2.2. เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และการปกครอง

เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ

      แม้ว่าหลวงปู่จะรักชีวิตสันโดษ ด้วยการออกธุดงค์หา สถานที่วิเวกเพื่อปฏิบัติธรรม แต่ท่านก็ไม่เคยนิ่งดูดายต่อส่วนรวม ไม่ว่าท่านจะไปพักอยู่ที่ใด ท่านมักจะทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นในที่แห่งนั้นเสมอกอปรกับท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถในหลายๆ ด้าน จึงเป็นเหตุให้พระเถระผู้ใหญ่ในวงการคณะสงฆ์คือ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (เผื่อน ติ ทัตตเถระ) วัดพระเชตุพนฯ พระอาจารย์ของท่าน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ได้เล็งเห็นถึงคุณสมบัติที่ดีของหลวงปู่ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกเห็นว่าหลวงปู่สามารถทำประโยชน์ให้กับพระศาสนาได้อีกมาก จึงมอบหมายให้หลวงปู่ย้ายไปจำพรรษาที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เพื่อเป็นเจ้าอาวาส โดยในช่วงแรกให้รักษาการเจ้าอาวาส ไปก่อนเมื่อหลวงปู่ท่านรับคำแล้ว จึงได้แต่งตั้งให้เป็นพระครู สมุห์ฐานานุกรมของพระศากยยุติยวงศ์เมื่อถึงวันกำหนด ท่านเดินทางจากวัดพระเชตุพนฯ โดยเรือยนต์หลวงที่กรมการศาสนาจัดถวายเพื่อเป็นเกียรติแก่พระอารามหลวง มีพระเถรานุเถระจากวัพระเชตุพนฯ เดินทางมาส่ง และมีพระภิกษุติดตามท่านมาด้วย 4 รูป ทางด้านวัดปากน้ำ มีพระเถระผู้ใหญ่ในอำเภอนั้น พร้อมทั้งญาติโยมจำนวนมากมารอต้อนรับคณะของท่าน

      เมื่อมาถึงวัดปากน้ำ ท่านพบว่าวัดอยู่ใน สภาพกึ่งวัดร้าง ภายในวัดมี ภาพทรุดโทรม ใน สมัยนั้นที่นี่เป็น สวนพลู สวนหมาก สวนมะพร้าว สวนเงาะ มีศาลาที่เก่ามาก มีโรงครัวเล็กๆ กุฏิก็มีไม่กี่หลังเป็นกุฏิเล็กๆ ยกพื้น ปลูกด้วยไม้สัก พักได้รูปเดียว อยู่ตามร่อง สวน พระภิกษุที่อยู่ก่อนมีจำนวน 13 รูปมักย่อหย่อนทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ทำให้ท่านต้องพบอุปสรรคที่ไม่คาดคิดมาก่อนตั้งแต่วันแรกที่มาถึงแต่ท่านก็ไม่ได้ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้าม ท่านกลับมีความคิดที่จะฟื้นฟูวัดปากน้ำให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นอีกด้วยผลงานและคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาการค้นพบวิธีการเจริญภาวนาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายหลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไประยะหนึ่งแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลาย ได้ค่อยๆ ลดจำนวนลง ผู้เข้าถึง "ธรรมกาย" ก็ลดน้อยลงด้วยเช่นกัน เป็นเหตุให้วิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เคยดำรงอยู่ในครั้งพุทธกาลและ สืบทอดมาอีกระยะหนึ่งนั้นเลือนหายไปในที่สุด ความรู้ที่มีเหลืออยู่ในคัมภีร์ไม่มากพอที่คนรุ่นหลังจะเข้าใจได้ ทำให้เกิดการตีความขึ้นในภายหลังว่า"ธรรมกาย"เป็นเพียงชื่อหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

จนกระทั่งพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี ( สด จนฺท โร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญในขณะที่เป็นพระภิกษุผู้มุ่งมั่นในการประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง ได้ศึกษาค้นคว้าคัมภีร์ต่างๆและปฏิบัติธรรมเจริญภาวนาควบคู่ไปด้วยมิได้ขาด เมื่อศึกษาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจนแตกฉานดีแล้วก็ทุ่มเทฝึกเจริญภาวนาศึกษาวิปัสนาธุระอย่างจริงจัง ด้วยการเจริญกรรมฐานทั้ง 40 วิธีที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค และยังได้ฝึกปฏิบัติกับพระอาจารย์ที่เป็นที่ยอมรับใน สมัยนั้นหลายต่อหลายรูป จนเป็นที่ยอมรับของครูบาอาจารย์ ถึงกับจะให้อยู่ช่วยกันอบรม แนะนำศิษยานุศิษย์ในสำนักของท่านด้วยกันก็มีแต่หลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านเห็นว่า ที่ได้ศึกษามานั้นยังไม่ถึงที่สุดแห่งธรรมอันลึกซึ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าภายหลังท่านก็ฝึกปฏิบัติด้วยตัวของท่านเองอย่างไม่ลดละโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ในที่สุดก็บรรลุถึงพระธรรมกาย และค้นพบวิชชาธรรมกาย อันเป็นกายตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากนั้นท่านได้นำความรู้ที่ท่านเข้าถึงและค้นพบมาเผยแผ่แก่ประชาชน ทำให้คำว่า "ธรรมกาย" เริ่มเป็น ที่รู้จักกันขึ้นมาอีกครั้ง

