3.1 ผลงานและคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา

การศึกษาพระปริยัติธรรม

      หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่รักและเห็นความสำคัญของการศึกษา สมัยที่ท่านอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯท่านเคยจัดตั้งโรงเรียนขึ้นโดยใช้กุฏิของท่านเป็นที่ สอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณร ท่านพูดว่า"การศึกษานั้นสามารถเปลี่ยนชีวิตผู้ศึกษาให้สูงกว่าพื้นเดิม คนที่มีการศึกษาดี จะได้อะไรก็ดีกว่าประณีตกว่าผู้อื่น คนมีวิชาเท่ากับได้สมบัติจักรพรรดิกินใช้ไม่หมด"ใน สมัยที่หลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาส วัดปากน้ำใหม่ๆ มักจะมีเด็กๆ ลูกชาวบ้านเข้ามาก่อความเดือดร้อนในวัดปากน้ำเสมอ ด้วยเหตุที่เด็กเหล่านั้นไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน จึงมาเที่ยวเล่นเกเร ยิงนกตกปลาภายในบริเวณวัด หลวงปู่ท่านเป็นห่วงอนาคตของเด็กๆ มาก เกรงว่าถ้าไม่ได้รับการศึกษาแล้วจะกลายเป็นเด็กเกเรและเป็นอันธพาลในที่สุด ท่านจึงก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในวัด เพื่อให้เด็กๆ ได้ศึกษาเล่าเรียนและเป็นที่อบรมสั่ง สอนให้เด็กมีความประพฤติที่ดีขึ้นโรงเรียนแห่งนี้หลวงปู่จัดหาทุนสร้างเองทั้งหมด ซึ่งปรากฏว่ามีผู้บริจาคทุนเพื่อสร้างโรงเรียนเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรี (กิมไล้สุจริตกุล) หลวงฤทธิ์ณรงค์รอญ ธนบดีในย่านคลองบางหลวงบ้านอยู่ข้างวัดสังกระจาย นายต่าง บุณยมานพ ธนบดีตลาดพลู พระภิรมย์ราชาวาจรงค์

บ้านอยู่ตรงข้ามหน้าวัด และผู้มีจิตศรัทธาอื่นๆ อีกหลายคน หลวงปู่ท่านไม่เก็บค่าเล่าเรียน ชาวบ้านรอบวัดจึงพาลูกหลานมา สมัครเข้าเรียน เริ่มแรกมีจำนวนนักเรียนเพียงหลักสิบ เมื่อเวลาผ่านไปจำนวนนักเรียนก็เพิ่มขึ้นเป็นหลักร้อย จนถึงสามร้อยกว่าคน เมื่อลูกหลานของเขามีการศึกษาและมีความประพฤติดีขึ้น ทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นเกิดความศรัทธาเลื่อมใสและซาบซึ้งในพระคุณของหลวงปู่ ความสัมพันธ์กับชาวบ้านรอบวัดจึงดีขึ้นตามลำดับต่อมาหลวงปู่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาส วัดขุนจันทร์ ท่านจึงย้ายโรงเรียนไปอยู่ที่นั่น และเมื่อรัฐบาลประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา มีการจัดตั้งโรงเรียนเพิ่มขึ้นและกระจายอย่างทั่วถึง หลวงปู่จึงมอบงานด้านนี้ให้ทางรัฐบาลดำเนินต่อไปท่านพยายามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม เพราะท่านมุ่งที่จะพัฒนาให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้ ท่านไม่ยอมให้พระภิกษุสามเณรในวัดอยู่ว่างๆ ทุกรูปต้องศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อรู้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างละเอียด จะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และสั่งสอนญาติโยมได้สำหรับหลวงปู่แล้วนอกจากจะศึกษาพระปริยัติธรรม ยังไม่เพียงพอ พระภิกษุสามเณรทุกรูปต้องปฏิบัติธรรมควบคู่ไปด้วย ดังคำที่ว่า "ปริยัติเป็นยาทา วิปัสนาเป็นยากิน"ในปี พ.ศ. 2490 วัดปากน้ำได้รับการยกฐานะให้เป็นสำนักเรียนด้านปริยัติ มีพระครูพิพัน์ธรรมคณี เป็นอาจารย์ใหญ่ มีการ สอนภาษาบาลี นักธรรมศึกษา และสามัญศึกษา แผนกภาษาบาลีนั้นทำการ สอนตั้งแต่ชั้นไวยากรณ์ถึงเปรียญธรรม 6 ประโยคที่สูงกว่านี้ยังไม่สามารถเปิด สอนได้ เพราะขาดบุคลากร อาคารเรียนใน สมัยนั้นเป็นอาคารเรือนไม้ชั่วคราว และไม่เพียงพอต่อจำนวนพระภิกษุสามเณรที่

