1.2. ออกบวช

ออกบวช

ปฏิญาณบวชตลอดชีวิต

      เมื่อผ่านเหตุการณ์ตามจับคนร้ายในครั้งนั้นแล้ว ท่านใช้ชีวิตอยู่กับการค้าข้าวเลี้ยงโยมแม่และ ครอบครัวเรื่อยมา จนกระทั่งอายุย่างเข้า 19 ปี ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญในชีวิต ซึ่งเป็นจุดหักเหให้ท่านเลือกเส้นทางเดินชีวิตที่ต่างจากคนทั่วไป

วันหนึ่งหลังจากค้าข้าวเสร็จ ท่านและลูกน้องได้นำเรือเปล่ากลับบ้าน ในคืนนั้นล่องเรือไปด้วยความยากลำบาก เพราะน้ำในคลองไหลเชี่ยว แต่ก็พยายามถ่อเรือต่อไป จนมาถึงคลองเล็กๆสายหนึ่ง ซึ่งเป็นเส้นทางลัด ชาวบ้านเรียกคลองนี้ว่า "คลองบางอีแท่น" อยู่เหนือตลาดใหม่ แม่น้ำนครไชยศรี จังหวัดนครปฐม คลองนี้เป็นคลองเปลี่ยว และมีโจรผู้ร้ายชุกชุมในขณะนั้นมีเรือเพียงลำเดียวเท่านั้นที่แล่นเข้าไปในคลอง เมื่อเรือแล่นเข้าไปได้เล็กน้อย ท่านก็กลัวว่าจะโดนโจรปล้นและทำร้าย ถ้าโจรปล้นจริงๆ ท่านจะโดนทำร้ายก่อน เพราะยืนอยู่ทางท้ายเรือจึงเกิดความคิดขึ้นว่า "อ้ายน้ำก็เชี่ยว อ้ายคลองก็เล็ก อ้ายโจรก็ร้าย ท้ายเรือเข้าก็ไล่เลี่ยกับฝัง ไม่ต่ำไม่สูงกว่ากันเท่าไรนัก น่าหวาดเสียวอันตราย เมื่อโจรมาก็ต้องยิง หรือทำร้ายคนท้ายก่อน ถ้าเขาทำเราเสียได้ก่อน ก็ไม่มีทางที่จะสู้เขา ถ้าเราเอาอาวุธปืนแปดนัดไว้ทางหัวเรือ แล้วเราไปถือเรือทางลูกจ้างเสีย เมื่อโจรมาทำร้าย เราก็จะมีทางสู้ได้บ้าง" เมื่อคิดดังนั้นแล้ว จึงหยิบปืนยาวบรรจุกระสุน 8 นัดไปอยู่หัวเรือ ขณะถ่อเรือแทนลูกจ้างอยู่นั้น พลันเกิดความคิดขึ้นมาว่า "คนพวกนี้ เราจ้างเขาคนหนึ่งๆ เพียง11 - 12 บาทเท่านั้นส่วนตัวเราเป็นเจ้าของทั้งทรัพย์ทั้งเรือ หากจะโยนความตายไปให้ลูกจ้างก่อน ก็ดูจะเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์มากเกินไป ทำอย่างนี้ไม่ถูกไม่ควร"เมื่อเกิดจิตเมตตาและนึกตำหนิตัวเองเช่นนี้ ท่านจึงตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่า "ทรัพย์ก็ของเราเรือก็ของเรา เราควรตายก่อนดีกว่าส่วนลูกจ้างนั้น เมื่อมีภัยมาถึง เขาควรจะได้หนีเอาตัวรอด