      หลวงปู่วัดปากน้ำได้อธิบายไว้ว่า ธรรมกาย คือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรม ที่มีอยู่แล้วในศูนย์กลางกายของมนุษย์ทุกคน มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูป ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ เกตุเป็นรูปดอกบัวตูม ใสว่างเป็นแก้วตลอดทั้งองค์ และเมื่อท่านตรวจ อบความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติกับพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ ก็พบว่าไม่คลาดเคลื่อน (เช่น คำว่า "เห็น" ก็สามารถ "เห็น"ได้จริงๆ หรือพระรัตนตรัยที่แปลว่า แก้วสามประการ ก็สามารถเห็นได้ว่าใสเป็นแก้วจริงๆ ทั้งพระพุทธ

พระธรรม และพระสงฆ์ โดยไม่จำเป็นต้องตีความ)หลวงปู่วัดปากน้ำได้เผยแผ่ความรู้ที่ท่านค้นพบให้แก่ศิษย์ทั้งหลาย และมีผู้เข้าถึง "ธรรมกาย"เป็นจำนวนมาก เป็นประจักษ์พยานยืนยันได้ว่า "ธรรมกาย" นี้คือของจริง ท่านกล่าวว่า คำว่า "ธรรมกาย"

นั้น ท่านมิได้เป็นผู้บัญญัติขึ้นเอง ในพระไตรปิฎกก็มีคำนี้ และในอดีตก็เคยมีการ อนวิธีปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย ปรากฏอยู่ใน "หนังสือพุทธรังษีธฤษดีญาณ ว่าด้วย มถและวิปั นากัมมัฏฐาน 4 ยุค"หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงวิธีปฏิบัติ มถะและวิปั นาแบบโบราณ 4 ยุค คือ ยุคกรุงศรีสัตตนาคณหุตฯ (เวียงจันทร์) กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ มีอยู่วิธีหนึ่งชื่อว่า "แบบขึ้นกัมมัฏฐานห้องพระพุทธคุณพระธรรมคุณ พระสังฆคุณ" ซึ่งได้ต้นฉบับมาจากวัดประดู่โรงธรรม กรุงศรีอยุธยา มีบันทึกว่าเป็นแบบที่สืบเนื่องมาจากท่านทิศาปาโมกขาจารย์ 56 องค์ แต่ครั้งโบราณฯ ได้ประชุมกันจารึกไว้ เมื่อประมาณพุทธ ศักราช 572 วิธีปฏิบัติวิธีนี้ เป็นหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งที่ยืนยันได้ว่า ครั้งหนึ่งเคยมีการกล่าวถึง "ธรรมกาย"ในวิธีการทำสมาธิ

      ส่วน "วิชชาธรรมกาย" ที่หลวงปู่วัดปากน้ำค้นพบนั้น เกิดขึ้นหลังจากที่ท่านปฏิบัติธรรมจน เข้าถึงพระธรรมกายแล้ว จากนั้นอาศัยธรรมจักขุของพระธรรมกายที่ท่านเข้าถึงศึกษาค้นคว้าความรู้ใน วิชชาธรรมกายต่อไป วิชชาธรรมกายอันเป็นแก่นแท้ดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา ที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่าน ค้นพบนี้ ได้เลือนหายไปเมื่อประมาณ พ.ศ. 500 คือหายไปนานเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว ก่อนหน้าที่หลวงปู่วัดปากน้ำจะค้นพบวิชชาธรรมกาย เรื่องราวของธรรมกายที่ยังคงมีปรากฏอยู่ ในที่ต่างๆ นั้นยังไม่มีผู้ค้นพบ หรือที่พบแล้วก็ไม่เข้าใจว่า "ธรรมกาย" คืออะไร จะเข้าถึงได้หรือไม่ อย่างไร แต่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านเชื่อมั่นและยืนยันว่าวิชชาธรรมกาย ที่ท่านค้นพบเป็นของจริงมาโดยตลอด อีกทั้งท่านยังได้ตรวจ สอบความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติธรรมของท่านกับพระไตรปิฎกไว้แล้ว การปฏิบัติธรรมจนเข้าถึง "ธรรมกาย" และการค้นพบวิชชาธรรมกายของหลวงปู่วัดปากน้ำถือ เป็นพยานแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นการรื้อฟื้นคำ สอนดั้งเดิมของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าในด้านการปฏิบัติให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและยังเป็นการจุดประกายให้พระพุทธศาสนา สว่างไสวโชติช่วงขึ้นอีกครั้งหนึ่งในช่วงกึ่งพุทธกาล

