บทนำ

1. การเตรียมตัวเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง

ในการศึกษาแต่ละบทของชุดวิชาวัฒนธรรมชาวพุทธ นักศึกษาควรปฏิบัติดังนี้

        1. ควรศึกษาบทเรียนแต่ละบทอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดยอาจใช้เวลาเพื่อการเรียนรู้วันละ 1 ชั่วโมง และควรศึกษาให้จบแต่ละบทภายใน 1 สัปดาห์

        2. ควรทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียนเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจเดิม และเมื่อได้ศึกษาจนจบในแต่ละบทแล้ว ควรทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนในแต่ละบททุกครั้ง เพื่อตอกย้ำและประเมินความรู้ที่ได้ศึกษาผ่านมา

        3. นักศึกษาควรศึกษาวิธีการ และวางแผนทำกิจกรรมภาคปฏิบัติเสริมความเข้าใจในบทเรียนก่อนล่วงหน้า เพื่อสามารถทำกิจกรรมควบคู่ไปกับการศึกษาบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

        4. เนื่องจากวิชาวัฒนธรรมชาวพุทธ เป็นวิชาที่มุ่งอธิบายเพื่อประโยชน์แก่การนำไปปฏิบัติ ดังนั้นจึงขอให้นักศึกษาได้นำเอาความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตประจำวันของตนสืบไป

 

2. การประเมินผลตนเองก่อนและหลังเรียน

        ขอให้นักศึกษาทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียนในแบบประเมินก่อนเรียนของแต่ละบท เพื่อวัดพื้นความรู้เดิมของนักศึกษาว่ามีความรู้ในเนื้อหาที่จะศึกษามากน้อยเพียงใด และหลังจากการศึกษาเอกสารการสอนตลอดทั้งบทแล้ว ขอให้นักศึกษาได้ทำแบบประเมินหลังเรียนอีกครั้ง เพื่อประเมินตัวเองว่าได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิมมากน้อยเพียงใด และมีความรู้อยู่ในระดับที่จะศึกษาในบทต่อไปได้หรือไม่ ขอให้นักศึกษาพึงตระหนักว่า การทำแบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียนด้วยความซื่อสัตย์ต่อตนเองเท่านั้นจึงจะได้ผล

 

3. การศึกษาเอกสารการสอน

        หลังจากทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียนเสร็จแล้ว นักศึกษาควรศึกษาเนื้อหาในแต่ละบทเรียนจากหนังสือจนจบก่อน และเมื่ออ่านรายละเอียดแต่ละบทจบแล้ว ควรสรุปทบทวนหรือจดบันทึกความเข้าใจของตนเองไว้ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินตนเองหลังเรียน และหากยังมีเนื้อหาในบทเรียนใดที่นักศึกษายังไม่เข้าใจ ก็ควรรวบรวมคำถามเหล่านั้นไว้เพื่อสอบถามกับพระอาจารย์ประจำชุดวิชาในภายหลัง

4. การทำกิจกรรม

        นักศึกษาควรวางแผนทำกิจกรรมที่กำหนดไว้ให้ดี เพื่อที่จะได้กำหนดช่วงเวลาสำหรับทำกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม ครบถ้วนตามที่หลักสูตรวิชากำหนดไว้ และเมื่อทำกิจกรรมในแต่ละครั้งเสร็จ ให้นักศึกษาบันทึกสาระสำคัญลงในกิจกรรมเสริมวิชา วัฒนธรรมชาวพุทธ

        เนื่องจากกิจกรรมที่กำหนดให้ มีความจำเป็นมากสำหรับการศึกษาชุดวิชานี้ นักศึกษาจึงควรให้ความสำคัญและทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับจากการทำกิจกรรมอย่างแท้จริง

 

5. การศึกษาบทเรียนผ่านทางการศึกษาธรรมะทางไกลผ่านดาวเทียมและสื่อเสริม

        เนื่องจากการศึกษาธรรมะทางไกลผ่านดาวเทียม (หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ดาวธรรม”) ซึ่งดำเนินการโดยมูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นสื่อที่มีการนำเสนอสาระความรู้ที่นำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง ดังนั้นนักศึกษาจึงควรหาโอกาสรับชมและศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมที่มีนอกเหนือไปจากบทเรียนในตำรา

        โดยเฉพาะในรายการที่ชื่อว่า “โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา” (นำเสนอทุกวันจันทร์ ถึง วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 19.00 - 21.30 น.) ที่จะช่วยตอกย้ำและทำความเข้าใจในหลักธรรมสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา เช่น พระรัตนตรัย การสร้างบารมี หรือกฎแห่งกรรม เป็นต้น ในรูปแบบที่ผู้ชมสามารถนำมาปรับใช้ได้ทันที (นักศึกษาสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการศึกษาธรรมทางไกลผ่านดาวเทียมได้ที่ชมรมประสานงาน DOU ตามที่อยู่ที่ท่านสมัครเรียน)

 

6. การประเมินผล

        การศึกษาวิชาวัฒนธรรมชาวพุทธ จะประเมินผลการศึกษาของนักศึกษา จากคะแนนในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยมีคะแนนรวมทั้งสิ้น 100 คะแนน ดังนี้

                                 ภาคทฤษฎี   70    คะแนน

                                 ภาคปฏิบัติ   30    คะแนน

 

 

 

ภาคทฤษฎี

        ข้อสอบภาคทฤษฎีเป็นข้อสอบแบบปรนัย (5 ตัวเลือก) ตามเนื้อหาวิชาที่นักศึกษาได้เรียนรู้มาจากบทเรียนในตำรา คิดเป็น 70 คะแนน

 

ภาคปฏิบัติ

        1. การทำกิจกรรมและบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรม เป็นกิจกรรมเสริมให้นักศึกษาได้เข้าใจเนื้อหา ในภาคปฏิบัติตามที่ได้ศึกษามาจากบทเรียนมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

                1.1 กิจกรรมที่ 1 ให้นำสิ่งของเครื่องใช้มาซ่อมแซม 10    คะแนน

                1.2 กิจกรรมที่ 2 ให้ทำความสะอาดห้องน้ำ         10    คะแนน

                1.3 กิจกรรมที่ 3 ให้บันทึกกิจวัตรประจำวัน        10    คะแนน

        2. การตอบคำถามแบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียน นอกจากนักศึกษาต้องตอบคำถามในแบบประเมินให้ครบถ้วน เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในบทเรียนของตนเองแล้ว แบบประเมินนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาวัดผลการศึกษาอีกด้วย

 

หมายเหตุ นักศึกษาควรศึกษารายละเอียดของกิจกรรมเสริม เนื่องจากจะต้องใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรม


SB202_intro.pdf
Complete and Continue