4.1 วัตรปฏิบัติประจำของหลวงปู่

วัตรปฏิบัติและปฏิปทา

วัตรปฏิบัติ

วัตรปฏิบัติประจำของหลวงปู่

กิจวัตรประจำวัน

      ภารกิจของหลวงปู่มีมาก ท่านแทบไม่ได้พักผ่อน ตามปกติหลวงปู่ตื่นประมาณตี 3 ตี 4 ตื่นแล้วนั่งสมาธิ จากนั้นท่านจะเดินรอบวัด โดยมีลุงประยูรสุนทรา เดินตาม พอตีระฆังหกโมงเช้า เป็นสัญญาณว่าได้เวลาฉันภัตตาหารเช้า ท่านจะมาถึงโรงฉันก่อนเป็นรูปแรกเสมอ ท่านจะมานั่งรอที่วงฉัน พอท้องฟ้า สว่างพระภิกษุสามเณรก็จะทยอยกันมา ทุกรูปต้องมาฉันรวมกันที่โรงฉัน ไม่มีการนำภัตตาหารไปฉันที่กุฏิเมื่อมีเจ้าภาพมาถวายภัตตาหาร แม้เพียงคนเดียว ท่านก็จะเทศน์เรื่องเกี่ยวกับอานิสงส์การให้ทาน ท่านบอกว่าผู้บริจาคจะได้บุญมาก ช่วงสุดท้ายของการเทศน์ ท่านจะ สอนให้ทำใจหยุดนิ่ง แล้วท่านจะคำนวณบุญให้ว่าเจ้าภาพที่มาทำบุญได้บุญแค่ไหน โยมฟังแล้วก็มีทั้งเข้าใจและไม่เข้าใจ แต่ก็ปลื้มปีติทุกคน เมื่อหลวงปู่

เทศน์จบแล้ว เจ้าภาพจะถวายไตรจีวร เมื่อท่านเปลี่ยนไตรและ สรงน้ำเสร็จ เจ้าภาพจะเอาน้ำที่เหลือไปลูบหัว เพราะถือกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์      ถ้าวันไหนมีภัตตาหารมาก ท่านก็จะตักฉันอย่างละคำ ที่เหลือจะมีญาติโยมรอตักกัน ใครๆก็อยากรับประทานอาหารที่เหลือจากหลวงปู่ทั้งนั้น ภัตตาหารที่ฉันไม่หมด ท่านจะสั่งให้ไวยาวัจกรเป็นผู้รับผิดชอบ เมื่อฉันเสร็จ หลวงปู่จะเดินนำออกจากโรงฉัน มีพระภิกษุสามเณรเดินตามท่านออกมาอย่างเป็นระเบียบเพื่อไปที่โบสถ์ ท่านจะนำสวดมนต์ทำวัตรเช้า เมื่อทำวัตรเสร็จก็จะให้โอวาทแก่พระภิกษุสามเณรประมาณครึ่งชั่วโมง เมื่อให้โอวาทแล้วจะมีการนั่งภาวนาสักครู่ หลวงปู่จะให้มีการเช็คชื่อขานชื่อในโบสถ์ด้วย ใครไม่มาก็ต้องมีการลาล่วงหน้า พอถึง 8.00 น. ก็ออกจากโบสถ์ ถ้ามีแขกท่านก็รับแขก ถ้าไม่มีท่านก็เข้าที่ทำสมาธิจนถึงเวลาประมาณ 10.30 น. ถ้ามีแขกท่านก็จะออกมารับแขกถ้าไม่มีจะทำสมาธิต่อถึง 11.00 น.ฉันเพลเสร็จ ประมาณ 12.30 น. ก็จะเข้าปฏิบัติต่อ ท่านจะรับแขกเป็นเวลา ประมาณ 14.00 น.ท่านจะลงรับแขกที่ศาลา พอ 17.00 น. ท่านจะออกมาตรวจในโรงงานทำวิชชา ทุกคนที่ทำวิชชาต้องเข้าหมดทุกคน หลวงปู่จะอบรมสั่งสอน ท่านมีระเบียบมาก ใครออกมาข้างนอกให้รีบๆ ไม่ให้คุย ออกมานานไม่ได้ต้องดิ่งธรรมะ ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ให้อยู่ในวิชชาอย่างเดียว พอ 19.00 น. ท่านจะอบรมอีกครั้งหนึ่ง แต่ในสมัยที่ใช้โบสถ์เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมนั้น เวลา 19.00 น. หลวงปู่จะลงสอนสมาธิให้พระภิกษุสามเณร และญาติโยมในโบสถ์หลวงปู่จะลงเทศน์ให้พระภิกษุสามเณรในโบสถ์ทุกวันหลังทำวัตรเช้าส่วนแม่ชีท่านจะจัดเวลาอบรมให้ในวันอาทิตย์และวันพระ วันอาทิตย์ท่านจะให้รับศีล 5 วันพระจะให้รับศีล 8 วันพฤหัสบดี เวลา