การปกครอง

      เมื่อหลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาส วัดปากน้ำใหม่ๆ ท่านกล่าวว่า "สร้างคนนั้นสร้างยากเรื่องเสนา สนะไม่ยาก ใครมีเงินก็สร้างได้ แต่สิ่งสำคัญต้องสร้างคนก่อน" ดังนั้นในเบื้องต้นท่านมุ่งไปที่ความประพฤติของพระภิกษุสามเณรในวัด ท่านต้องการให้ทุกรูปมีข้อวัตรปฏิบัติที่ดี ประพฤติตนตามพระธรรมวินัย จึงเรียกประชุมพระภิกษุสามเณรที่อยู่มาก่อนทั้งหมด และให้โอวาทว่า"เจ้าคณะอำเภอส่งมาเพื่อให้รักษาวัดและปกครองตักเตือนว่ากล่าวผู้อยู่วัดโดยพระธรรมวินัยอันจะทำให้วัดเจริญได้ต้องอาศัยความพร้อมเพรียง และเห็นอกเห็นใจกัน จึงจะทำความเจริญได้ถิ่นนี้ไม่คุ้นเคยกับใครเลย มาอยู่นี้เท่ากับถูกปล่อยเกาะ โดยไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปพึ่งใคร เพราะต่างไม่รู้จักกันแต่ก็มั่นใจว่า ธรรมที่พวกเราปฏิบัติตรงต่อพระพุทธโอวาท จะประกาศความราบรื่นและรุ่งเรืองให้แก่ผู้มีความประพฤติเป็นสัมมาปฏิบัติ ธรรมวินัยเหล่านั้นจะกำจัดอธรรมให้สูญสิ้นไปพวกเราบวชกันมาคนละมากๆ ปี ปฏิบัติธรรมเข้าขั้นไหน มีพระปาฏิโมกข์เรียบร้อยอย่างไรทุกคนทราบความจริงของตนได้ ถ้าเป็นไปตามแนวพระธรรมวินัยก็น่า รรเสริญ ถ้าผิดพระธรรมวินัยก็น่าเศร้าใจ เพราะตนเองก็ติเตียนตนเองได้เคยพบมาบ้างแม้บวชตั้งนานนับเป็นสิบๆ ปี ก็ไม่มีภูมิจะ อนผู้อื่น จะเป็นที่พึ่งของศาสนาก็ไม่ได้ ได้แต่อาศัยศาสนาอย่างเดียว ไม่ทำประโยชน์ให้เกิดแก่ตนและเกิดแก่ท่าน ซ้ำร้ายยังทำให้พระศาสนาเศร้าหมองอีกด้วย บวชอยู่อย่างนี้เหมือนตัวเสฉวน จะได้ประโยชน์อะไรในการบวชในการอยู่วัดฉันมาอยู่วัดปากน้ำ จะพยายามตั้งใจประพฤติให้เป็นไปตามแนวพระธรรมวินัย พวกพระเก่าๆจะร่วมก็ได้ หรือว่าจะไม่ร่วมด้วยก็แล้วแต่อัธยาศัย ฉันจะไม่รบกวนด้วยอาการใดๆ เพราะถือว่าทุกคนรู้สึกผิดชอบด้วยตนเองดีแล้ว ถ้าไม่ร่วมใจก็ขออย่าได้ขัดขวาง ฉันก็จะไม่ขัดขวางผู้ไม่ร่วมมือเหมือนกันต่างคนต่างอยู่ แต่ต้องช่วยกันรักษาระเบียบของวัด คนจะเข้าจะออกต้องบอกให้รู้ ที่แล้วมาไม่เกี่ยวข้องเพราะยังไม่อยู่ในหน้าที่ จะพยายามรักษาเมื่ออยู่ในหน้าที่"ต่อมาหลวงปู่ท่านต้องปกครองดูแลพระภิกษุสามเณร อุบา ก อุบาสิกา และศิษย์วัดจำนวนถึง1,200 กว่าคน ซึ่งมิใช่เป็นของง่าย โดยเฉพาะจะปกครองให้ทุกคนมีความสุข พร้อมเพรียงกัน สมัคร สมานสามัคคีกัน แต่หลวงปู่ท่านเป็นนักบริหารอย่างแท้จริง ท่านได้แบ่งงานให้มีผู้รับผิดชอบเป็นส่วนๆ ได้แก่

1. ด้านการศึกษาปริยัติธรรม

2. ด้านพระภิกษุสามเณร และศิษย์วัด

3. ด้านแม่ชี

      งานที่สำคัญหลวงปู่จะดูแลด้วยตนเอง บางงานสามารถแต่งตั้งผู้เป็นหูเป็นตาแทนได้ ท่านก็ไว้วางใจให้มีผู้ดูแล และให้รายงานให้ท่านทราบ หลวงปู่ปกครองวัดแบบพ่อปกครองลูก ท่านยึดหลัก "พรหมวิหาร 4" เป็นข้อปฏิบัติ เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ศิษยานุศิษย์ทุกคน

Complete and Continue