2.1 การบรรลุธรรม

การบรรลุธรรม

      ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 (ปี พ.ศ. 2460) เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้ว ท่านก็เข้าไปนั่งสมาธิเจริญภาวนาในพระอุโบสถ ขณะนั้นเวลาประมาณ 8 โมงเศษๆ ท่านก็เริ่มทำความเพียร โดยตั้งใจว่าหากยังไม่ได้ยินเสียงกลองเพล จะไม่ยอมลุกจากที่ เมื่อตั้งใจดังนั้นแล้ว ก็หลับตาภาวนา "สัมมา อะระหัง" ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งความปวดเมื่อย และอาการเหน็บชาค่อยๆ เพิ่มทีละน้อยๆ และมากขึ้นจนมีความรู้สึกว่ากระดูกทุกชิ้นแทบจะระเบิดหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ จนเกือบจะหมดความอดทน ความกระวนกระวายใจก็ตามมา"เอ...แต่ก่อนเราไม่เคยรู้สึกเช่นนี้เลย พอตั้งสัจจะลงไปว่า ถ้ากลองเพลไม่ดังจะไม่ลุกจากที่

เหตุใดมันจึงเพิ่มความกระวนกระวายใจมากมายอย่างนี้ ผิดกว่าครั้งก่อนๆ ที่นั่งภาวนา เมื่อไรหนอกลองเพลจึงจะดังสักทีิ" คิดไปจิตก็ยิ่งแกว่งและซัดส่ายมากขึ้น จนเกือบจะเลิกนั่งหลายครั้ง แต่เมื่อได้ตั้งสัจจะไปแล้วท่านก็ทนนั่งต่อไป ในที่สุดใจก็ค่อยๆ สงบลงทีละน้อย แล้วรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ในใจชุ่มชื่นเบิกบานอย่างบอกไม่ถูก ความปวดเมื่อยหายไปไหนไม่ทราบ ในเวลาเดียวกันนั้นเสียงกลองเพลก็ดังขึ้นวันนั้นท่านมีความสุขตลอดทั้งวัน ดวงธรรมขั้นต้นซึ่งเป็นดวงใสก็ยังเห็นติดอยู่ตรงศูนย์กลางกายตลอดเวลา ในช่วงเย็น หลังจากได้ร่วมลงฟังพระปาฏิโมกข์กับเพื่อนภิกษุ ท่านได้เข้าไปในพระอุโบสถแล้วตั้งสัตยาธิษฐานว่า "แม้เลือดเนื้อจะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที ถ้านั่งลงไปแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเห็น จะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่จนตลอดชีวิต" เมื่อตั้งจิตอธิษฐานเสร็จจึงเริ่มนั่งและตั้งจิตอ้อนวอนแด่พระพุทธเจ้าว่า

      "ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้า ทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้อย่างน้อยที่สุดแลง่ายที่สุด ที่พระองค์ได้ทรงรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมของพระองค์แล้วเป็นโทษแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานเลย ถ้าเป็นคุณแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณา โปรดพระราชทานแก่ข้าพระองค์ข้าพระองค์รับเป็นทนายศาสนาในศาสนาของพระองค์ไปจนตลอดชีวิต"เมื่อท่านตั้งความปรารถนาแล้ว ก็เริ่มนั่งขัดสมาธิเข้าที่ภาวนา พอดีนึกถึงมดขี้ที่อยู่ในระหว่างช่องแผ่นหินซึ่งกำลังไต่ไปมา จึงหยิบขวดน้ำมันก๊าด เอานิ้วมือจุ่ม เพื่อจะเขียนวงให้รอบตัวกันมดรบกวนแต่พอจรดนิ้วที่พื้นหินยังไม่ถึงครึ่งวง ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า ชีวิต สละได้ แต่ทำไมยังกลัวมดขี้อยู่เล่านึกละอายตัวเอง จึงวางขวดน้ำมันลง แล้วนั่งเข้าที่ได้ประมาณครึ่งหรือค่อนคืน เมื่อใจหยุดเป็นจุดเดียวกันก็มองเห็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ซึ่งยังติดอยู่ที่ศูนย์กลางกายจากเมื่อเพล ยิ่งมองยิ่งใสสว่างมากขึ้น และขยายใหญ่ขนาดเท่าดวงอาทิตย์ ดวงใสยังคง ว่างอยู่อย่างนั้น โดยที่ท่านก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะทุกสำนักที่ท่านได้ศึกษามาไม่เคยมีประสบการณ์เช่นนี้มาก่อนขณะที่ใจหยุดนิ่งอยู่ตรงนั้น ก็มีเสียงหนึ่งดังขึ้นมาจากจุดกลางดวงนั้นว่า "มัชฌิมา ปฏิปทา"แต่ขณะที่เสียงนั้นดังแผ่วขึ้นมาในความรู้สึก ก็เห็นจุดเล็กๆ เรืองแสง สว่างวาบขึ้นมาจากกลางดวงนั้นเสมือนจุดศูนย์กลางของวงกลม ความ สว่างของจุดนั้น สว่างกว่าดวงกลมรอบๆ ท่านมองเรื่อยไป พลางคิดในใจว่า นี่กระมังทางสายกลาง จุดเล็กที่เราเพิ่งจะเห็นเดี๋ยวนี้อยู่กึ่งกลางพอดี ลองมองดูซิจะเกิดอะไรขึ้นจุดนั้นค่อยๆ ขยายขึ้นและโตเท่ากับดวงเดิม ดวงเก่าหายไป ท่านมองไปเรื่อยๆ ก็เห็นดวงใหม่ลอยขึ้นมาแทนที่ เหมือนน้ำพุที่พุ่งขึ้นมาแทนที่กันนั่นแหละ ต่างแต่ใสยิ่งขึ้นกว่าดวงเดิม ในที่สุดก็เห็นกายต่างๆ ผุดซ้อนกันขึ้นมาจนถึงธรรมกาย เป็นพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์ยิ่งกว่าพระพุทธรูปบูชาองค์ใด เสียงพระธรรมกายกังวานขึ้นมาในความรู้สึกว่า "ถูกต้องแล้ว" เท่านั้นแหละความปีติสุขก็เกิดขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ท่านถึงกับรำพึงออกมาเบาๆ ว่า"เออ...มันยากอย่างนี้นี่เอง ถึงได้ไม่บรรลุกัน ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ต้องรวมเป็นจุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับ เมื่อดับแล้วจึงเกิด"การค้นพบวิชชาธรรมกายอันเป็นของจริงของแท้ เป็นทางบรรลุธรรมที่องค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงบรรลุมาแล้ว เป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ท่านจึงมาคำนึงว่า "คัมภีโรจายัง ธรรมเป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัยของความตรึกนึกคิด ถ้ายังตรึกนึกคิดอยู่ก็เข้าไม่ถึง