เข้าเรียน เพราะขณะนั้นวัดปากน้ำมีพระสงฆ์จำพรรษาถึง 600 รูปเศษ และยังมีพระภิกษุสามเณรจากวัดใกล้เคียงมาศึกษาด้วยต่อมาหลวงปู่มีดำริที่จะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ขึ้นใหม่ ให้หลังใหญ่และทัน สมัยขึ้นเพียงพอที่จะรองรับพระภิกษุสามเณรเข้าศึกษาได้มากๆ โรงเรียนพระปริยัติธรรมที่หลวงปู่ดำริสร้างขึ้นนี้ ท่านตั้งใจจะสร้างให้เป็นอาคารถาวร โดยมีโครงสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้น ชั้น 1และ 2สำหรับเรียนพระปริยัติส่วนชั้น 3สำหรับนั่งเจริญภาวนา อาคารเรียนหลังนี้สามารถรองรับนักเรียนได้ถึง 1,000 รูป ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จสามารถรองรับพระภิกษุสามเณรที่มาเรียนได้ทั้งหมดอย่างแน่นอนหลวงปู่ได้เชิญ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูล สงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีใน สมัยนั้น และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูล สงคราม มาเป็นผู้วางศิลาฤกษ์ ในปี พ.ศ. 2493 และเริ่มก่อสร้างในปีเดียวกันนี้ โรงเรียนสร้างเสร็จและเปิดทำการ สอนเมื่อปี พ.ศ. 2497 หลวงปู่ได้ตั้งชื่ออาคารหลังนี้ว่าโรงเรียนภาวนานุสนธิ์ ใน สมัยนั้นนับว่าเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ใหญ่ที่สุด และมีอุปกรณ์การศึกษาครบครันต่อมาท่านมีโครงการจะฉลองโรงเรียนในปี พ.ศ. 2500 โดยจะนิมนต์พระภิกษุ 2,500 รูป

มาเจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหาร รวมทั้งเครื่อง มณบริขาร แต่เนื่องจากท่านอาพาธในปีพ.ศ. 2499 โครงการฉลองโรงเรียนจึงต้องระงับไปมีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ในช่วงแรกๆ ที่หลวงปู่เริ่มดำเนินการก่อสร้าง ศิษยานุศิษย์ของท่าน

ต่างพากันหนักใจแทน เพราะในขณะนั้นไม่มีทุนค่าก่อสร้างเลย วันหนึ่งพระครูวิเชียรธรรมโกวิท2 และพระครูปรีชายัติกิจ3 พร้อมด้วยพระภิกษุอีก 8 รูป เข้าพบหลวงปู่เพื่อกราบเรียนเรื่องการหาเงินสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม เนื่องจากเห็นว่าท่านได้สั่งซื้อเสาเข็มเป็นจำนวนมาก เกรงว่าจะไม่มีเงินค่าก่อสร้าง ทุกรูปจึงเสนอแผนการหาทุนว่า จะออกไปแสดงพระธรรมเทศนาตามวัดต่างๆ ในต่างจังหวัดที่มีลูกศิษย์หลวงปู่อยู่มากๆ โดยจะจัดทำซองเป็นชุดๆ เพื่อใส่ปัจจัยที่ได้จากการทำบุญติดกัณฑ์เทศน์และจะนำซองเหล่านั้นมาให้ไวยาวัจกรเปิดนับเงินกันที่วัดปากน้ำหลวงปู่นั่งฟังโครงการของพระภิกษุเหล่านั้นจนจบโดยไม่คัดค้านอะไร แล้วก็กล่าวขอบใจ ในความมีน้ำใจของทุกรูป จากนั้นท่านบอกว่า "มีหน้าที่เรียนก็เรียนไป ให้ตั้งใจเรียนให้ได้ประโยค 9 จะมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วประเทศทีเดียว" และยังเสริมอีกว่า "ข้าจะอยู่ในวัดเฉยๆ อย่างนี้แหละ แล้วจะ