ไปทำมาหาเลี้ยงบุตรภรรยาของเขาได้อีก" เมื่อตกลงใจเช่นนั้น จึงเรียกลูกเรือให้มาถ่อเรือแทนส่วนตัวเองก็ถือปนคู่มือกลับมานั่งถือท้ายเรือตามเดิมเรือยังคงแล่นต่อไปเรื่อยๆ แต่ไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างที่คิด เมื่อเรือแล่นมาใกล้จะออกจากคลอง จนเห็นปากทางออก ก็รู้ได้ว่าปลอดภัยแล้ว แต่ในใจของท่านยังคิดถึงความตายอยู่ตลอดเวลาและทันใดนั้น ธรรมสังเวชก็เกิดขึ้นในใจของท่านว่า "การหาเงินหาทองนี้ลำบากจริงๆ เจียวหนา บิดาของเราก็หามาดังนี้ เราก็หาซ้ำรอยบิดา ตามบิดาบ้าง เงินแลทองที่หากันทั้งหมดด้วยกันนี้ ต่างคนก็ต่างหา ไม่มีเวลาหยุดด้วยกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่เร่งรีบหาให้มั่งมี ก็เป็นคนต่ำและเลว ไม่มีใครนับถือแลคบหา เข้าหมู่เขาก็อายเขา เพราะเป็นคนจนกว่าเขา ไม่เทียมหน้าเทียมบ่าเทียมไหล่กับเขา ปุรพชนต้น กุลของเราก็ทำมาดังนี้ เหมือนๆ กันจนถึงบิดาของเรา แลตัวของเรา ก็บัดนี้ปุรพชนแลบิดาของเราไปทางไหนหมด ก็ปรากฏแก่ใจว่าตายหมดแล้ว แล้วตัวของเราเล่า ก็ต้องตายเหมือนกัน"เมื่อคิดถึงความตายขึ้นมาอย่างนี้ก็เริ่มกลัว และนึกถึงความตายที่จะมาถึงตัวเองต่อไปอีกว่า"เราต้องตายแน่ๆ บิดาเราก็มาล่องข้าว ขึ้นจากเรือข้าวก็เจ็บมาจากตามทางแล้ว ขึ้นจากเรือข้าวไม่ได้กี่วันก็ถึงแก่กรรม เมื่อถึงแก่กรรมแล้ว เราที่ช่วยพยาบาลอยู่ ไม่ได้เห็นเลยที่จะเอาอะไรติดตัวไปผ้าที่นุ่งแลร่างกายของแก เราก็ดูแลอยู่ ไม่เห็นมีอะไรหายไป ทั้งตัวเราแลพี่น้องของเราที่เนื่องด้วยแก ตลอดถึงมารดาของเราก็อยู่ ไม่เห็นมีอะไรเลยที่ไปด้วยแก แกไปผู้เดียวแท้ๆ ก็ตัวเราเล่าต้องเป็นดังนี้ เคลื่อนความเป็นอย่างนี้ไปไม่ได้แน่"เมื่อท่านคิดอย่างนี้แล้ว ท่านก็นอนแผ่ลงไปที่ท้ายเรือ แกล้งทำเป็นตาย ลองดูว่าถ้าตายแล้วจะเป็นอย่างไร ท่านก็นอนคิดว่าตัวเองตายอย่างนั้นจนเผลอ สติไปสักครู่หนึ่ง เมื่อได้ สติรู้สึกตัวก็รีบลุกขึ้น จุดธูปอธิษฐานจิตว่า "ขออย่าให้เราตายเสียก่อน ขอให้ได้บวชเสียก่อนเถิด ถ้าบวชแล้วไม่สึกตลอดชีวิต"

