความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ในใจมากน้อยเพียงใดถ้ามีความโลภ ความโกรธ ความหลงในใจมาก ความบริสุทธิ์ของธาตุก็มีน้อยกลายเป็นธาตุสกปรกแต่ถ้าหากว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง มีน้อย ธาตุก็บริสุทธิ์มากเป็นธาตุที่สะอาด 

    ความบริสุทธิ์ของธาตุมากหรือน้อยและความสะอาดหรือความสกปรกของธาตุนี้เองที่ทำให้ ชีวิตแต่ละชีวิตแตกต่างกัน จะขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นสมมุติว่า มีคนปกติธรรมดาที่มีหน้าที่การงาน มีรายได้พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องไม่ลำบากยากเข็ญอะไร มี ติปัญญา จะเล่าเรียนเขียนอ่านสิ่งใดก็เข้าใจง่ายจดจำได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เป็นเพราะว่าธาตุในตัวของคนๆ นั้นมีความสะอาดบริสุทธิ์ในระดับหนึ่งแต่หากว่าคนๆ นั้นถูกความโลภ ความโกรธ ความหลงเข้าครอบงำจิตใจแล้วสติปัญญาความสามารถต่างๆก็พลอยมีประสิทธิภาพถดถอยลดน้อยลงไป เราลองสังเกตตัวเราเองก็ได้ ในเวลาที่เราโกรธ เราจะคิดอะไรไม่ค่อยจะออกเอาเสียเลย

แม้ว่าปกติเราจะเป็นคนฉลาด คิดอะไรได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำเสมอ แต่เมื่อทันทีที่ถูกความโกรธครอบงำเรากลับนึกอะไรไม่ออก นึกได้เพียงความคิดที่จะทำลาย คิดที่จะเบียดเบียนผู้อื่น หรือในยามที่เราดื่มกินของมึนเมาเข้าไปในร่างกาย จากที่เคยมีบุคลิกภาพที่ สง่างาม ก็กลับกลายเป็นเดินโซซัดโซเซ ไม่ตรงทางใครพูดอะไรก็ฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เมื่อพูดเองก็ยากที่จะ สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้ 

    ในทางกลับกัน จากคนปกติธรรมดาเหมือนกัน หากว่าได้ทำให้ธาตุในตัวมีความบริสุทธิ์มากขึ้น ประสิทธิภาพในตัวก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อเราพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่มีอาการป่วยไข้มีสมองที่ปลอดโปร่ง อารมณ์ก็แสนจะเบิกบาน เราจะสังเกตได้ทันทีว่า จะทำอะไรดูเหมือนง่ายดายสะดวกราบรื่นสำเร็จได้อย่างดี 

    ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าธาตุในตัวเราบริสุทธิ์มากขึ้นไป คุณสมบัติก็จะมากขึ้นตามไปด้วย หลายท่าน คงจะเคยเห็น หรืออย่างน้อยก็เคยได้ยินได้ฟัง เรื่องราวเกี่ยวกับพระธาตุของพระอาจารย์นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย หรือพระธาตุของพระอรหันต์องค์ต่างๆสิ่งเหล่านี้ คือเครื่องยืนยันว่า ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะที่อยู่ในร่างกายมนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงและทำให้บริสุทธิ์ได้ 

    ดูอย่างพระอรหันต์หรือพระอาจารย์ท่านต่างๆ ท่านก็เป็นคนธรรมดา แล้วเหตุใด เมื่อท่านละสังขารมีการเผาสรีระของท่านไปแล้ว กลับปรากฏเหลือเป็นพระธาตุลักษณะคล้ายหินแต่ว่า ใสและเลื่อมเป็นมันวาวในขณะที่เผาคนธรรมดาทั่วไป กลับเหลือเพียงเถ้าถ่านและกระดูกป่นๆ ทั้งนี้เป็นเพราะว่า พระอรหันต์หรือพระอาจารย์เหล่านั้น ท่านได้กลั่นธาตุในตัวของท่านให้สะอาดบริสุทธิ์ มีความโลภ ความโกรธ และความหลงเบาบางหรือจนกระทั่งหมดไป 

    การที่จะทำธาตุให้บริสุทธิ์นี้สามารถทำได้โดยการรักษาศีล และปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา ซึ่งศีลก็มีด้วยกันหลายระดับ ผลของศีลก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของศีลและความตั้งใจในการรักษาเช่น ศีลของผู้ครองเรือน ศีลของนักบวชการปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาก็เช่นกัน ย่อมให้ผลแตกต่างกันตาม ภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติแต่ละท่านได้เข้าถึง ยิ่งรักษาศีลได้บริสุทธิ์มาก ก็จะปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาได้สงบมาก ยิ่งถ้าเข้าถึงธรรมะภายในที่ละเอียดมากขึ้นเท่าใด ผลที่ได้ก็มากขึ้นตามลำดับ 

