2.7 วัฏสงสาร

2.7 วัฎสงสาร

การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากอย่างยิ่ง นอกจากพระพุทธองค์จะทรงนำตัวของพระองค์เองให้พ้นจากห้วงแห่งทุกข์แล้ว พระองค์ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณที่จะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองทุกข์ ไปสู่ฟากฝั่งแห่งพระนิพพานพร้อมๆกันกับพระองค์อีกด้วย

ซึ่งแต่เดิมนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ก็เคยเกิดเป็นคนธรรมดาสามัญที่ไม่รู้จักเป้าหมายที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะในหลายๆชาติ...พระองค์ก็ทรงเคยดำเนินชีวิตด้วยความประมาท เหมือนดังเช่นคนธรรมดาทั่วไป กล่าวคือ เคยทำดีบ้าง เคยทำชั่วบ้าง ปะปนคละเคล้ากันไป อีกทั้งพระองค์ยังถูกความทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ และตาย ครอบงำอยู่เรื่อยมาทุกภพทุกชาติ

เมื่อละจากโลกแล้ว พระองค์ (หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยที่พระองค์ทรงเกิดเป็นคนธรรมดาสามัญที่ไม่รู้จักเป้าหมายที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์)-ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพสาม หรืออยู่ในคุกแห่งความทุกข์เป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากๆ เรียกได้ว่า...มากเสียจนไม่ทราบว่าชาติแรกเริ่มต้นจากตรงไหน และชาติสุดท้ายจะไปสิ้นสุดลงเมื่อใด

 ในบางชาติที่พระองค์เผลอไปทำกรรมชั่วหรือทำบาปอกุศลกรรม วิบากกรรมเหล่านั้นก็ส่งผลทำให้พระองค์ต้องพลัดไปเกิดอยู่ในอบาย หรือไปเกิดอยู่ในทุคติภูมิ เช่น ในบางครั้งก็ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือไปรับกรรมเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย วนเวียนอยู่อย่างนี้ ซ้ำๆมาหลายภพหลายชาติ

ถ้าหากจะให้อุปมาเปรียบเทียบ ระยะเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จะต้องเวียนว่ายตายเกิด และต้องประสบกับความทุกข์ต่างๆ ทั้งความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากของที่รัก หรือความทุกข์ที่เกิดจากการประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ หรือความทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ และตาย สามารถกล่าวได้เลยว่า...น้ำตาที่ต้องรินไหลเพราะความทุกข์ในแต่ละชาตินั้น หากนำมารวมกันแล้ว ยังมีปริมาณที่มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ ส่วนกองของเถ้ากระดูกในแต่ละชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์ หากนำมารวมกันแล้ว ยังมีขนาดที่ใหญ่กว่าขุนเขาใดๆบนโลกเสียอีก

ภายหลังจากที่พระองค์ได้เวียนตายเวียนเกิดจนได้สั่งสมประสบการณ์ และพบกับความทุกข์ มานับภพนับชาติไม่ถ้วนแล้ว ก็จะมีอยู่พระชาติหนึ่งที่พระองค์ทรงเกิดจิตสำนึกลึกๆ และพลันฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า “ที่แท้แล้ว...วัฏสงสารที่เราเวียนตายเวียนเกิดอยู่นี้ ก็คือคุกใบใหญ่ ตัวเราและสรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็ถูกจับขังให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้ ไม่รู้จักจบสิ้น ฉะนั้นแล้ว...เราจะต้องหาทางพาตัวเองออกไปจากคุกนี้ให้ได้”

 



2.7 วัฎสงสาร

 การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากอย่างยิ่ง นอกจากพระพุทธองค์จะทรงนำตัวของพระองค์เองให้พ้นจากห้วงแห่งทุกข์แล้ว พระองค์ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณที่จะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองทุกข์ ไปสู่ฟากฝั่งแห่งพระนิพพานพร้อมๆกันกับพระองค์อีกด้วย

ซึ่งแต่เดิมนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ก็เคยเกิดเป็นคนธรรมดาสามัญที่ไม่รู้จักเป้าหมายที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะในหลายๆชาติ...พระองค์ก็ทรงเคยดำเนินชีวิตด้วยความประมาท เหมือนดังเช่นคนธรรมดาทั่วไป กล่าวคือ เคยทำดีบ้าง เคยทำชั่วบ้าง ปะปนคละเคล้ากันไป อีกทั้งพระองค์ยังถูกความทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ และตาย ครอบงำอยู่เรื่อยมาทุกภพทุกชาติ เมื่อละจากโลกแล้ว พระองค์ (หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยที่พระองค์ทรงเกิดเป็นคนธรรมดาสามัญที่ไม่รู้จักเป้าหมายที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์)-ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพสาม หรืออยู่ในคุกแห่งความทุกข์เป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากๆ เรียกได้ว่า...มากเสียจนไม่ทราบว่าชาติแรกเริ่มต้นจากตรงไหน และชาติสุดท้ายจะไปสิ้นสุดลงเมื่อใด