14.00 น. ท่านจะลงสอนการปฏิบัติธรรมสำหรับฤดูเข้าพรรษาจะมีคนมามาก ต้องมีเทศน์ทุกวันเวลาท่านลงเทศน์ ถ้าวันไหนมีพระลงน้อย ท่านก็จะบอกว่าวันนี้พระแพ้ชี แล้วท่านก็จะไม่เทศน์ด้วยพระก็จะต้องรีบวิ่งไปตามพระมาจนเต็มโบสถ์ เวลาเทศน์ถ้าใครตะบันหมากท่านก็จะหยุดเทศน์ รอให้ตะบันเสร็จก่อน และถ้าใครทำเสียงดังรบกวน ท่านจะบอกว่า "เดี๋ยวหูหนวกนะ รบกวนคนกำลังปฏิบัติธรรม"นอกจากนี้ เวลาเทศน์ท่านรู้หมดว่าลูกศิษย์ของท่านกำลังคิดอะไรอยู่ ท่านก็จะเทศน์แทงใจไปเลยคนๆ นั้นก็จะรู้ได้ด้วยตัวเอง

 

ทำวัตรสวดมนต์

      หลวงปู่วัดปากน้ำท่านเป็นแบบอย่างในด้านการปฏิบัติกิจวัตรของสมณะได้อย่างดีเยี่ยม คือท่านทำวัตรสวดมนต์เป็นประจำมิได้ขาดตั้งแต่แรกอุปสมบท เมื่อเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำแล้ว ท่านก็นำพระภิกษุสามเณรลงทำวัตรสวดมนต์ที่อุโบสถพร้อมกันทุกวัน ทั้งเช้าและเย็น พร้อมทั้งให้โอวาทเพื่อเตือนสติ และอบรมให้ฝึกหัดขัดเกลาตนเองอยู่ในพระธรรมวินัยด้วยความบริสุทธิ์บริบูรณ์การทำวัตรสวดมนต์ถือเป็นการดำรงพระศาสนาให้ตั้งมั่นอยู่ได้นานประการหนึ่ง เพราะเป็นการรักษาพระสัทธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ให้อันตรธานไปด้วยปริยัติอันตรธาน ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา และความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของพระภิกษุสงฆ์อีกด้วยดังคำกล่าวที่ว่า "วัดใดยังมีเสียงสวดมนต์ทำวัตรอยู่มิได้ขาด วัดนั้นยังจะเจริญรุ่งเรืองเป็นที่พึ่งของชาวโลกอีกยาวนาน เพราะการสวดมนต์นั้นเป็นการทบทวนและใส่ใจให้ความสำคัญกับพุทธวจนะ บาลีพร้อมทั้งอรรถกถาในพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก บาลีนั้นยังคงอยู่เพียงใด ปริยัติก็ชื่อว่ายังบริบูรณ์อยู่เพียงนั้น"


สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์

      หลวงปู่ท่านมีความสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์เป็นท่ีสุด ท่านกล่าวว่า "ขึ้นชื่อว่าโทษแล้วเท่าปลายผม ปลายขน ไม่ให้กระเซ็นถูกทีเดียว อุปมาดุจว่าอุจจาระของเหม็นเท่าปลายผมปลายขนกระเซ็นถูกเข้า ก็รู้สึกว่าเหม็นสกปรก พระภิกษุสามเณรต้องประพฤติอยู่ในกรอบพระวินัย ไม่ให้เลยเถิดออกไปนอกกรอบ" ท่านเปรียบเทียบว่าเหมือนน้ำในมหาสมุทร มีมากน้อยเท่าไรก็ไม่ล้นฝังทุกกึ่งเดือนท่านลงอุโบสถฟังพระปาฏิโมกข์พร้อมกับพระภิกษุทั้งวัดมิได้ขาด โดยเฉพาะสิกขาบท

ที่เกี่ยวกับสตรีท่านจะระวังเป็นพิเศษ แม้จะมีอุบาสิกาเรียนกรรมฐานมาก ท่านก็ระวังเรื่องที่ลับที่แจ้ง ใครไปมาหาสู่มีภิกษุสามเณรอยู่ด้วยเสมอ มิฉะนั้นก็มีไวยาวัจกรหรือผู้ที่มาปฏิบัติธรรมอยู่ด้วยห้องจำวัดของท่านมีพระภิกษุประจำอยู่ใกล้ๆ

ในวัดปากน้ำนั้น อุบาสิกาอยู่เขตหนึ่งต่างหาก มีรั้วกั้น ห้องหนึ่งๆ มีหลายคน มีหัวหน้าควบคุมดูแลภิกษุสามเณร อุบาสิกาห้ามติดต่อไปมาหาสู่กัน ถ้ามีกิจจำเป็นต้องติดต่อขออนุญาตและต้องมีเพื่อนไปด้วยเสมอ


