2.2 อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์

2.2 อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ 

รวมถึงเรื่องการเพิ่มและการลดลงของอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ หรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า การไขขึ้นและไขลงของอายุ เพราะถ้าเรามีความเข้าใจในเรื่องอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์แล้ว เราก็จะสามารถทำความเข้าใจในเรื่องระยะเวลาในหนึ่งมหากัปได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว อายุขัยเฉลี่ย หรือที่เรียกว่า อายุกัป ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน คือ 75-ปี แต่ในสมัยพุทธกาลอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์จะเท่ากับ 100-ปี สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าอายุขัยเฉลี่ยในแต่ละยุคแต่ละสมัยนั้น มีความแตกต่างกันออกไป

ที่เป็นแบบนี้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับศีลธรรมที่อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ หากในยุคใดสมัยใดมนุษย์มีศีลธรรมในจิตใจมาก ในยุคนั้นสมัยนั้น...อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ก็จะยืนยาวตามไปด้วย และในขณะเดียวกัน หากในยุคใดสมัยใดมนุษย์มีศีลธรรมในจิตใจน้อย ในยุคนั้นสมัยนั้น...อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ก็จะสั้นลง อย่างนี้วนไปเวียนมาเรื่อยๆ

 มาถึงตรงนี้ หลายๆคนคงเริ่มสงสัย และอยากรู้ขึ้นมาว่า “แล้วอายุขัยที่ว่ายืนยาวที่สุดและสั้นที่สุดของมนุษย์ จะยืนยาวนานหรือสั้นสักขนาดไหน”

คำตอบ คือ อายุขัยที่ยืนยาวที่สุดของมนุษย์จะเท่ากับหนึ่งอสงไขยปี หรือเท่ากับ 10140-ปี (10-ยกกำลัง 140)

ส่วนอายุขัยที่สั้นที่สุดของมนุษย์จะลดลงเหลือเพียงแค่สิบปีเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเรานับระยะเวลาจากอายุมนุษย์ที่ยืนยาวที่สุด คือ หนึ่งอสงไขยปี แล้วอายุค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงที่มนุษย์มีอายุลดลงเหลือเพียงแค่สิบปี

จากนั้น...อายุก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นไปจนถึงหนึ่งอสงไขยปีอีกครั้ง เราจะเรียกระยะเวลาในช่วงนี้ว่า หนึ่งรอบอสงไขยปี ซึ่งเป็นคนละอย่างกับคำว่า อสงไขยมหากัป ถ้าพวกเราเข้าใจตรงนี้แล้ว เราก็จะเข้าสู่เรื่องมหากัปกันต่อไป

Complete and Continue