  ในบางชาติที่พระองค์เผลอไปทำกรรมชั่วหรือทำบาปอกุศลกรรม วิบากกรรมเหล่านั้นก็ส่งผลทำให้พระองค์ต้องพลัดไปเกิดอยู่ในอบาย หรือไปเกิดอยู่ในทุคติภูมิ เช่น ในบางครั้งก็ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือไปรับกรรมเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย วนเวียนอยู่อย่างนี้ ซ้ำๆมาหลายภพหลายชาติ

ถ้าหากจะให้อุปมาเปรียบเทียบ ระยะเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จะต้องเวียนว่ายตายเกิด และต้องประสบกับความทุกข์ต่างๆ ทั้งความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากของที่รัก หรือความทุกข์ที่เกิดจากการประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ หรือความทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ และตาย สามารถกล่าวได้เลยว่า...น้ำตาที่ต้องรินไหลเพราะความทุกข์ในแต่ละชาตินั้น หากนำมารวมกันแล้ว ยังมีปริมาณที่มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ ส่วนกองของเถ้ากระดูกในแต่ละชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์ หากนำมารวมกันแล้ว ยังมีขนาดที่ใหญ่กว่าขุนเขาใดๆบนโลกเสียอีก

  ภายหลังจากที่พระองค์ได้เวียนตายเวียนเกิดจนได้สั่งสมประสบการณ์ และพบกับความทุกข์ มานับภพนับชาติไม่ถ้วนแล้ว ก็จะมีอยู่พระชาติหนึ่งที่พระองค์ทรงเกิดจิตสำนึกลึกๆ และพลันฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า “ที่แท้แล้ว...วัฏสงสารที่เราเวียนตายเวียนเกิดอยู่นี้ ก็คือคุกใบใหญ่ ตัวเราและสรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็ถูกจับขังให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้ ไม่รู้จักจบสิ้น ฉะนั้นแล้ว...เราจะต้องหาทางพาตัวเองออกไปจากคุกนี้ให้ได้”

   ภายหลังจากที่พระองค์ (หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยที่พระองค์ทรงเกิดเป็นคนธรรมดาสามัญ ที่เริ่มจะรู้จักเป้าหมายที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์)-เกิดความคิดที่จะออกจากคุกแห่งวัฏสงสารแล้ว พระองค์ยังมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการตั้งความปรารถนาเพิ่มเติมอีกว่า “หากวันใดที่เราแหกคุกแห่งวัฏสงสารนี้ไปได้ เราจะไม่ไปเพียงลำพัง แต่เราจะขนสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ในวัฏสงสาร ออกไปด้วยกันทั้งหมด”

 ด้วยความที่พระองค์มีความคิดที่จะพาตัวเองและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ออกจากคุกแห่งวัฏสงสาร จึงกล่าวได้ว่า...พระองค์ถือเป็นบุคคลที่พิเศษกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป กล่าวคือ...เป็นสุดยอดของสุดยอดของสุดยอดคน หรือ Ultra-Super-Absolutely-Perfect-Man-เพราะผู้ที่จะมีความคิดอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ได้ จะต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจอันเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง และมีน้ำใจต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายแบบไม่มีประมาณ

  ด้วยความที่พระองค์มีความคิดที่จะพาตัวเองและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ออกจากคุกแห่งวัฏสงสาร จึงกล่าวได้ว่า...พระองค์ถือเป็นบุคคลที่พิเศษกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป กล่าวคือ...เป็นสุดยอดของสุดยอดของสุดยอดคน หรือ Ultra-Super-Absolutely-Perfect-Man-เพราะผู้ที่จะมีความคิดอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ได้ จะต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจอันเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง และมีน้ำใจต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายแบบไม่มีประมาณ

เมื่อพระองค์ได้พบกับวิธีดับทุกข์ที่ถูกต้องแล้ว พระองค์ก็ได้สั่งสมบุญสร้างบารมีอย่างยิ่งยวด และทำอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน นับตั้งแต่นั้นเรื่อยมา กล่าวคือ ทั้งสละทรัพย์ สละเลือด สละเนื้อ สละอวัยวะ และสละชีวิต ด้วยความเพียรพยายามอย่างเต็มที่เต็มกำลัง จวบจนกระทั่งถึงวันที่บารมีเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ พระองค์จึงได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภพชาติสุดท้ายในที่สุด

  นี้คือบทสรุปของเรื่องราว ตั้งแต่ช่วงที่เป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือ ตั้งแต่ในภพชาติแรกที่ทรงตั้งความปรารถนาในการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วทรงมุ่งหน้าสร้างบารมีเรื่อยมา จนกระทั่งถึงพระชาติสุดท้ายที่ได้มาตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดั่งที่พระองค์ทรงได้ตั้งความปรารถนาเอาไว้



Complete and Continue