ที่จะเข้าถึงได้ ต้องทำให้รู้ตรึก รู้นึก รู้คิดนั้น หยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิดถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด นี่เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้แล้ว ก็ไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด"

      ท่านยังคงนั่งเจริญภาวนาทบทวนอย่างนี้ต่อไปอีกประมาณ 30 นาที ก็เกิดภาพในสมาธิเป็นภาพของวัดบางปลาปรากฏขึ้น ความรู้สึกขณะนั้นเหมือนตัวท่านอยู่ที่วัดนั้น ทำให้คิดว่าธรรมที่รู้เห็นได้ยากนั้น ที่วัดบางปลาจะต้องมีผู้ที่สามารถบรรลุธรรมได้แน่นอน ภาพของวัดบางปลาจึงปรากฏขึ้นในสมาธินับแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงปู่ได้ทุ่มเทชีวิตให้กับการปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาอย่างเต็มที่เพื่อค้นคว้าหาที่สุดแห่งธรรม ยิ่งค้นก็ยิ่งลึกซึ้งขึ้นไปทุกที ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้อีกประมาณเดือนเศษจนออกพรรษา เมื่อรับกฐินแล้ว ก็ลาเจ้าอาวาสไปพักอยู่ที่วัดบางปลา เพื่อไป สอนธรรมที่ท่านได้รู้ได้เห็นแล้วท่าน สอนอยู่ประมาณ 4 เดือน มีพระภิกษุที่สามารถปฏิบัติธรรมตามอย่างท่านได้ 3 รูป คือ พระภิกษุสังวาลย์

พระภิกษุแบน และพระภิกษุอ่วม รวมทั้งคฤหัสถ์อีก 4 คนจากนั้น พรรษาที่ 13 ท่านได้พาพระภิกษุสังวาลย์ไปจำพรรษาที่วัด สองพี่น้อง ที่วัดนี้มีพระภิกษุได้เห็นธรรมอีก 1 รูป คือ พระภิกษุหมก หลังจากนั้น ท่านได้เดินทางไปพักที่วัดประตูสาร จังหวัด

สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นวัดของพระอุปัชฌาย์ของท่าน (ขณะนั้นได้มรณภาพแล้ว) มีประชาชนมาขอให้ท่านแสดงธรรมหลายครั้ง ท่านขัดไม่ได้ จึงยอมแสดงพระธรรมเทศนา เนื่องจากท่านมีความสามารถในการเทศน์สอน ประชาชนจึงชอบใจมาก ต่อมามีผู้มาขอร้องท่านให้แสดงธรรมอีกเป็นครั้งที่ สองท่านรู้ว่าถ้าเทศน์อีกจะทำให้เจ้าอาวาส ไม่พอใจ แต่อยากจะ สงเคราะห์ญาติโยม จึงตัดสินใจแสดงธรรมเป็นครั้งที่ สอง เมื่อท่านแสดงธรรมรอบที่ สองจบ ท่านก็เข้าไปกราบลาเจ้าอาวาส แล้วเดินทางกลับทันทีเพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือน โดยท่านให้เหตุผลว่าจะพาพระไปอยู่กรุงเทพฯ หลวงปู่พักอยู่ที่วัดนี้