    อย่างเช่นพระภิกษุสามเณร ที่บวชแล้วตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม และรักษาศีลเป็นอย่างดี ก็จะ ได้อานิสงส์จนเป็นคุณสมบัติของพระภิกษุสามเณรรูปนั้น อย่างที่เราเคยได้ศึกษาจากพระไตรปิฎกว่า พระภิกษุหรือสามเณรใน มัยพุทธกาล บางรูปมีตาทิพย์บ้าง หูทิพย์บ้าง เหาะได้บ้าง ระลึกชาติได้บ้างแยกร่างเป็นหลายคนได้ก็มี นี่คือผลของการทำธาตุภายในให้สะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งถ้าบริสุทธิ์มากที่สุดก็จะทำให้หมดกิเลสไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แต่ละท่านก็มีคุณสมบัติไม่เท่ากันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของธาตุภายในของท่านเหล่านั้น 

    ดังนั้น ถ้าเราต้องการจะมีธาตุในตัวที่บริสุทธิ์สามารถทำได้ด้วยการลงมือรักษาศีล และ ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาอย่างจริงจัง และหากว่าเราตั้งใจทำกันอย่างจริงจัง จนกระทั่งธาตุในตัวสะอาดบริสุทธิ์หมดจดโดยสิ้นเชิง จะทำให้เราไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในโลกนี้อีกพ้นจากทะเลแห่งความทุกข์ได้ตลอดไป

2.2.3 สัตวโลกคบกันโดยธาตุ 

 เนื่องจากสิ่งทั้งหล เนื่องจากสิ่งทั้งหลาย เนื่องจากสิ่งทั้งหลแตกต่างกันเป็นเพราะว่า มีสัดส่วนของธ​ ด้วยเหตุนี้สิ่งต่างๆ ในโลกจึงรวมกันหรือแยกกันเป็นประเภทตามคุณสมบัติ หรือตามธาตุที่แต่ละสิ่งมี โดยที่สิ่งที่มีคุณสมบัติเหมือนกันก็จะอยู่รวมกันแต่ถ้าคุณสมบัติ หรือ ธาตุต่างกันก็จะแยกกัน อาทิเช่น สิ่งที่มีคุณสมบัติหรือธาตุเหมือนกัน เป็นต้นว่า น้ำถ้าเราเทน้ำออกจากภาชนะ 2 ใบ ลงในภาชนะเดียวกัน น้ำนั้นก็จะไหลเข้าไปรวมตัวกันได้อย่างกลมกลืนหรือแม้แต่น้ำที่ไหลมาจากต้นน้ำจากสถานที่ต่างๆสุดท้ายก็ไหลไปรวมกันในแม่น้ำ ในทะเล ในมหาสมุทรเหมือนกัน เช่นเดียวกันกับธาตุอื่น และสิ่งทั้งหลายที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน ก็อยู่ในลักษณะนี้ 

   แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรานำธาตุที่มีคุณสมบัติต่างกันมาไว้ด้วยกันสิ่งต่างๆ เหล่านั้นจะไม่สามารถรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันได้ เป็นต้นว่า น้ำกับน้ำมัน ถ้าเราผสมน้ำกับน้ำมันเข้าด้วยกัน แม้ว่าจะเขย่าและใช้ความพยายามอย่างไรเพื่อจะให้น้ำกับน้ำมันผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน น้ำกับน้ำมันก็ไม่สามารถรวมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ ทั้งนี้เป็นเพราะทั้งสองมีธาตุหรือคุณสมบัติต่างกัน ไม่เฉพาะวัตถุสิ่งของ แม้มนุษย์และสัตว์ก็เป็นเช่นนั้นสัตว์ประเภทใดก็มีธรรมชาติเข้าไปสู่หมู่สัตว์ประเภทนั้น ดังมีภาษิตที่ว่า "นกเข้าฝูงนก เนื้อเข้าฝูงเนื้อ ปลาเข้าฝูงปลา" เช่นเดียวกับคน ปกติของคนก็จะเข้าคบหา มาคบกับคนที่มีธาตุเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน อย่างที่เรียกกันว่าถูกอัธยาศัยหรือใจตรงกัน เป็นต้นซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราได้ทรงแสดงไว้ตอนหนึ่งว่า 