ปลงอาบัติ

      หลวงปู่จะชี้แจงก่อนนั่งสมาธิเจริญภาวนาทุกครั้งว่า "การทำภาวนาจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องมีจิตใจและอารมณ์ปลอดโปร่ง ปราศจากเครื่องกังวลใดๆ เพราะถ้าหากมีความกังวลมากนักจะทำให้สมาธิไม่แน่วแน่ ฉะนั้นถ้ามีความตั้งใจว่าจะทำสมาธิแล้ว ก็พึงละความกังวลใหญ่น้อยทั้งปวงเสียให้สิ้น"เรื่องการตัดความกังวลนี้ ท่านได้ สอนพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้ประพฤติตัวให้สะอาดบริสุทธิ์ ให้ถือตำรับตำราพระอริยบุคคลเป็นเนติแบบแผน หลวงปู่ท่านอธิบายว่า "กิจของพระอริยบุคคล คือ เป็นผู้อาจหาญในการสร้างความดี ซื่อตรง ว่านอน สอนง่าย อ่อนละไม ไม่มีอติมานะสันโดษเลี้ยงง่าย มีธุระน้อย ประพฤติเบากายเบาใจ สงบ มีปัญญา ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุล"การตัดความกังวลเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ของศีลนั้น หลวงปู่ท่านปฏิบัติเป็นประจำมิได้ขาดกล่าวคือ ท่านปลงอาบัติเป็นประจำทุกวัน การปลงอาบัติเป็นการชำระศีลให้บริสุทธิ์ พระภิกษุได้ตรึกระลึกถึงสมณสัญญา และเพิ่มความเป็นพระที่สมบูรณ์ให้แก่ผู้ปฏิบัติอีกด้วย หลวงปู่ท่านปลงอาบัติกับพระครูที่ทำหน้าที่อุปัฏฐากท่าน ก่อนอรุณขึ้นเป็นประจำทุกวันมิได้ขาด


ลงฉันพร้อมกับพระภิกษุทั้งวัด

      หลวงปู่ท่านดำริให้สร้างโรงครัวขึ้นในวัดปากน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้พระภิกษุสามเณรได้มีเวลาศึกษาพระปริยัติและประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่ หลวงปู่ท่านจะลงฉันด้วยทุกมื้อทั้งเช้า และเพลเป็นประจำหากมิได้มีศาสนกิจจำเป็นที่อื่น เวลาลงฉัน พระภิกษุสามเณรต้องมาโดยพร้อมเพรียงกัน แม้บางรูปอาพาธท่านก็ให้ไปตามมาพร้อมกันจึงลงมือฉัน เวลาฉันท่านจะคอยดูว่าพระภิกษุสามเณรฉันกันอิ่มพร้อมแล้วหรือยัง หากยังไม่เสร็จแม้เป็นสามเณรที่นั่งอยู่ปลายแถว ท่านก็จะยังไม่ละมือจากสำรับภัตตาหาร ต่อเมื่อพร้อมเพรียงกันแล้วท่านจึงละมือจากสำรับ และให้พรพร้อมกันหลวงปู่ท่านกระทำไว้เป็นเนติแบบแผนอย่างนี้ เมื่อพระภิกษุสามเณรฉันภัตตาหารพร้อมเพรียงในที่เดียวกัน จะทำให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กันและกัน สมัครสมานสามัคคีเป็นอันดี จะทำกิจการงานพระศาสนาก็จะร่วมมือร่วมใจกัน ทำให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรืองมั่นคงอยู่ได้นาน และเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนอีกด้วย ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสก็จะเลื่อมใสผู้ที่เลื่อมใสแล้วก็จะเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไปแม้แต่การโกนผมของพระภิกษุสามเณร และแม่ชี ท่านก็ต้องการให้ปฏิบัติโดยพร้อมเพรียงเหมือนกันหมดในวันเดียวกัน หากใครไม่โกนท่านจะพูดว่า "แม้แต่หัวมันยังไม่สามัคคี แล้วใจจะสามัคคีได้อย่างไร" ท่านมักจะยกนิทานชาดกเรื่องนกกระจาบแตกฝูงมาเล่าให้ฟังเป็นอุทาหรณ์ เวลาอบรมเรื่องความสามัคคีเสมอ