 บวชแล้วขวนขวายศึกษาธรรมะ

      นับจากวันนั้น คำอธิษฐานยังคงฝังแน่นอยู่ในใจของหลวงปู่ตลอดมา ความคิดที่จะบวชตลอดชีวิตยังชัดเจนอยู่ในใจ แต่ด้วยภาระที่ต้องเลี้ยงโยมแม่ ทำให้ยังไม่สามารถบวชได้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงตั้งใจทำมาหากิน และขยันเก็บเงินเก็บทองจนมีเงินเก็บได้มากพอสมควร ที่ทำให้โยมแม่และพี่น้อง มีเงินทองใช้จ่ายอย่างสะดวก สบายไม่ลำบากในอนาคต เมื่อหมดภาระเรื่องเงินทองแล้ว จึงตัดสินใจบวชทันทีในขณะนั้นอายุย่าง 22 ปี พอถึงเดือน 8 ข้างขึ้น หลังจากขนข้าวลงเรือจนเต็มลำแล้ว ก็ให้ลูกน้องนำข้าวไปขายให้โรง สีในกรุงเทพฯส่วนตัวท่านก็เข้าวัดเป็นนาค เพื่อเตรียมตัวบวชที่วัด โดยมีพระปลัดยังเจ้าอาวาสวัด สองพี่น้องในขณะนั้น เป็นผู้ สอนท่องคำขออุปสมบท ซักซ้อมพิธีอุปสมบทและ สอนพระวินัยให้เมื่อถึงต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ท่านได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอ สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับฉายาว่า จนฺท โร โดยมีพระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่งอินทสุวัณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีความทรงจำดี จึงสามารถท่องบทสวดมนต์และพระปาฏิโมกข์ได้หมดสำหรับการศึกษาในช่วงพรรษาแรก หลวงปู่ได้เรียนคันถธุระและวิปัสนาธุระควบคู่กันไป เมื่อเรียนด้านคันถธุระไปได้ระยะหนึ่ง หลวงปู่ก็ สงสัยว่า คำว่า "อวิชฺชาปจฺจยา" แปลว่าอะไร ด้วยความ สงสัยที่ผุดขึ้นมาในใจเหมือนกับปริศนาที่ต้องตอบให้ได้ ท่านมีความรู้สึกว่า คำๆ นี้มีความสำคัญต่อตัวท่าน จึงไปถามพระภิกษุ ที่อยู่ในวัด เมื่อถามใครก็ไม่มีใครรู้คำแปล มีพระรูปหนึ่งบอกว่า "เขาไม่แปลกันหรอกคุณ อยากรู้ก็ต้องไปเรียนที่บางกอก (กรุงเทพฯ)" เมื่อได้ฟังดังนั้น ทำให้ท่านเกิดแรงบันดาลใจที่จะไปเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะต้องการจะรู้คำแปลให้ได้

      เมื่อบวชได้ 7 เดือนเศษ จึงไปหาโยมแม่ และขอไปเรียนที่กรุงเทพฯ แม้ว่าโยมแม่จะไม่เต็มใจให้ไปแต่ก็จำยอม ท่านจึงขอปัจจัย 1 ชั่ง เพื่อเป็นค่าเดินทาง โดยตั้งใจว่าการขอครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อลาโยมแม่แล้ว จึงเดินทางมาจำพรรษาที่วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียน และได้พาน้องชายคนเล็ก มาอยู่ด้วย โดยให้มาอุปัฏฐากและให้เรียนมูลกัจจายน์ (คัมภีร์บาลีไวยากรณ์) ไปด้วยช่วงที่มาถึงวัดพระเชตุพนฯ ใหม่ๆ ในขณะนั้นท่านยังไม่มีหนังสือ ที่จะใช้เรียน จึงให้โยมพี่สาวซื้อถวายขณะเรียนหนังสืออยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ หลวงปู่ลำบากในเรื่องอาหารบิณฑบาตมาก บางวันบิณฑบาตได้ไม่พอฉัน บางวันได้เพียง ส้มผลเดียว บางวันไม่ได้เลย มีอยู่วันหนึ่ง หลวงปู่ออกบิณฑบาตไม่ได้อะไรเลยวันต่อมาก็ไม่ได้อีก ท่านคิดว่า "เราเป็นผู้มีศีล จะอดตายหรือ ถ้าเป็นจริง ก็ยอมตาย บิณฑบาตไม่ได้ข้าว ก็ไม่ฉันของอื่น ยอมอด เพราะคิดว่า ถ้าเราตายลงไป ภิกษุหมดทั้งนคร ต้องมีอาหารบิณฑบาตพอหมดทุกๆ รูป เพราะคนลือ ก็จะพากัน สงสารพระภิกษุไปตามๆ กัน" จึงไม่ยอมดิ้นรนแสวงหาอาหารด้วยวิธีการอื่น