   "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้าสมาคมกันโดยธาตุทีเดียว

คือพวกมิจฉาทิฏฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาทิฏฐิ

พวกมิจฉาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสังกัปปะ

พวกมิจฉาวาจา    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวาจา พวกมิจฉากัมมันตะ

ย่อมคบค้ากัน     ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉากัมมันตะ พวกมิจฉาอาชีวะ

ย่อมคบค้ากัน     ย่อมสมาคมกันกับพวกพวกมิจฉาอาชีวะ พวกมิจฉาวายามะ 

ย่อมคบค้ากัน     ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวายามะ พวกมิจฉาสติ ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสติ พวกมิจฉาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อม มาคมกันกับพวกมิจฉาสมาธิ

    พวกสัมมาทิฏฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาทิฏฐิ

พวกสัมมาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาสังกัปปะ

พวกสัมมาวาจา    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาวาจา

พวกสัมมากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมากัมมันตะ

พวกสัมมาอาชีวะ   ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาอาชีวะ

พวกสัมมาวายามะ  ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาวายามะ

พวกสัมมา ติ      ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาสติ พวกสัมมาสมาธิ

ย่อมคบค้ากัน     ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาสมาธิ 1"

    จากพุทธดำรัสนี้ ทำให้เราเข้าใจดีถึงสภาพชีวิตจริงในสังคมที่แต่ละคนต่างก็มีกลุ่ม และเข้าหากลุ่มของตนเอง เพราะว่ามีธาตุใกล้เคียงกัน ด้วยเหตุนี้มนุษย์แต่ละคนจึงไปสู่กลุ่มต่างๆ ตามธาตุของตน ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ทั่วไปในสังคม เป็นต้นว่า ข้าราชการก็จะเข้าหาสมาคมกับเหล่าข้าราชการด้วยกันหรือพวกติดยาเสพติด พวกนักเล่นการพนันก็จะไปสู่กลุ่มของตนเช่นกัน ทั้งนี้เป็นเพราะธาตุในตัวใกล้เคียงกัน ทำให้ดึงดูดเข้าหากัน 

    ดังนั้นถ้าเราอยากจะไปเข้าสมาคมกลับกลุ่มคนประเภทใด ก็สามารถทำได้ด้วย

การทำให้มีธาตุใกล้เคียงหรือเหมือนกับกลุ่มคนเหล่านั้นหรือที่เรียกว่ากลั่นธาตุ หรือแปรธาตุดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในทำนองกลับกันก็พึงสังวรระวังว่า หากเราไปสังสรรค์ผูกสัมพันธ์คบหาใกล้ชิดกับคนประเภทใดแล้วธาตุในตัวของเขาก็จะเหนี่ยวนำให้ธาตุในตัวของเราค่อยๆ เปลี่ยนไปใกล้เคียงกับธาตุในตัวของเขาด้วยเราจึงต้องหลีกเลี่ยงการคบคนพาล แต่หมั่นคบบัณฑิต

2.2.4 ธาตุทั้งหลายเป็นไตรลักษณ์

 จากบทเรียนที่ผ่านมาในบทนี้ ทำให้เราเห็นว่าสิ่งต่างๆ มีธาตุเป็นที่สุด คือ ถ้าเป็นคือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุอากาสธาตุ และวิญญาณธาตุสิ่งอื่นก็เช่นกันเมื่อแยกออกแล้วล้วนประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งหลายเว้นแต่เพียงวิญญาณธาตุเท่านั้น และหากว่ามนุษย์หรือสัตว์ตายแล้ว ก็มีสภาพไม่ต่างจากสิ่งไม่มีชีวิตทั้งหลาย    ดังนั้น เราจึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดในโลก เพราะไม่มีสิ่งใดเลยที่จะมั่นคงถาวรได้ตลอดไป

ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อถึงเวลาหนึ่งย่อมสลายไปตามเหตุปัจจัย ธาตุต่างๆ จะคืนสู่สภาพเดิมของมัน เป็นต้นว่าร่างกายของมนุษย์เมื่อตายแล้วส่วนต่างๆ ก็เสื่อม ลายไปตามอำนาจเดิมของธาตุ กลับกลายเป็นธาตุดินธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ กระจัดกระจายแตกแยกออกจากกัน มิได้รวมอยู่ดังเดิมร่างกายของคนที่ตายแล้วจึงไม่สามารถคงสภาพเดิมอยู่ได้

    ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงถึงธาตุต่างๆ แล้ว จึงตรัสสอนว่าให้เห็นธาตุ

ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริงว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ที่เป็นสังขารธรรมเกิดจากปัจจัยปรุงแต่งยังตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ ที่แม้จะเป็นของเรา หรืออยู่ในครอบครองของเรา หรือแม้ตัวเราเอง แต่ก็ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของเรา เมื่อเห็นความเป็นจริงอย่างนี้ ก็จะทำให้เบื่อหน่ายในธาตุทั้งหลาย(ที่ประชุมกันขึ้นเป็นสิ่งต่างๆ) และทำให้คลายกำหนัดคือไม่ยึดมั่นถือมั่นได้

    เพราะถ้าหากว่าไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงของธาตุทั้งหลายแล้วสัตว์ทั้งหลายก็ยังคงมีความผูกพันยินดีในธาตุทั้งหลาย (เพราะธาตุนำมาทั้งความสุขและความทุกข์) จึงไม่สามารถพ้นออกจากโลก คือวัฏสงสารได้ ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ใน โนเจทสูตร ว่า

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบเท่าที่สัตว์เหล่านี้ยังไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุทั้ง 4 เหล่านี้เพียงใดสัตว์เหล่านั้นยังสลัดตนออกไม่ได้ พรากออกไม่ได้ ยังไม่หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง มณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลสและวัฏฏะไม่ได้เพียงนั้น ก็เมื่อสัตว์เหล่านี้ได้ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุ 4 เหล่านี้เมื่อนั้น ย่อมสลัดตนออกได้ พรากออกได้ หลุดพ้นจากโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง มณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ จึงได้มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลสและวัฏฏะอยู่ ดังนี้" 1

    ทรงแสดงให้ทราบว่า ธาตุทั้งหลายเป็นที่มาแห่งโรค และเป็นที่ปรากฏของความแก่ชรา โดยทรงแสดงไว้ใน อุปปาทสูตร ว่า   "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความ ปรากฏแห่งปฐวีธาตุ... นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความ

ปรากฏแห่งชรามรณะ ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่ง

อาโปธาตุ... แห่งเตโชธาตุ... แห่งวาโยธาตุ นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้ง

แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ

   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่งปฐวีธาตุ ...

นั่นเป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ

ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่งอาโปธาตุ... แห่งเตโชธาตุ... แห่งวาโยธาตุ...

นั่นเป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ"1

    นอกจากนี้ ยังทรงแสดงให้เห็นว่า จะหลุดพ้นจากทุกข์ได้ต้องไม่ชื่นชมยินดีในธาตุทั้งหลาย(ที่ประชุมกันขึ้นเป็นสิ่งต่างๆ แล้วนำมาซึ่งความชอบใจ) โดยทรงแสดงไว้ใน อภินันทนสูตร ว่า   "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมชื่นชมปฐวีธาตุ...ผู้นั้นชื่อว่าย่อมชื่นชมทุกข์

ผู้ใดย่อมชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชมอาโปธาตุ...

ผู้ใดย่อมชื่นชมเตโชธาตุ... ผู้ใดย่อมชื่นชมวาโยธาตุ... ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์

ผู้ใดชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ... ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์

ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมอาโปธาตุ...

ผู้ใดไม่ชื่นชมเตโชธาตุ... ผู้ใดไม่ชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใด

ไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้

   สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกล้วนเกิดจากการประชุมกันขึ้นจากธาตุ มีธาตุเป็นที่สุด ด้วยเหตุที่มนุษย์และสัตว์ มีธาตุเป็นองค์ประกอบ 6 ธาตุส่วนสิ่งอื่นๆ มีธาตุเป็นองค์ประกอบ 5 ธาตุ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นสิ่งทั้งหลายจึงไม่มีความมั่นคงถาวร มีความเสื่อม ภาพไปตามเวลาที่ผ่านไป และเมื่อถึงเวลาอันควร เหตุปัจจัยที่ทำให้ธาตุเหล่านั้นมาประชุมรวมกันหมดไป ธาตุเหล่านี้ก็จะแยก ลายกันไป เราจึงไม่ควรยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งทั้งปวง เพราะการยึดมั่นถือมั่นย่อมนำมาซึ่งความทุกข์ ความผิดหวัง ความเศร้าโศกและในบางครั้งนำมาซึ่งความเดือดร้อน เราจึงควรมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งการมองเช่นนั้นจะทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และเป็นการเดินบนเส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน หลุดพ้นจากวัฏฏะในที่สุด

Complete and Continue