3.7 รูปภพ

3.7 รูปภพ

  • รูปภพ หรือ พรหมโลก คือ ภพอันเป็นที่อยู่ของรูปพรหม พรหมโลกนี้อยู่ในภูมิที่สูงขึ้นไปกว่า
  • เทวโลก มีทิพยสมบัติทั้งหลาย ที่มีความสวยงามประณีตกว่าในเทวโลก
  • พรหม คือ ผู้ที่มีความเจริญอยู่ด้วยคุณพิเศษ มีฌานเป็นต้น รูปร่างของพรหมนั้นไม่ปรากฏว่าเป็น

หญิงหรือชาย เพราะพรหมไม่มีกามฉันทะอย่างหยาบ แม้ตั้งแต่ใน มัยที่เป็นมนุษย์ก็ข่มได้อยู่แล้วขณะกระทำฌานให้เกิด อย่างไรก็ดียังมีรูปร่างคล้ายชายมากกว่า ผู้ที่เจริญสมาธิภาวนาจนกระทั่งเข้าถึงรูปฌานเมื่อละโลกแล้วจะมาบังเกิดเป็นรูปพรหมอยู่ในรูปภพ ซึ่งระดับความแก่อ่อนของฌานนั้นก็แตกต่างกันไปตามภูมิที่อยู่มีทั้งหมด 16 ชั้น แบ่งย่อยออกเป็นภูมิชั้นต่างๆ ดังนี้

  • ปฐมฌานภูมิ 3

เป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้ปฐมฌาน ถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกัน มิได้ตั้งอยู่สูงต่อๆ กันไปตาม ลำดับชั้นอย่าง วรรค์ ประกอบด้วย

  • พรหมปาริสัชชา เป็นพรหมที่ได้ปฐมฌานอย่างอ่อน เป็นพรหมธรรมดาสามัญ ไม่มีอำนาจพิเศษ อันใด เป็นบริวารของมหาพรหมพรหมปุโรหิตา เป็นพรหมที่ได้ปฐมฌานอย่างกลาง เป็นพรหมปุโรหิต (ที่ปรึกษา) ของมหาพรหมและอยู่ในตำแหน่งผู้นำในกิจการทั้งหลายของมหาพรหม
  • มหาพรหมา เป็นพรหมที่ได้ปฐมฌานอย่างแก่ เป็นพรหมที่เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ยิ่งกว่าพรหม
  • ปาริสัชชา และพรหมปุโรหิตา ในมหาพรหมาภูมิ ยังเป็นที่อยู่ของท้าว หัมบดีพรหม ซึ่งเป็นผู้ทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงแ ดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ พรหมที่ได้ฌานอย่างแก่ มีบุญมาก มีรัศมี ว่างไสวจะอยู่ที่ศูนย์กลางภพส่วนพรหมที่มีกำลังฌานรองลงไป ก็จะอยู่ถัดออกไปโดยรอบ
  • ทุติยฌานภูมิ 3

เป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้ทุติยฌาน ถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกันสูงขึ้นไปกว่าชั้นปฐมฌานภูมิประกอบด้วยปริตตาภาเป็นพรหมที่ได้ทุติยฌานอย่างอ่อน มีรัศมีน้อยกว่า พรหมที่อยู่เบื้องบน (ปริตตะ แปลว่า น้อย อาภา แปลว่า รัศมี ความสว่าง)

อัปปมาณาภา เป็นพรหมที่ได้ทุติยฌานอย่างกลาง มีรัศมีหาประมาณมิได้  

อาภัสราสเป็นพรหมที่ได้ทุติยฌานอย่างแก่ มีรัศมีแผ่ซ่านออกมาจากร่างกาย มีความยินดีใน ฌานของตนอย่างเต็มที่ เป็นไปด้วยอำนาจของปีติอยู่เสมอ จิตใจจึงมีความผ่องใสมากอยู่เสมอส่งผลให้กายผ่องใสจนปรากฏออกมาเป็นรัศมีแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย

  • ตติยฌานภูมิ 3

เป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้ตติยฌาน ถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกันสูงขึ้นไปกว่าชั้นทุติยฌานภูมิ ประกอบด้วยปริตตสุภา เป็นพรหมที่ได้ตติยฌานอย่างอ่อน มีรัศมี วยงามเช่นเดียวกับรัศมีของดวงจันทร์ เป็นความสว่างที่ไม่กระจัดกระจายออกจากกัน รัศมีรวมกันอยู่เป็นวงกลม แต่ยังสวยงามน้อยกว่าพรหมที่อยู่เบื้องบนอัปปมาณสุภา เป็นพรหมที่ได้ตติยฌานอย่างกลาง มีรัศมี วยงามหาประมาณมิไดุ้ภกิณหา เป็นพรหมที่ได้ตติยฌานอย่างแก่ มีรัศมี วยงามตลอดทั่วร่างกาย