      ในวันที่สาม ท่านออกบิณฑบาตอยู่จนสาย ได้ข้าวเพียง 1 ทัพพี กับกล้วยน้ำว้า 1 ผล เมื่อกลับมาถึงกุฏิ ท่านรู้สึกอ่อนเพลียมาก เพราะไม่ได้ฉันมา 2 วันแล้ว หลังจากพิจารณาปัจจเวกขณ์เสร็จแล้วจึงเริ่มฉัน เมื่อฉันเข้าไปได้หนึ่งคำ ก็เหลือบไปเห็นสุนัขตัวผอมเดินโซเซมา เพราะอดอาหารมาหลายวันแม้ท่านกำลังหิวจัด เพราะอดอาหารมาหลายวัน ก็ยังมีความเมตตา สงสารสุนัขตัวนั้น จึงปันข้าวที่เหลืออีกคำหนึ่งกับกล้วยอีกครึ่งผลให้สุนัขตัวนั้น พร้อมทั้งอธิษฐานจิตว่า "ขึ้นชื่อว่าความอดอยากเช่นนี้ ขออย่าให้มีอีกเลย" นับจากวันนั้น ด้วยอำนาจบุญที่ได้สร้างมหาทานบารมีในครั้งนั้น เมื่อไปบิณฑบาตที่ไหน ท่านก็ได้อาหารมากมายจนฉันไม่หมด และยังได้แบ่งถวายให้กับพระภิกษุรูปอื่นๆ ด้วยด้วยใจที่คิดถึงผู้อื่นอยู่เสมอ ประกอบกับความลำบากในเรื่องอาหารขบฉันของหลวงปู่ในครั้งนั้นทำให้ท่านนึกถึงพระภิกษุรูปอื่นๆ กลัวว่าจะมีความลำบากในเรื่องอาหารเช่นเดียวกับท่าน จึงคิดว่า "ถ้าเรามีกำลังพอเมื่อใด จะจัดตั้งโรงครัวประกอบอาหารเลี้ยงพระภิกษุสามเณร โดยไม่ต้องให้ลำบาก เป็นการเสียเวลาในการศึกษาเล่าเรียน"เมื่อบวชได้ 4 พรรษา หลวงปู่และน้องชายจึงย้ายไปอยู่ที่วัดชัยพฤกษ์มาลาชั่วคราว คืนหนึ่งหลวงปู่ฝันว่า มีชายคนหนึ่งเอาทรายมาถวาย 1 ปุ้งกี๋ จึงเอื้อมมือไปหยิบมาหน่อยหนึ่งส่วนน้องชายรับไว้ถึง 2 กำมือ หลังจากนั้นไม่กี่วัน ท่านและน้องชายก็ป่วยเป็นไข้ทรพิษ ท่านมีอาการไม่มากส่วนน้องชายของท่านเป็นหนักมาก เมื่ออาการของท่านทุเลาลง จึงรีบพาน้องชายไปรักษาที่บ้าน สองพี่น้อง แต่อาการก็ไม่ทุเลา ต่อมาก็เสียชีวิต ขณะนั้นน้องชายของท่านอายุเพียง 18 ปี เมื่อจัดการเรื่องศพน้องชายเสร็จแล้วจึงกลับมาอยู่วัดพระเชตุพนฯ ตามเดิม

การศึกษาด้านปริยัติ (คันถธุระ)

      หลวงปู่ทุ่มเทให้กับการศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่ เนื่องจากท่านมีความเฉลียวฉลาด มีความจำดีจึงสามารถเรียนมูลกัจจายน์ได้ถึง 3 จบ เรียนพระธรรมบท 8 ภาค มังคลัตถทีปนี และสารสังคหะ1จนชำนาญ และสามารถ อนผู้อื่นได้