หาเงินมาสร้างโรงเรียนเองสร้างได้สิน่า เลี้ยงพระยังเลี้ยงได้ แล้วสร้างโรงเรียนทำไมจะสร้างไม่ได้ เรื่องจะไปเทศน์หาเงินน่ะรึ เทศน์จนตายก็ยังไม่ได้เงินถึงล้านหรอก"แสดงให้เห็นว่าหลวงปู่ท่านไม่ได้หนักใจในการก่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมหลังนี้เลย นอกจากท่านไม่ขวนขวายหาเงินแล้ว ท่านยังอยู่แต่ในวัดปฏิบัติกิจต่างๆ ตามปกติ แต่ท่านก็สามารถหาทุนจำนวนมหาศาลมาได้ด้วยความอัศจรรย์การศึกษาพระปริยัติธรรมของวัดปากน้ำเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ มีพระภิกษุสำเร็จการศึกษา

ขั้นสูงสุดของการคณะสงฆ์ คือ เปรียญธรรม 9 ประโยค เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันสำนักเรียนวัดปากน้ำเป็นสำนักเรียนใหญ่แห่งหนึ่งของการคณะสงฆ์ สถิติของผู้เรียนและผู้ สอบผ่าน ทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลีอยู่ในเกณฑ์ดีมาโดยตลอด ดังนั้นทางคณะสงฆ์จึงได้ยกย่องสำนักเรียนวัดปากน้ำ โดยมอบกิตติบัตร-พัดรอง ประกาศเกียรติคุณเป็นสำนักเรียนตัวอย่าง ในปี พ.ศ. 2526

การเผยแผ่

      หลวงปู่วัดปากน้ำท่านมีความคิดที่จะเผยแผ่ธรรมะตั้งแต่เพิ่งจะบรรลุธรรมใหม่ๆ เรื่อยมาจนท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดปากน้ำ ด้วยมหากรุณาที่มีอยู่ในใจของท่าน ที่เห็นชาวโลกยังมีความทุกข์อยู่แม้ว่าจะต้องพบอุปสรรคนานัปการ ท่านก็ยังเดินหน้าเรื่อยไป ชนิดที่เรียกว่า ถอยหลังเป็นไม่มี จะเห็นได้จากจริยาวัตรของท่าน คือ

  • 1. คุมพระภิกษุสามเณรลงทำวัตรไหว้พระในพระอุโบสถ และให้โอวาทสั่งสอน ทุกวันๆ ละ 2 เวลา คือ เช้าและเย็น
  • 2. วันพระและวันอาทิตย์ลงแสดงธรรมในพระอุโบสถเองเป็นนิจ
  • 3. ทำกิจภาวนาอยู่ใน สถานที่ซึ่งจัดไว้เฉพาะเป็นกิจวัตรประจำวัน และควบคุมพระภิกษุให้ไป
  • นั่งภาวนารวมอยู่กับท่าน ทั้งกลางวันและกลางคืนส่วนพวกอุบาสิกาก็ให้ทำกิจภาวนาเช่นกัน
  • 4. ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 14.00 น. สอนการนั่งสมาธิแก่พระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา
  • 5. จัดให้มีครู สอนพระปริยัติธรรม