  • จตุตถฌานภูมิ 2

เป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้จตุตถฌาน ประกอบด้วย เวหัปผลา เป็นพรหมที่มีผลไพบูลย์ คือเป็นผลของกุศลที่มั่นคงไม่หวั่นไหวเป็นพิเศษ ตามอำนาจของฌาน ผลของกุศลในชั้นปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ และตติยฌานภูมิ ไม่สามารถบังเกิดในชั้นเวหัปผลาภูมิได้ เพราะเมื่อยามโลกถูกทำลาย ภูมิทั้ง 3 ระดับย่อมถูกทำลายไปด้วย

ในบรรดาพรหมทั้ง 9 ภูมิที่กล่าวมาสุภกิณหามีอายุยืนมากกว่าพรหมอื่นๆ ที่เกิดอยู่ในภูมิต่ำกว่า คือมีอายุขัยถึง 64 มหากัป โดยพรหมองค์ที่มีอายุเต็ม 64 มหากัป ต้องเป็นองค์ที่อุบัติขึ้นพร้อมการ ร้างโลกใหม่ส่วนองค์ที่เกิดตามมาภายหลังย่อมมีอายุลดลงตามลำดับ เมื่อครบกำหนด 64 มหากัป

ตติยฌานภูมินี้จะถูกทำลายด้วยลมทุกครั้งไปสำหรับเวหัปผลาภูมิพ้นจากการถูกทำลายทั้งด้วยไฟ น้ำ และลมพรหมทุกองค์ที่บังเกิด ณ ที่นี้จึงมีอายุขัยได้เต็มที่ คือ 500 มหากัปเสมอไป

อสัญญีสัตตา เป็นพรหมที่ไม่มีนามขันธ์ (เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ) มีแต่รูปขันธ์ คือดับ ความรู้สึกข้างนอกหมด ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น แต่กิเล ยังไม่ดับ มีรูปร่างผิวพรรณงดงามคล้ายพระพุทธรูปทองคำ มีอิริยาบถ 3 อย่าง คือ นั่ง นอน หรือยืน แล้วแต่อิริยาบถก่อนตายในชาติที่แล้วมา และจะอยู่ในอิริยาบถเดียวนิ่งๆ แข็งทื่ออยู่อย่างนั้นจนครบอายุขัย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า พรหมลูกฟัก

จตุตถฌานภูมิทั้ง 2 นี้ตั้งอยู่กลางอากาศสูงกว่าตติยฌานภูมิ พรหมใน 2 ชั้นนี้สามารถมองเห็นซึ่งกันและกัน และมองเห็นพรหมชั้นที่อยู่ต่ำกว่าได้ส่วนพรหมชั้นต่ำกว่าไม่สามารถมองเห็นพรหมชั้นสูงได้รูปพรหมทั้ง 11 ชั้นเหล่านี้ แม้ว่าจะมีอายุยืนยาวมากก็ตาม ท้ายที่สุดจะต้องตายจากความเป็นพรหมด้วยกันทั้งสิ้น ตราบใดที่ยังมิได้เป็นพระอริยบุคคล อาจต้องไปเสวยทุกข์ในอบายภูมิก็เป็นได้ ทิพยสมบัติอิทธิฤทธิ์ รัศมีที่รุ่งเรือง การมีอายุยืนต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถช่วยตนเองได้เลย

ุทธาวาภูมิ 5 เป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าชั้นอนาคามีสุทธาวา ภูมิ แบ่งออกเป็น 5 ชั้น

ตามความแก่อ่อนของบารมี โดยดูจากอินทรีย์ 5 ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ ติสมาธิ ปัญญา ดังนี้