ใน สมัยนั้น นักเรียนแต่ละท่านเรียนไม่เหมือนกัน ใครต้องการเรียนอะไรก็สามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการของตัวเอง นักเรียนบางท่านเรียนธรรมบทเบื้องต้น บางท่านเรียนเบื้องปลายด้วยความรักในการศึกษาของหลวงปู่ เมื่อท่านไปเรียน ท่านจะนำหนังสือเรียนวิชาที่นักเรียนท่านอื่นเรียนอยู่ไปด้วย เพื่อจะได้ฟังในเวลาที่อาจารย์ สอนวิชาอื่นๆ เพราะท่านต้องการมีความรู้มากๆ ดังนั้นหลวงปู่จึงต้องแบกหนังสือไปเรียนครั้งละหลายๆ ผูกจนไหล่ลู่หลวงปู่เดินทางไปเรียนกับพระอาจารย์ตามวัดต่างๆ ด้วยความลำบาก วันหนึ่งต้องเดินทางไปเรียนหลายแห่ง ซึ่งในแต่ละวันมีกิจวัตรดังนี้ ฉันเช้าแล้วข้ามฟากไปเรียนที่วัดอรุณราชวราราม โดยลงเรือที่ท่าประตูนกยูง ไปขึ้นที่ท่าวัดอรุณฯ กลับมาฉันเพลที่วัดพระเชตุพนฯ บ่ายไปเรียนที่วัดมหาธาตุฯ เย็นไปเรียนที่วัดสุทัศน์ฯ บ้าง วัดสามปลื้มบ้าง กลางคืนเรียนที่วัดพระเชตุพนฯ แต่ท่านไม่ได้ไปเรียนต่อเนื่องกัน ทุกวัน มีเว้นบ้าง สลับกันไป

      แม้หลวงปู่จะมีความลำบากในเรื่องการเรียนเพียงใดก็ตาม แต่ท่านก็พยายามไม่ขาดเรียน ท่านเรียนด้วยความลำบากอย่างนี้อยู่หลายปี จนมีแม่ค้าชื่อนวม บ้านอยู่ตลาดท่าเตียน เกิดความเลื่อมใสในความเพียรของท่าน ได้ปวารณาเรื่องภัตตาหารกับท่าน จัดอาหารปินโตถวายเพลเป็นประจำทุกวัน ต่อมาหลังจากที่หลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญแล้ว ได้ทราบข่าวว่า แม่ค้านวมถึงแก่ทุพพลภาพเพราะความชรา ไม่มีใครดูแล หลวงปู่จึงรับอุปการะโดยนำไปอยู่ที่วัดปากน้ำ เมื่อสิ้นชีวิต ท่านได้จัดการฌาปนกิจให้ ท่านพูดว่า "เป็นมหากุศล เมื่อเราอดอยาก อุบาสิกานวมได้อุปการะเรา ครั้นอุบาสิกา นวมยากจน เราได้ช่วยอุปถัมภ์ ที่สุดต่อที่สุดมาพบกัน จึงเป็นมหากุศลอันยากที่จะหาได้ง่ายๆ"ต่อมาข้าหลวงในวังกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม (วังพระองค์เพ็ญ) เกิดความเลื่อมใสในหลวงปู่ได้จัดภัตตาหารมาถวายทุกวัน ท่านจึงมีกำลังสนับสนุนเรื่องอาหารอย่างเพียงพอ จึงตั้งโรงเรียน สอนบาลีขึ้นที่วัดพระเชตุพนฯ โดยใช้กุฏิของท่านเป็นโรงเรียน โรงเรียนนี้มีพระภิกษุสามเณรมาเรียน 10 กว่ารูป( สมัยนั้นโรงเรียนในวัดพระเชตุพนฯ มีหลายแห่ง ใครมีความสามารถก็ตั้งได้) โรงเรียนของหลวงปู่

ได้พระมหาปี วสุตตมะ เปรียญธรรม 5 ประโยค เป็นครู สอน ท่านหานิตยภัตถวายเอง และท่านเองก็เรียนในโรงเรียนนี้ด้วย โดยเริ่มเรียนธรรมบทใหม่ เพื่อทบทวนความรู้เดิม ต่อมาการศึกษาทางบาลีเปลี่ยนแปลงไป คณะสงฆ์จัดหลักสูตรการศึกษาใหม่ โดยจัดให้มีการเรียนไวยากรณ์ ทางวัดจึงได้รวมการศึกษาเป็นกลุ่มเดียว โรงเรียนที่ท่านตั้งขึ้นจึงถูกยกเลิกไป