รวมเป็นระยะเวลา 4 เดือนเมื่อออกจากวัดประตูสาร ท่านได้ไปรับพระภิกษุหมก พระภิกษุปลด (พระพุทธิวงศาจารย์ วัดเบญจมบพิตรฯ) พระภิกษุพล (พระครูโ ภณราชวรวิหาร วัดเบญจมบพิตรฯ ภายหลังลาสิกขา) และพระภิกษุยั้ว วัดป่าพฤกษ์ ที่วัด สองพี่น้อง แล้วไปอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป

หลักฐานธรรมกาย

คำว่า "ธรรมกาย" (ธมฺมกาย) นี้มีปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ หลายแห่ง ทั้งในพระไตรปิฎก และใน คัมภีร์ต่างๆ ธรรมกาย ในพระไตรปิฎก ปรากฏอยู่ในพระสูตร 4 แห่ง ดังนี้ แห่งแรก อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ความว่า ตถาคตสฺส เหต วาเสฏ อธิวจน ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ (ดูก่อน วาเสฏฐะ คำว่าธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูติก็ดี พรหมภูติก็ดี นี้แหละเป็น ชื่อ ของเราตถาคต) แห่งที่ 2 อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน โส ภิตวรรคที่ 14 ความว่า ธมฺมกายฺจ ทีเปนฺติ เกวล รตนากร วิโกเปต น กฺโกนฺติ โก ทิ สุวา นปฺป สิทติฯ (ชนทั้งหลายไม่สามารถกำจัดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงแสดงธรรมกายและผู้เป็น บ่อเกิดแห่งพระรัตนตรัยอย่างเดียวได้ ใครเล่าเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้วจะไม่เลื่อมใส) แห่งที่ 3 อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน พุทธวรรคที่ 1

ความว่า ภวนฺติ ปจฺเจกชินา ยมฺภู มหนฺต ธมฺมา พหุธมฺมกายา (พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ ยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก) แห่งที่ 4 อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เอกุโป ถวรรคที่ 2 ความว่า วทฺธิโตยสุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม วทฺธิโต ตยาฯ (ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่พระธรรมกาย อันน่า รื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว) หลักฐานธรรมกายที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อื่นๆ

 ในอรรถกถา มีปรากฏอยู่ 25 อรรถกถา  ในฎีกาพระวินัยที่ชื่อว่า "สารัตถทีปนี" กล่าวถึง "ธรรมกาย" ในฉบับภาษาบาลีอยู่ประมาณ 6 แห่ง  ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวถึง"ธรรมกาย" อยู่ 2 แห่ง  ในคัมภีร์มิลินทปัญหา กล่าวถึงธรรมกายอยู่ 1 แห่ง

 ในหนังสือ "ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3" กล่าวว่า ในศิลาจารึกหลักที่ 54 พ.ศ. 2092 ที่ จารึกไว้เป็นภาษาไทยและมคธ มีข้อความกล่าวถึงเรื่องราวของพระธรรมกายเอาไว้  ในหนังสือปฐม สมโพธิกถา ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า พระอุปคุตต์เห็นพระธรรมกาย นั่นคือ พระธรรมกายนั้นสามารถเห็นได้ ข้อความนี้เป็นเครื่องยืนยันความรู้อันเกิดจากการปฏิบัติธรรมของ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีและศิษย์ของท่าน  ในจารึกลานทอง กล่าวถึง "ส่วนสูงของพระธรรมกาย" ไว้ด้วย หลักฐานนี้ยืนยันคำสอน ของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีและศิษย์ เกี่ยวกับ "การวัดมิติของพระธรรมกาย" ว่าไม่ใช่สิ่งที่ นอกเหนือจากตำราแต่อย่างใดสำหรับต้นฉบับจารึกลานทองนี้ ปัจจุบันตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

       นอกจากนี้ในคัมภีร์ฝ่ายมหายานยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมกายอยู่มากกว่าในคัมภีร์ฝ่าย เถรวาท และในคัมภีร์เหล่านั้นมีอยู่หลายตอนที่กล่าวตรงกันกับการค้นพบของหลวงปู่ เช่น ในคัมภีร์ ศรีมาลาเทวี สีหนาทสูตรตอนหนึ่งกล่าวว่า "ธรรมกายนั้นย่อมเที่ยงแท้แน่นอนที่สุด เป็นสุขล้วนๆ เป็นตัวตนคืออัตตาที่แท้จริง บริสุทธิ์ที่สุด ผู้ใดได้เห็นธรรมกายของตถาคตในลักษณะนี้แล้ว ย่อมถือว่า เห็นถูก" การค้นพบวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่สูญหายไป นับพันปีนี้ นับเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ได้กระทำไว้เป็นคุณูปการใน พระพุทธศาสนา

Complete and Continue