อวิหา มีอินทรีย์อ่อนที่สุด ศรัทธามีกำลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จึงได้มาเกิดในชั้นนี้ เป็นพรหมที่ไม่ละทิ้ง ถานที่ของตน คือต้องอยู่จนครบอายุขัยจึงจุติ ไม่มีการเสื่อมจากสมบัติของตน มีทิพยสมบัติบริบูรณ์เต็มที่อยู่เสมอจนตลอดอายุขัยสำหรับพรหมชั้นสูงที่เหลืออีก 4 ชั้น อาจไม่ได้อยู่จนครบอายุขัย มีการจุติได้ก่อนอตัปปา วิริยะมีกำลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จึงได้มาเกิดในชั้นนี้ เป็นพรหมที่ไม่มีความเดือดร้อนใจเพราะย่อมเข้าผล มาบัติอยู่เสมอ นิวรณธรรมที่เป็นเหตุให้จิตเดือดร้อนไม่อาจเกิดขึ้น จิตใจจึงมีแต่ความงบเยือกเย็นุทัสาสติมีกำลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จึงได้มาเกิดในชั้นนี้ เป็นพรหมที่เห็นสิ่งต่างๆ โดยปรากฏชัด เพราะบริบูรณ์ด้วยจักษุทั้งหลาย ได้แก่ ปสาทจักษุ ทิพยจักษุ ธัมมจักษุ ปัญญาจักษุที่บริสุทธิ์ พรหมในชั้นนี้มีร่างกาย วยงามมาก ผู้ใดได้เห็นแล้วย่อมเกิดความสุขใจสุทัสา จึงหมายความว่า ผู้ที่ผู้อื่นเห็นด้วยความเป็นสุขุทั้งสมาธิมีกำลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จึงได้มาเกิดในชั้นนี้ เป็นพรหมที่แลเห็นสิ่งต่างๆ โดยสะดวก มีการเห็นบริบูรณ์ด้วยดียิ่งกว่าสุทัสาพรหม ว่าโดยจักษุ 4 ประการแล้ว ปสาทจักษุ ทิพยจักษุปัญญาจักษุ ทั้งสามอย่างนี้มีกำลังมากยิ่งกว่าสุทัสาพรหม มีแต่ธัมมจักษุเท่านั้นที่มีกำลังเสมอกันอกนิฏฐ มีอินทรีย์แก่ที่สุด ปัญญามีกำลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จึงได้มาเกิดในชั้นนี้ เป็นพรหมที่มีทิพยสมบัติและความสุขที่ยอดเยี่ยม มีคุณสมบัติยิ่งกว่ารูปพรหมทุกชั้น รูปพรหมชั้นที่ 1 ถึง ชั้นที่ 4 ในุทธาวา ภูมินี้ ขณะยังไม่เป็นพระอรหันต์ เมื่อจุติในชั้นของตนแล้ว จะเลื่อนไปบังเกิดในชั้นสูงขึ้นไปไม่เกิดซ้ำภูมิหรือไม่เกิดในภูมิต่ำกว่าแต่สำหรับอกนิฏฐพรหมย่อมไม่ไปบังเกิดในภูมิอื่นอีกเลยจะต้องปรินิพพานในภูมินี้ในอกนิฏฐภูมิ มีปูชนีย ถานสำคัญแห่งหนึ่ง คือ ทุ เจดีย์ เป็นที่บรรจุเครื่องฉลองพระองค์ของเจ้าชายสิทธัตถะ ทรง วมใส่ในขณะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ โดยฆฏิการพรหมลงมาจากชั้นอกนิฏฐภูมิ

นำเอาเครื่องบริขารทั้ง 8 ถวายแด่พระสิทธัตถะ และรับเอาเครื่องฉลองพระองค์ไปบรรจุไว้ในทุ เจดีย์มีความสูง 12 โยชน์

ุทธาวา ภูมิ จะมีขึ้นในระยะที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเท่านั้น เพราะเป็นที่อยู่ของอนาคามีบุคคล ถ้าพระพุทธศา นายังไม่บังเกิด พระอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ นับเป็น ถานที่ที่เกิดขึ้นเฉพาะกาล โดยธรรมชาติ อายุของสุทธาวา ภูมิจะไม่เกินอายุรวมของทั้ง 5 ชั้นในภูมินี้รวมกัน (ประมาณ 31,000 มหากัป)เพราะไม่ว่าพระอริยบุคคลจะเกิดอยู่ในภูมิใด ในมนุษย์ เทวดา รูปพรหม ก็จะพากันปรินิพพานจนหมดดังนั้นสุทธาวา ภูมิจะหายไป และจะบังเกิดขึ้นใหม่อีกครั้งเมื่อมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ หมุนเวียนอยู่ดังนี้

ตารางแสดงอายุของรูปพรหม 16 ชั้นรูปพรหมอายุ

  • 1. ปาริสัชชาภูมิ 1 ใน 3 วิวัฏฏัฏฐายีอ งไขยกัป1
  • 2. ปุโรหิตาภูมิ 1 ใน 2 วิวัฏฏัฏฐายีอ งไขยกัป
  • 3. มหาพรหมาภูมิ 1 วิวัฏฏัฏฐายีอ งไขยกัป
  • 4. ปริตตาภาภูมิ 2 มหากัป
  • 5. อัปปมาณาภาภูมิ 4 มหากัป
  • 6. อาภั ราภูมิ 8 มหากัป
  • 7. ปริตตสุภาภูมิ 16 มหากัป
  • 8. อัปปมาณสุภาภูมิ 32 มหากัป
  • 9.สุภกิณหาภูมิ 64 มหากัป
  • 10. เวหัปผลาภูมิ 500 มหากัป
  • 11. อสัญญีสัตตาภูมิ 500 มหากัป
  • 12. อวิหาสุทธาวา ภูมิ 1,000 มหากัป
  • 13. อตัปปาสุทธาวา ภูมิ 2,000 มหากัป
  • 14.สุทัสาสุทธาวา ภูมิ 4,000 มหากัป
  • 15.สุทั ีสุทธาวา ภูมิ 8,000 มหากัป
  • 16. อกนิฏฐสุทธาวา ภูมิ 16,000 มหากัป

Complete and Continue