 บวชแล้วขวนขวายศึกษาธรรมะ

      นับจากวันนั้น คำอธิษฐานยังคงฝังแน่นอยู่ในใจของหลวงปู่ตลอดมา ความคิดที่จะบวชตลอดชีวิตยังชัดเจนอยู่ในใจ แต่ด้วยภาระที่ต้องเลี้ยงโยมแม่ ทำให้ยังไม่สามารถบวชได้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงตั้งใจทำมาหากิน และขยันเก็บเงินเก็บทองจนมีเงินเก็บได้มากพอสมควร ที่ทำให้โยมแม่และพี่น้อง มีเงินทองใช้จ่ายอย่างสะดวก สบายไม่ลำบากในอนาคต เมื่อหมดภาระเรื่องเงินทองแล้ว จึงตัดสินใจบวชทันทีในขณะนั้นอายุย่าง 22 ปี พอถึงเดือน 8 ข้างขึ้น หลังจากขนข้าวลงเรือจนเต็มลำแล้ว ก็ให้ลูกน้องนำข้าวไปขายให้โรง สีในกรุงเทพฯส่วนตัวท่านก็เข้าวัดเป็นนาค เพื่อเตรียมตัวบวชที่วัด โดยมีพระปลัดยังเจ้าอาวาสวัด สองพี่น้องในขณะนั้น เป็นผู้ สอนท่องคำขออุปสมบท ซักซ้อมพิธีอุปสมบทและ สอนพระวินัยให้เมื่อถึงต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2449



ภาพที่ 9 1.พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร 9.2.พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) 9.3 พระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ

ท่านได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอ สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับฉายาว่า จนฺท โร โดยมีพระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่งอินทสุวัณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีความทรงจำดี จึงสามารถท่องบทสวดมนต์และพระปาฏิโมกข์ได้หมดสำหรับการศึกษาในช่วงพรรษาแรก หลวงปู่ได้เรียนคันถธุระและวิปัสนาธุระควบคู่กันไป เมื่อเรียนด้านคันถธุระไปได้ระยะหนึ่ง หลวงปู่ก็ สงสัยว่า คำว่า "อวิชฺชาปจฺจยา" แปลว่าอะไร ด้วยความ สงสัยที่ผุดขึ้นมาในใจเหมือนกับปริศนาที่ต้องตอบให้ได้ ท่านมีความรู้สึกว่า คำๆ นี้มีความสำคัญต่อตัวท่าน จึงไปถามพระภิกษุ ที่อยู่ในวัด เมื่อถามใครก็ไม่มีใครรู้คำแปล มีพระรูปหนึ่งบอกว่า "เขาไม่แปลกันหรอกคุณ อยากรู้ก็ต้องไปเรียนที่บางกอก (กรุงเทพฯ)" เมื่อได้ฟังดังนั้น ทำให้ท่านเกิดแรงบันดาลใจที่จะไปเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะต้องการจะรู้คำแปลให้ได้

     

ภาพที่ 10 อวิชชา

 เมื่อบวชได้ 7 เดือนเศษ จึงไปหาโยมแม่ และขอไปเรียนที่กรุงเทพฯ แม้ว่าโยมแม่จะไม่เต็มใจให้ไปแต่ก็จำยอม ท่านจึงขอปัจจัย 1 ชั่ง เพื่อเป็นค่าเดินทาง โดยตั้งใจว่าการขอครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อลาโยมแม่แล้ว จึงเดินทางมาจำพรรษาที่วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียน และได้พาน้องชายคนเล็ก มาอยู่ด้วย โดยให้มาอุปัฏฐากและให้เรียนมูลกัจจายน์ (คัมภีร์บาลีไวยากรณ์) ไปด้วยช่วงที่มาถึงวัดพระเชตุพนฯ ใหม่ๆ ในขณะนั้นท่านยังไม่มีหนังสือ ที่จะใช้เรียน จึงให้โยมพี่สาวซื้อถวายขณะเรียนหนังสืออยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ หลวงปู่ลำบากในเรื่องอาหารบิณฑบาตมาก บางวันบิณฑบาตได้ไม่พอฉัน บางวันได้เพียง ส้มผลเดียว บางวันไม่ได้เลย มีอยู่วันหนึ่ง หลวงปู่ออกบิณฑบาตไม่ได้อะไรเลยวันต่อมาก็ไม่ได้อีก ท่านคิดว่า "เราเป็นผู้มีศีล จะอดตายหรือ ถ้าเป็นจริง ก็ยอมตาย บิณฑบาตไม่ได้ข้าว ก็ไม่ฉันของอื่น ยอมอด เพราะคิดว่า ถ้าเราตายลงไป ภิกษุหมดทั้งนคร ต้องมีอาหารบิณฑบาตพอหมดทุกๆ รูป เพราะคนลือ ก็จะพากัน สงสารพระภิกษุไปตามๆ กัน" จึงไม่ยอมดิ้นรนแสวงหาอาหารด้วยวิธีการอื่น