      หลวงปู่ท่านปักหลัก สอนธรรมะอยู่ในวัด ตั้งแต่หลังจากเริ่มทำวิชชาอย่างจริงจังแล้ว ท่านแทบจะไม่ได้ออกไปไหนเลย ผลแห่งการอบรม เผยแผ่ธรรมปฏิบัติวิชชาธรรมกายตั้งแต่ต้นมา ทำให้มีศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนกว่าแสนคน ในจำนวนนี้ ประมาณหมื่นกว่าคนที่ได้บรรลุธรรมกาย และหลวงปู่ท่านยังได้ส่งพระภิกษุและอุบาสิกา ซึ่งได้ธรรมกายแล้วนั้น ไปเผยแผ่เกือบทุกจังหวัดในประเทศไทยพระภิกษุสามเณรที่หลวงปู่วัดปากน้ำส่งไปเผยแผ่วิชชาธรรมกายมีอยู่หลายรูป เช่น พระภาวนาโกศลเถร (พระวีระ) เป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายธรรมกาย หลวงตาอิน พระมหาดร.ทวนชัย ใน สมัยที่เป็นสามเณรอยู่วัดปากน้ำ ก็เคยถูกส่งไป สอนวิชชาธรรมกายในต่างจังหวัด โดยเฉพาะที่สุพรรณบุรีพระภิกษุที่หลวงปู่ส่งออกไปเผยแผ่ใน สมัยนั้น หลายรูปสามารถทำให้ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัยได้เป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถสร้างวัดในพื้นที่นั้นๆ ได้หลายวัด และมีความเจริญรุ่งเรือง สืบมา เช่น วัดเขาพระ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี วัดเกษมจิตตาราม จังหวัดอุตรดิตถ์วัดปากน้ำเทพาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา เป็นต้นส่วนทางด้านแม่ชี หลวงปู่ท่านส่งแม่ชีทองสุกสำแดงปัน ไป อนธรรมะที่เชียงใหม่ และไปอีกหลายที่ แม่ชีเธียร ก็ไปสายเดียวกับแม่ชีทองสุก ต่อมาได้มาประจำฝังพระนคร แม่ชีญาณี อนธรรมะให้กับคนที่บ้านอยู่ใกล้ที่ทำวิชชา แม่ชีจินตนา หลวงปู่ส่งไปเป็นอาจารย์ สอนที่สุพรรณบุรี แม่ชีทวีพร ไป สอนที่ฉะเชิงเทรา เป็นต้นพระภิกษุสามเณร แม่ชีและอุบาสิกาที่ได้รับการยกย่องอยู่ในขั้นอาจารย์ อนวิปั นาภายใน วัดปากน้ำ ท่านจะใช้ให้ช่วยค้นคว้าวิชชาธรรมกายอย่างคืบหน้าทุกวัน เป็นเวลายาวนานถึง 28 ปีเศษท่านให้ทำการค้นคว้าอยู่ตลอดเวลา ท่านเคยให้โอวาทแก่พระภิกษุสามเณรในพระอุโบสถว่า "พวกเธอพยายามให้ได้ธรรมกายเสียก่อน แล้วฉันจะ สอนต่อไปให้อีก 20 ปีก็ยังไม่หมด"

การสาธารณูปการ

      แม้ว่างานสร้างคนและงานภาวนาจะเป็นงานหลักของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำแต่ท่านก็มิได้ละเลยงานก่อสร้างเสนา สนะและถาวรวัตถุไว้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศา นา จะนำมากล่าวโดยสังเขป ดังนี้

1. กุฏิ 2 แถว 2 ชั้น ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน

2. โรงเรียนพระปริยัติธรรมภาวนานุ นธิ์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้น ยาว 59 เมตร

กว้าง 10 เมตรครึ่ง พร้อมอุปกรณ์การศึกษาเพื่อรองรับการศึกษาพระปริยัติธรรมสิ้นเงินค่าก่อสร้าง