ดูแลความเป็นอยู่ในวัด

      หลวงปู่ได้ปฏิญาณในพระอุโบสถว่า "บรรพชิตที่ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้วขอให้เป็นสุข" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็มีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษาที่วัดปากน้ำเพิ่มขึ้นทุกปี แม้ว่าพระภิกษุสามเณรจะมากเพียงใดก็ตาม หลวงปู่ก็ไม่ได้หวั่นไหว กลับมีความปลาบปลื้มใจเสียอีก ไม่มีใครเคยได้ยินท่านบ่น และท้อใจ ยิ่งมากยิ่งดี ท่านพูดว่า "เขามาพึ่งพาอาศัย เราไม่ปฏิเสธ อุปการะเท่าที่มี"ท่านให้ความเมตตาอนุเคราะห์ลูกศิษย์ทุกคน ดูแลความเป็นอยู่ ทุกข์สุขโดยเสมอหน้ากันหมดใครทำดีก็ยกย่อง สรรเสริญให้ปรากฏ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่หมู่คณะ ใครทำผิดก็ว่ากล่าวตักเตือนให้ปรับปรุงแก้ไข เพื่อไม่ให้ใครเอาเยี่ยงอย่างได้ ท่านปกครองพระภิกษุและสามเณร แบบพ่อปกครองลูกท่านกล่าวไว้ว่า "ไม่ว่าพระภิกษุสามเณรองค์หนึ่งองค์ใดจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด เจ้าอาวาส ให้ทั้งสิ้น วัดปากน้ำน่ะ ค่าไฟฟ้าเดือนหนึ่งๆ 2,000 กว่าบาทแล้ว (ราวปี พ.ศ. 24802490) ถึงกระนั้น เจ้าอาวาส ก็สนับสนุนทุกเดือนไป ไตรจีวรไม่มีขาย มีแต่ให้เรื่อยไปวัดปากน้ำนั้น ผู้ที่ปกครองเป็นเจ้าอาวาส อยู่น่ะ ได้อะไรมาก็ตามเถิด คิดว่าพระภิกษุสามเณรที่มาอยู่ด้วยกันเหมือนลูกเหมือนเต้า ไม่หวงไม่เสียดายกัน ติดขัดอะไรมาแจกให้ทั้งนั้นไม่ขัด เมื่อเป็นเช่นนี้ภิกษุสามเณรก็สุขสบายอุ่นหนาฝาคั่ง เหมือนอยู่กับพ่อแม่ ลูกเขาเขารักเหมือนแก้วตา ถ้าเขารู้ว่าภิกษุผู้ปกครองเอาใจใส่เหมือนเช่นนั้นละก็ เขาก็เคารพนับถือ"ท่านแจก สมณบริขารจนบางครั้งต้องติดหนี้ผู้ขอก็มี คือ ท่านรับปากว่าจะให้ แต่ตอนนั้นท่านยังไม่มีท่านก็บอกว่าขอติดไว้ก่อน พอมีแล้วจะใช้ให้ ท่านพูดว่า "เขาอยากได้อยากดีเท่าไรให้เขาเสียไม่เปลืองเบี้ยเงินทองของทั้งหลาย" และยัง สอนพระภิกษุสามเณรในวัดอีกว่า "อยู่ที่ไหนก็ให้ทานบริจาคทานเรื่อยไป ไม่ทำอะไรก็ สอนหนังสือหนังหาไป สงเคราะห์อนุเคราะห์กุลบุตร"หลวงปู่จะเดินตรวจตราทั่วบริเวณวัดทุกคืน เพื่อดูว่ามีเหตุร้ายอะไรเกิดขึ้นในยามวิกาลหรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่ฝนตกพรำๆ หลวงปู่บอกว่าผู้ที่ชอบเวลาเช่นนี้มี 2 ประเภท คือ 1. พวกมิจฉาชีพ2. พวกเจ้าชู้ นอกจากนี้หลวงปู่ยังตรวจดูความเรียบร้อยของพระภิกษุสามเณร แม่ชี และผู้ที่อยู่ใน

ความปกครองของท่านทุกคนว่า มีใครแอบหนีเที่ยวนอกวัดหรือมั่วสุมกันหรือไม่ ท่านจะเดินตรวจดูตามห้องพักของพระภิกษุสามเณรทุกห้อง เมื่อเห็นว่าห้องใดมีแสงไฟและมีเสียงท่องหนังสืออยู่ท่านก็พอใจแต่หากห้องใดยังเปิดไฟแต่มีเสียงพูดคุยกัน ท่านจะเคาะประตูเตือนให้ปิดไฟพระครูวิเชียรธรรมโกวิท เจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรค์ เล่าว่า "วันหนึ่งขณะหลวงปู่เดินตรวจวัด

