บทที่ 3 มนุสสภูมิ

บทที่ 3 มนุสสภูมิ

เนื้อหาบทที่ 3 มนุสสภูมิ

  • 3.1 ความหมายของคำว่า มนุสสภูมิ
  • 3.2 ที่ตั้งของมนุสสภูมิ
  • 3.3 ชมพูทวีปเป็นโลกแห่งความแตกต่าง
  • 3.4 ประเภทของมนุษย์
  • 3.5 เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นมนุษย์

แนวคิด

  • 1. มนุสสภูมิ เป็นภูมิที่อยู่อาศัยของมนุษย์เรา และเป็นที่อยู่ของผู้ที่มีใจสูง เพราะมนุษย์มีความรู้จักผิดชอบชั่วดี ถ้าทำความดีก็จะได้ถึงดีที่สุด หากทำชั่วก็จะถึงชั่วที่สุด
  • 2. มนุสสภูมิ ไม่ได้มีเฉพาะโลกมนุษย์ที่เราอาศัยอยู่เท่านั้น แต่มีถึง 4 โลก หรือ 4 ทวีปด้วยกัน คือ ปุพพวิเทหทวีป อปรโคยานทวีป ชมพูทวีป และอุตตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ในทิศทั้ง 4 ของเขาสิเนรุ ลักษณะของมนุษย์แต่ละทวีปมีรูปพรรณสัณฐานคล้ายกัน ต่างกันแต่เพียงขนาด ความได้สัดส่วน และความประณีตสวยงาม อายุขัยของมนุษย์ในแต่ละทวีปจะมีความคงที่ ยกเว้นชมพูทวีปจะมีอายุขัยขึ้นลงตามการกระทำของมนุษย์ในยุคนั้น
  • 3. มนุษย์แบ่งออกเป็นประเภทตามการกระทำได้หลายประเภท ได้แก่ มนุษย์นรก มนุษย์เปรต มนุษย์สัตว์เดียรัจฉาน และมนุษย์เทวดา
  • 4. การเกิดเป็นมนุษย์เป็นการยาก เพราะยังมีภพภูมิอีกถึง 30 ภพภูมิ ที่สรรพสัตว์เมื่อตายแล้วต้องไปเกิด หากเทียบการเกิดในภูมิมนุษย์กับภูมิอื่นๆ แล้ว นับว่าปริมาณการเกิดในภูมิมนุษย์นั้นน้อยมาก เหตุที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ คือ ศีล 5 อันเป็นความปกติของมนุษย์นั่นเอง

วัตถุประสงค์

  • 1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายของคำว่า มนุสสภูมิ ได้
  • 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายที่ตั้งของมนุสสภูมิได้
  • 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายประเภทของมนุษย์ได้
  • 4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายเหตุที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ได้

GL102-บทที่ 3 มนุสสภูมิ.pdf
Complete and Continue