2,598,110.39 บาท

3. ศาลาโรงฉัน รองรับพระภิกษุสามเณรได้ประมาณ 500 รูป เป็นโรงไม้มุงสังกะสีพื้นเท

ปูนซีเมนต์ ภายในอาคารมีอา นสงฆ์ยกพื้น มีช่องเดินได้ในระหว่าง รวมค่าก่อสร้างประมาณ 400,000 บาท

4. กุฏิ มงคลจันทสร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น พื้นฝ้าเพดานเป็นไม้สัก ทาสีและขัด

ชะแล็ก มีห้องน้ำ ห้อง ส้วม และไฟฟ้า เป็นกุฏิที่ทัน มัยในยุคนั้น ราคาค่าก่อสร้างประมาณ 800,000 บาท

5. กุฏิ บวรเทพมุนี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก ราคาค่า

ก่อสร้าง 327,843.30 บาท

6. เสนา สนะหลังเล็กๆ ซึ่งเป็นที่สัปปายะต่อผู้ใคร่ศึกษาและปฏิบัติธรรม

7. เสนา สนะอื่นๆ ที่ยังปรากฏเป็นความเจริญรุ่งเรืองอยู่ ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนถึงปัจจุบัน

ตั้งโรงครัว

      ตั้งแต่หลวงปู่มาอยู่ที่วัดปากน้ำใหม่ๆ ท่านก็ตั้งโรงครัวขึ้น เนื่องจากมีพระภิกษุสามเณรมากขึ้น และท่านไม่ต้องการให้พระภิกษุสามเณรลำบาก หรือมีความกังวลในเรื่องภัตตาหาร เพื่อจะได้มีเวลาและกำลังในการศึกษาพระปริยัติธรรมและการปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่ ท่านบอกว่าให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ไม่ต้องห่วงเรื่องอาหาร ท่านเริ่มเลี้ยงพระตั้งแต่มีจำนวน 20-30 รูป เรื่อยมาจนกระทั่งมีจำนวน 600 กว่ารูป ในช่วงแรกหลวงปู่ให้โยมพี่สาวนำข้าวสารมาจากบ้านที่ สองพี่น้องทุกๆ เดือน

ซึ่งต้องใช้ข้าวสารเดือนละ 15 ถังเศษ และต้องจ่ายค่าอาหารเดือนละมากกว่า 150 บาท ต่อมาก็มากขึ้นเรื่อยๆ แต่หลวงปู่ท่านก็สามารถเลี้ยงได้ทุกวันไม่ได้ขาดจนท่านมรณภาพ (หากรวมแม่ชีและทุกคนในวัดแล้ว มีทั้งหมด 1,200 ชีวิต) เพราะมหาทานบารมีของท่านที่เคยให้ทานข้าวคำหนึ่งและกล้วยครึ่งผลแก่สุนัข รวมทั้งบุญที่ท่านเลี้ยงพระภิกษุสามเณร แม่ชี อุบาสิกา และลูกศิษย์ ทำให้มีญาติโยมมาเลี้ยงพระทุกวันจนต้องจองคิวเพื่อจะมาเลี้ยงพระปัจจุบันแม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่วัดปากน้ำยังมีเจ้าภาพมาเลี้ยงพระทุกวัน เพราะท่านสั่งให้เอาร่างท่านเก็บไว้ จะเลี้ยงวัดปากน้ำได้ ทั้งที่ตอนท่านมรณภาพ วัดมีเงินเหลือ 700 บาท เพราะใช้เลี้ยงพระไปหมด ท่านเจ้าคุณราชโมลีขึ้นไปบอกที่หอของหลวงปู่ว่า หลวงปู่เงินหมดแล้วนะเหลืออยู่แค่ 700 บาทเท่านั้น พอลาจากหอไว้ศพ ก็มีรถบรรทุกข้าวสารมา 2 คัน ตั้งแต่นั้นก็มากขึ้นเรื่อยๆ ทวีมา