ตามปกติ ผ่านห้องพักของพระภิกษุห้องหนึ่ง ในห้องมีพระภิกษุอยู่ 2 รูป มีแสงไฟลอดออกมาและมีเสียงคุยกันแว่วๆ" หลวงปู่ก็เคาะประตูเพื่อจะเตือนให้พักผ่อน มีเสียงตะโกนตอบออกมาจากในห้องว่า"ไปข้างหน้าก่อนเถอะ แล้วพรุ่งนี้จะแผ่ส่วนกุศลไปให้" หลวงปู่ได้ยินก็ไม่ได้ตอบอะไร แล้วก็เดินตรวจต่อไปรุ่งเช้าหลังจากพระภิกษุสามเณรสวดมนต์ทำวัตรเช้าเสร็จแล้ว หลวงปู่จะให้โอวาททุกวัน ท่านจะนำสิ่งที่ท่านพบจากการตรวจวัดในตอนกลางคืนมาพูดในตอนนี้ เช้าวันนั้นท่านพูดว่า "เออ พระเดี๋ยวนี้เขาแผ่ส่วนบุญกันเก่งๆ นะ อุปัชฌาย์อาจารย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เขาก็แผ่ให้ไม่ละเว้น" นอกจากในบางครั้งที่มีผู้ทำความผิดร้ายแรง หลวงปู่จะเรียกมาพูดเป็นการส่วนตัว ไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้และสั่งให้ออกจากวัดไป ดังนั้นหากครั้งใดที่มีผู้หายจากวัดไปอย่างเงียบๆ ก็เป็นที่รู้กันว่า ผู้นั้นคงจะประพฤติผิดร้ายแรงจนหลวงปู่สั่งให้ออกจากวัดไปหลวงปู่จะเปลี่ยนวิธีการตรวจวัดไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้ผู้ใดตามทัน เช่น บางคืนท่านจะยืนซุ่มบนหอพระไตรปิฎก บางคืนท่านจะไม่ครองจีวร วมเพียงอังสะ ยืนแอบอยู่ตามมุมมืดๆ ถือบุหรี่เห็นแต่ไฟแดงๆ เพื่อว่าพระที่จะหนีออกไปข้างนอกจะได้ไม่รู้ว่าเป็นหลวงปู่ เพราะตามปกติหลวงปู่จะครองผ้าจีวรเรียบร้อยและไม่สูบบุหรี่ อย่างเช่น มีสามเณรกลุ่มหนึ่งมักจะหนีไปดูหนังเป็นประจำ โดยคิดว่าหลวงปู่ไม่รู้

      สามเณรกลุ่มนี้มีรูปหนึ่งชื่อ สมจิตร ฉ่ำรัศมี ยังสูบบุหรี่อยู่ คืนหนึ่งได้หนีไปดูหนังอีกเช่นเคย แต่คืนนี้สามเณรรูปนั้นไม่มีไม้ขีดและไฟแช็กติดไปด้วย ทั้งๆ ที่ทุกครั้งจะมีติดไป เมื่อมองไปข้างโบสถ์ เห็นแสงไฟวาบๆคิดว่ามีพระมาแอบสูบบุหรี่ จึงรีบเข้าไปขอต่อบุหรี่พอไปถึงพบว่าหลวงปู่ยืนถือไม้อยู่ ท่านบอกว่า ท่านรู้ทันว่าสามเณรกลุ่มนี้หนีไปดูหนังเป็นประจำไม่ยอมอ่านหนังสือ แล้วให้ไปตามเพื่อนมา รูปที่ยอมรับผิดท่านบอกว่าจะไม่ตี แต่ถ้าไม่รับผิดท่านจะตี และชี้ไปทางสามเณรรูปที่ขอต่อบุหรี่ว่า เป็นคนยุเพื่อนไปในทางที่ไม่ดีสามเณรรูปนั้นกลัวโดนตีจึงบอกหลวงปู่ว่า"หลวงพ่ออย่าตีผม" หลวงปู่ท่านไม่คิดจะตีอยู่แล้ว แต่ที่ถือไม้เพราะเป็นกุศโลบายเท่านั้น เมื่อสามเณรบอกอย่างนี้ท่านจึงตอบว่า ท่านจะไม่ตี แต่ต่อไปทุกรูปต้องตั้งใจเรียนให้ดี ตั้งแต่นั้นมาสามเณรรูปนั้นก็ตั้งใจ

 

ปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงวิชชาธรรมกาย

      คืนหนึ่ง หลวงปู่พบสามเณรทาแป้งลายพร้อย ดูแล้วไม่เหมาะแก่เพศนักบวช ท่านจึงเรียกมาถามสามเณรตอบว่า ทาแป้งเพื่อรักษาสิว ท่านได้ตักเตือนไม่ให้ทำอย่างนี้อีกอีกคืนหนึ่ง หลวงปู่เดินผ่านที่พักของแม่ชี แม่ชีคนหนึ่งมีเพื่อนที่เป็นฆราวาส มาขอพักอยู่ด้วยเพื่อมารักษาศีล ในขณะนั้นดึกแล้วแต่ในห้องยังเปิดไฟอยู่ ท่านมองเข้าไปในห้อง เห็นแม่ชีผู้นั้นกำลังเอาเสื้อของเพื่อนที่เป็นฆราวาส มาลองสวม ยืนมองกระจกแล้วหัวเราะกันอย่าง สนุกสนาน ท่านจึงหยิบก้อนอิฐปาเข้าไปในห้อง เพื่อเป็นการเตือน 3 ก้อนติดๆ กัน แม่ชีคนนั้นออกไปดูแต่ก็ไม่เห็นใคร เลยร้องขึ้นว่า "ใครขว้าง กูไม่ได้ทำอะไรสักหน่อย ขว้างเข้ามาทำไม กูจะฟ้องหลวงพ่อ" รุ่งขึ้นแม่ชีคนนั้นก็มาเล่าเรื่องตอนกลางคืนให้หลวงปู่ฟัง เพื่อหวังจะให้ท่านหาคนปาก้อนอิฐมาลงโทษหลวงปู่ก็ถามว่า "ตอนนั้นกำลังทำอะไรอยู่ ดึกดื่นแล้วทำไมไม่ปิดไฟนอน" แม่ชีคนนั้นก็ไม่กล้าตอบตรงๆ กลัวหลวงปู่จะดุเอา จึงพูดเลี่ยงไปเลี่ยงมา หลังจากท่านซักไซ้ไล่เลียงแล้ว ก็บอกว่า ท่านเองที่เป็นคนปาก้อนอิฐเข้าไป แล้วจึงอบรมสั่งสอนเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ที่หลวงปู่จะทราบความประพฤติของทุกคน หากท่านต้องการรู้ ท่านจะรู้ว่าใครพูดจริงหรือเท็จกับท่าน ท่านจะสอนให้ทุกคนกล้าพูดความจริง หากพูดความจริงกับท่าน ท่านจะช่วยแก้ปัญหาให้ได้อย่างถูกต้อง ท่านเคยบอกว่า "มีอะไรก็พูดออกมา ไม่ต้องปิดบัง หลวงพ่อรู้หมดทุกอย่างเพราะมีสมุดพก" ดังนั้นจึงไม่มีใครสามารถปิดบังอะไรท่านได้

เทศนาสั่งสอนธรรม

      หลวงปู่วัดปากน้ำท่านเป็นพระภิกษุที่บำเพ็ญประโยชน์ครบทั้ง 2 ประการ คือ ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ประโยชน์ตนนั้นท่านทุ่มเทกับการปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุธรรมส่วนประโยชน์ท่านนั้นท่านได้เทศนาสั่งสอนจนมีผู้ปฏิบัติแล้วบรรลุตาม เป็นพยานในการบรรลุธรรมของท่านด้วย หลวงปู่เอาจริงเอาจังกับการสอนวิชชาธรรมกายมาก ท่านเน้นสอนให้ฝึกปฏิบัติเจริญสมาธิภาวนาเป็นหลัก เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง ให้คุ้มค่ากับเวลาที่มานั่งทำภาวนากันสำหรับพระภิกษุสามเณรท่านจะสอนหลังจากทำวัตรเย็นและให้โอวาทเสร็จแล้ว ท่านจะควบคุมให้ทุกรูปนั่งเจริญภาวนาทุกๆ วันส่วนแม่ชีจะแยกย้ายกันไปปฏิบัติ เช่น ที่ศาลาการเปรียญ เป็นต้นนอกจากนี้ ในวันพฤหัสบดี เวลาบ่าย 2 โมง หลวงปู่จะลง อนการปฏิบัติกรรมฐานที่ศาลาการเปรียญมีพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ทั้งในวัดและนอกวัดมาฝึกสมาธิกันเป็นจำนวนมากทุกครั้งมีพระภิกษุจากต่างประเทศ เช่น หรัฐอเมริกา อังกฤษ ลาว และเขมร เป็นต้น มาศึกษาด้วย พระทิพย์ปริญญาได้บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ. 2489 ว่า "มีผู้ไปเรียนกันมาก แต่ต้นจนบัดนี้ไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นคน เพราะสอนมามากกว่า 15 ปีแล้ว"