      ในวันที่สาม ท่านออกบิณฑบาตอยู่จนสาย ได้ข้าวเพียง 1 ทัพพี กับกล้วยน้ำว้า 1 ผล เมื่อกลับมาถึงกุฏิ ท่านรู้สึกอ่อนเพลียมาก เพราะไม่ได้ฉันมา 2 วันแล้ว หลังจากพิจารณาปัจจเวกขณ์เสร็จแล้วจึงเริ่มฉัน เมื่อฉันเข้าไปได้หนึ่งคำ ก็เหลือบไปเห็นสุนัขตัวผอมเดินโซเซมา เพราะอดอาหารมาหลายวันแม้ท่านกำลังหิวจัด เพราะอดอาหารมาหลายวัน ก็ยังมีความเมตตา สงสารสุนัขตัวนั้น จึงปันข้าวที่เหลืออีกคำหนึ่งกับกล้วยอีกครึ่งผลให้สุนัขตัวนั้น พร้อมทั้งอธิษฐานจิตว่า "ขึ้นชื่อว่าความอดอยากเช่นนี้ ขออย่าให้มีอีกเลย" นับจากวันนั้น ด้วยอำนาจบุญที่ได้สร้างมหาทานบารมีในครั้งนั้น เมื่อไปบิณฑบาตที่ไหน ท่านก็ได้อาหารมากมายจนฉันไม่หมด และยังได้แบ่งถวายให้กับพระภิกษุรูปอื่นๆ ด้วยด้วยใจที่คิดถึงผู้อื่นอยู่เสมอ ประกอบกับความลำบากในเรื่องอาหารขบฉันของหลวงปู่ในครั้งนั้นทำให้ท่านนึกถึงพระภิกษุรูปอื่นๆ กลัวว่าจะมีความลำบากในเรื่องอาหารเช่นเดียวกับท่าน จึงคิดว่า "ถ้าเรามีกำลังพอเมื่อใด จะจัดตั้งโรงครัวประกอบอาหารเลี้ยงพระภิกษุสามเณร โดยไม่ต้องให้ลำบาก เป็นการเสียเวลาในการศึกษาเล่าเรียน"เมื่อบวชได้ 4 พรรษา หลวงปู่และน้องชายจึงย้ายไปอยู่ที่วัดชัยพฤกษ์มาลาชั่วคราว คืนหนึ่งหลวงปู่ฝันว่า มีชายคนหนึ่งเอาทรายมาถวาย 1 ปุ้งกี๋ จึงเอื้อมมือไปหยิบมาหน่อยหนึ่งส่วนน้องชายรับไว้ถึง 2 กำมือ หลังจากนั้นไม่กี่วัน ท่านและน้องชายก็ป่วยเป็นไข้ทรพิษ ท่านมีอาการไม่มากส่วนน้องชายของท่านเป็นหนักมาก เมื่ออาการของท่านทุเลาลง จึงรีบพาน้องชายไปรักษาที่บ้าน สองพี่น้อง แต่อาการก็ไม่ทุเลา ต่อมาก็เสียชีวิต ขณะนั้นน้องชายของท่านอายุเพียง 18 ปี เมื่อจัดการเรื่องศพน้องชายเสร็จแล้วจึงกลับมาอยู่วัดพระเชตุพนฯ ตามเดิม

Complete and Continue