เรื่อยจนกระทั่งทุกวันนี้โรงครัวใน สมัยหลวงปู่วัดปากน้ำแต่เดิมเป็นเรือนไม้มุงจาก มีแม่ครัวที่เป็นแม่ชี 100 กว่าคนแม้จะมีการย้ายที่ตั้งของโรงครัวมาหลายครั้ง แต่สุดท้ายก็ย้ายกลับมาอยู่ที่เดิม ไม่มีการเคลื่อนย้ายเพราะหลวงปู่เคยบอกไว้ว่า โรงครัวต้องอยู่ตรงนี้ส่วนในการจัดภัตตาหารนั้น หลวงปู่ได้วางระเบียบแบบแผนไว้ทั้งสิ้น เช่น วงฉันทุกวงจะจัดเตรียมไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งกระโถน แก้วน้ำ กาน้ำ เป็นต้นหลวงปู่ท่านเคยเรียกแม่ชีมาบอกว่า "โต๊ะตั้งตรงนี้นะ กระโถนตั้งตรงนี้ ตั้งเป็นระยะ ผ้าจะปูตรงกลางแล้วมีแก้วน้ำ กาน้ำ แก้วน้ำนี้ต้องตวงน้ำด้วย ท่านต้องทำให้สะอาดนะ ทำไปนะกุศลใหญ่ บุญใหญ่"

สมัยนั้นยังใช้น้ำกรองตักจากแท็งก์ใหญ่ เวลาพระฉันเสียงจะเบามาก ทั้งๆ ที่พระมีจำนวนมาก เพราะท่านไม่ให้คุยกันใน สมัยหลวงปู่ แม่ชีท้วม หุตานุกรม เป็นผู้ดูแลเรื่องในครัว เวลาไปซื้อกับข้าว จะใช้เรือสำปันแจวไปโดยให้แม่ชีจินตนา โอสถ ช่วยแจวเรือไปซื้อที่วัดกลาง (วัดจันทราราม) เลยตลาดพลูไปไม่ไกล ถ้าของมากๆก็ต้องไปซื้อถึงท่าเตียน หลังจากช่วงปี พ.ศ. 2505 ถนนเข้าถึงวัดปากน้ำ จึงเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไปซื้อ ซึ่งสะดวกกว่า

เกียรติคุณและ สมณศักดิ์

      วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ในช่วงแรกอยู่ใน ภาพที่เสื่อมโทรม ทั้งในเรื่องความประพฤติของพระภิกษุสามเณรที่ย่อหย่อนในพระธรรมวินัย และขาดการศึกษาเล่าเรียน รวมถึงเสนา สนะสิ่งปลูกสร้างที่รกร้างไปด้วยพงหญ้า และชำรุดทรุดโทรมอยู่เป็นส่วนมากเมื่อหลวงปู่ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาส ก็ได้พลิกฟื้นให้วัดปากน้ำมี ภาพที่ดีงามทั้งในด้านวัตถุและบุคลากร กล่าวคือ พระภิกษุสามเณรมีการประพฤติปฏิบัติอยู่ในพระธรรมวินัย มีศีลาจารวัตรที่งดงาม ได้รับการศึกษาพระปริยัติธรรม รวมทั้งเสนา สนะสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดทรุดโทรม ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมและจัดสร้างขึ้นใหม่ให้เป็น สถานที่สัปปายะ เป็นระเบียบเรียบร้อย เหมาะ สมสำหรับเป็นที่แสวงบุญและเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยผลงานที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่พระพุทธศาสนาและวัดปากน้ำมาโดยตลอด ทำให้ท่านได้รับการประกาศเกียรติคุณและ สมณศักดิ์ ดังนี้

พ.ศ. 2464 เป็นพระครูสัญญาบัตร มีพระราชทินนามว่า พระครู สมณธรรม สมาทาน

พ.ศ. 2492 ได้รับพระราชทานเลื่อน สมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ มีพระราชทินนามว่า

พระภาวนาโกศลเถร

พ.ศ. 2494 ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ

พ.ศ. 2498 ได้รับพระราชทานเลื่อน สมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช มีพระราชทินนามว่า

พระมงคลราชมุนี

พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานเลื่อน สมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ มีพระราชทินนามว่า

พระมงคลเทพมุนี

Complete and Continue