พระธรรมเทศนาที่หลวงปู่นำมาแสดงนั้น ท่านค้นมาจากพระไตรปิฎก ท่านจะแสดงหลักฐานที่มาอย่างชัดเจน มีการยกพระบาลีแปลเป็นข้อๆ แล้วจึงขยายความสู่การปฏิบัติ ซึ่งพระธรรมทัศนาธร อดีตเจ้าอาวาส วัดชนะสงคราม ได้เล่าถึงความรู้ด้านปริยัติธรรมของหลวงปู่ไว้ว่า"ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม มีความรู้ นับว่าเชี่ยวชาญพอสมควรในพระปริยัติ ถ้าหากจะเข้าแปลภาษาบาลีในยุคนั้น ก็คงจะได้เป็นมหาเปรียญกับเขาบ้าง แต่ท่านก็หาได้แปลไม่ เพราะมีความมุ่งหมายเล่าเรียนเพื่อจะให้เป็นนิสสรณปริยัติ คือ เป็นปริยัติที่จะนำตนของตนให้พ้นทุกข์ หรือเพื่อที่จะแนะนำสั่งสอนประชาชน หรือเพื่อที่จะเป็นแนวทางให้ประพฤติปฏิบัติให้ถูกทาง ท่านไม่ปรารถนาที่จะใช้ความรู้ของท่านเพื่อใบประกาศนียบัตร หรือเพื่อลาภยศอันใด แต่ก็เคยได้ศึกษาถ้าจะเปรียบความรู้ของท่าน ท่านได้ศึกษาในชั้นเปรียญ 3 ประโยค 4 ประโยค และ 5 ประโยคเมื่อท่านได้ศึกษามีความรู้อย่างดีแล้ว ท่านก็สะสมวิชาทางวิปัสนา"คำกล่าวของพระธรรมทัศนาธร ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า หลวงปู่ท่านมีความรู้ทางปริยัติเทียบได้กับพระมหาเปรียญเลยทีเดียวอีกคราวหนึ่ง คือ เมื่อพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทัตโต) มาอาราธนาให้หลวงปู่ไปแสดงธรรมที่พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ ในหัวข้อเรื่อง "กัมมัฏฐาน"2 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ในวันนั้นมี

พระภิกษุสามเณรมาฟังกันเป็นจำนวนมาก จนอา นะไม่พอนั่ง ต้องลงมานั่งที่พื้นพระอุโบสถ และยังมีอุบาสก อุบาสิกาอีกเป็นจำนวนมากมาร่วมฟังด้วย เมื่อหลวงปู่แสดงพระธรรมเทศนาจบ ท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรมได้ชมเชยต่อหน้าผู้ฟังว่าเทศน์ได้ดีมาก หลังจากนั้นท่านเจ้าคุณยังได้อาราธนาหลวงปู่ให้ไป สอนการเจริญภาวนาที่วัดมหาธาตุอีกหลายครั้ง


แก้ไขทุกข์มนุษย์

      หลวงปู่ท่านทุ่มเทให้กับการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง เวลาโดยมากของท่านอยู่กับการเจริญจิตภาวนาท่านจึงออกรับแขกเป็นเวลา ตอนเพลครั้งหนึ่ง และเวลา 5 โมงเย็นอีกหนหนึ่ง ท่านมีจิตเมตตาช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่เลือกหน้า และไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ทุกคนที่มาหาท่าน ท่านต้อนรับอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร เป็นสามัญชนธรรมดา หรือมียศถาบรรดาศักดิ์ยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตามปกติเวลาท่านออกรับแขกนั้น ท่านจะนั่งบนเก้าอี้เพียงองค์เดียว แขกทุกคนนั่งกับพื้นเสมอกันหมดผู้ใดจะทำบุญถวายจตุปัจจัยหรือสิ่งของใดๆ แก่ท่าน หรือไม่ทำเลย ท่านก็มิได้ติดใจ ท่านสั่ง สอนผู้ที่ได้วิชชาธรรมกายให้ช่วยเหลือทุกคนโดยไม่หวังในลาภสักการะ เพียงมีอาหารยังชีพเป็นมื้อๆ เพื่อการปฏิบัติกิจภาวนาก็เพียงพอแล้ว ท่านถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้ธรรมกายทุกคน จะต้องแก้ไขความทุกข์ยากของทุกๆ คนที่มาหา ให้ต้อนรับด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใสไม่ให้แสดงอาการเบื่อหน่ายหรือรังเกียจให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง อดทน บางคนพูดเรื่องไร้สาระ บางคนพูดแต่เอาประโยชน์ตน แต่หลวงปู่ก็จะรับฟัง ยิ้มแย้มแจ่มใสไม่ว่ากล่าวอะไร ไม่ว่าใครจะนำเรื่องใดมาปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือ ท่านจะให้ผู้นั้นนั่งสมาธิภาวนาไปส่วนท่านหรือผู้ที่ได้ธรรมกายที่ท่านสั่งให้ช่วยแก้ไขก็ทำหน้าที่ไป แล้วท่านก็ช่วยแก้ไขให้ และแนะนำข้อประพฤติปฏิบัติให้ได้คลายจากทุกข์ มีความสุขด้วยกันทุกคน


ทำวิชชา

      เป็นที่ทราบกันดีว่า หลวงปู่ท่านมีความมุ่งมั่นในการเจริญภาวนาเป็นที่สุด จะเห็นได้จากกิจวัตรประจำวันของท่าน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมแทบทั้งสิ้น และที่สำคัญประการหนึ่ง คือท่านไม่ชอบออกไปนอกวัด เพราะเกรงจะเสียเวลาในการทำวิชชา หากสุดวิสัยจำเป็นต้องออกไป ท่านก็จะรีบกลับ โดยไม่ยอมไปค้างคืนที่อื่นเลยนับแต่เป็นเจ้าอาวาส วัดปากน้ำคำว่า "ทำวิชชา" ในที่นี้อาจไม่เป็นที่คุ้นเคยสำหรับบางท่าน และการจะอธิบายว่าการทำวิชชาคืออะไรนั้น ก็เป็นเรื่องค่อนข้างยากและก็ยากต่อการทำความเข้าใจเช่นกัน เพราะเหตุที่เป็นเรื่องลึกซึ้งละเอียดอ่อน ผู้ที่จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดี

ก็คือ ผู้ที่ได้ธรรมกายแล้ว และเคยมีประสบการณ์ในการทำวิชชามาก่อน ซึ่งใน สมัยนั้นผู้ที่ทำวิชชาได้ก็มีอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกันเท่าที่ประมวลจากเรื่องราวการทำวิชชาใน สมัยหลวงปู่วัดปากน้ำ พอจะกล่าวเพื่อความเข้าใจในระดับเบื้องต้นได้ว่า การทำวิชชา คือ การทำงานทางจิตชนิดหนึ่งของผู้ที่ได้ธรรมกายแล้ว โดยที่การทำงานชนิดนี้มีลักษณะของการศึกษาและค้นคว้าทางจิตไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีครูผู้เชี่ยวชาญคือ หลวงปู่คอยควบคุมดูแลอยู่ด้วย เทียบกับในยุคนี้ก็ดูคล้ายๆ กับศาสตราจารย์ด้านใดด้านหนึ่งนำคณะทำงานอยู่ในห้องปฏิบัติการในสาขาวิชาที่ตนเชี่ยวชาญฉะนั้นสถานที่ที่ใช้ทำวิชชาหรือที่เรียกว่า "โรงงานทำวิชชา" ใน สมัยนั้นเป็นกุฏิหลังใหญ่ เป็นเรือนไม้ล้อมรั้วด้วยสังกะสีมีเพิงออกไป สองข้าง มีแผงกั้นเป็น สองส่วน คือส่วนหนึ่งของพระ มีห้องของหลวงปู่อยู่ตรงกลาง เป็นม่านกั้นไว้ และอีกส่วนหนึ่งของแม่ชี ทั้ง สองฝ่ายไม่เห็นหน้าและไม่รู้จักกัน จะได้ยินแต่เสียงของหลวงปู่สั่งวิชชาผ่านฝากระดานที่กั้นไว้ การเข้ามาในโรงงานทำวิชชานั้น พระขึ้นมาทางด้านหอไตรส่วนแม่ชีขึ้นมาทางวิหาร ทั้ง สองฝ่ายจะไม่พบกันการทำงานในโรงงานทำวิชชา ทั้ง สองฝ่ายต่างก็แบ่งเป็น 2 ผลัด ผลัดแรกเริ่มเข้าที่นั่งสมาธิตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน ผลัดที่ สองเริ่มตั้งแต่เที่ยงคืนไปออก 6 โมงเช้า ตอนกลางวัน ผลัดหนึ่งมารับครึ่งวันตอนเช้า ผลัด สองก็มาต่อครึ่งวันตอนเย็น นั่งหมุนเวียนกันตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ได้หยุดในห้องทำวิชชานั้นจะมีเตียงขาดรู้ เป็นเตียง สี่เหลี่ยมสำหรับผู้นั่งสมาธิแยกออกมาจากคนอื่นๆ คำว่า"ขาดรู้" คือ ขาดจากความรับรู้ของกายมนุษย์ ตัดขาดจากความรู้สึกภายนอก ดิ่งเข้าไปในธรรมะภายในเพียงอย่างเดียว ปล่อยใจเข้าไปสู่ธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง ผู้ที่นั่งสมาธิบนเตียงขาดรู้จะนั่งได้หลายๆ ชั่วโมง ที่เตียงจะมีมุ้งเล็กๆสำหรับกันยุงสำหรับที่นั่งรวมกันจะมีมุ้งหลังใหญ่ ทางฝ่ายพระมีประมาณ 30 รูป ฝ่ายแม่ชีก็มีจำนวนใกล้เคียงกันส่วนผู้ที่ไม่ได้ธรรมกายนั้น หลวงปู่ท่านไม่อนุญาตให้เข้าไปเพราะเกรงว่าจะไปรบกวนสมาธิของผู้ที่กำลังเจริญภาวนา นอกจากนั้นก็อาจจะเกิดความ สงสัยในเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้ง อันไม่เป็นผลดีใดๆวันที่หลวงปู่เริ่มรวบรวมทีมผู้ได้ธรรมกายเพื่อทำวิชชานั้น คือ วันเข้าพรรษาของปี พ.ศ. 2474 และทำมาตลอดไม่ได้หยุดเลยแม้แต่วันเดียว จนกระทั่งหลวงปู่มรณภาพ รวมระยะเวลาร่วม 28 ปี แสดงให้เห็นว่าท่านเอาจริงเอาจังต่อการศึกษาวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด

Complete and Continue