2.1 การศึกษาด้านปฏิบัติ (วิปัสนาธุระ)

การศึกษาด้านปฏิบัติ (วิปัสนาธุระ)

      นอกจากการเรียนด้านคันถธุระแล้ว หลวงปู่ยัง นใจการเรียนด้านวิปัสนาเป็นชีวิตจิตใจอีกด้วยนับจากวันแรกที่บวช หลวงปู่เรียนวิปัสนากับพระอาจารย์โหน่ง ตลอดพรรษาแรก นอกจากนี้ท่านยังหาความรู้ในด้านวิปัสนาเพิ่มเติมจากตำรา โดยส่วนใหญ่อ่านจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ถ้าวันไหนหยุดเรียนคันถธุระ ท่านมักไปหาพระอาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงด้านวิปัสนา เพราะต้องการความรู้เพิ่มเติมพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสำนักต่างๆ ที่หลวงปู่ได้ไปศึกษา มีรายชื่อตามลำดับดังนี้

1. พระอาจารย์โหน่ง อินทสุวัณโณ พระอนุสาวนาจารย์

2. หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จังหวัดสุพรรณบุรี

3. ท่านเจ้าคุณสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) กรุงเทพฯ

4. ท่านพระครูญาณวิรัต (โป) วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ

5. พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ (หลังวัดระฆังโฆสิตาราม)

      นอกจากนี้ยังมีพระอาจารย์องค์อื่นอีก ที่ท่านได้ไปศึกษาด้านวิปัสนาด้วย ได้แก่ พระมงคลทิพมุนี(มุ้ย) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และพระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีเนื่องจากความเป็นผู้ที่ทำอะไรทำจริงของหลวงปู่ ครั้งเมื่อไปศึกษากับพระอาจารย์สิงห์วัดละครทำ หลวงปู่ปฏิบัติธรรมจนได้ดวงใสประมาณเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย เป็นที่ถูกใจของพระอาจารย์มาก จนรับรองว่าสามารถปฏิบัติได้ตามแบบของท่าน จึงขอให้อยู่ช่วย สอนคนอื่นต่อไป แต่หลวงปู่มีความรู้สึกว่า ธรรมที่ได้ยังน้อยเกินไป จะ สอนเขาได้อย่างไร ยังมีธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งกว่านี้ท่านจึงค้นคว้าหาต่อไป โดยยังไม่ยอม สอนใครนอกจากพระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำแล้ว หลวงปู่ยังสามารถเรียนจนได้ผลการปฏิบัติเป็นที่พอใจของพระอาจารย์อีกรูปหนึ่ง คือ พระครูญาณวิรัต (โป) วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งท่านก็ชวนหลวงปู่อยู่ช่วยเป็นอาจารย์ สอนผู้อื่นเช่นกัน แต่หลวงปู่ได้ปฏิเสธด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันหลังจากที่เรียนรู้วิธีการปฏิบัติจากอาจารย์มาหลายท่าน และสามารถปฏิบัติจนได้ผลดีพอ สมควรแล้ว หลวงปู่จึงต้องการออกเดินธุดงค์ เพื่อปลีกวิเวกไปหาความ สงบตามต่างจังหวัดบ้าง โดยท่านจะใช้เวลาช่วงที่ว่างจากการเรียนคันถธุระ

      เมื่อคิดจะออกเดินธุดงค์ ท่านจึงให้โยมพี่สาวของท่านสร้างกลดถวาย แม้มีผู้อื่นจะสร้างถวายท่านก็ไม่รับ น่าจะเป็นเพราะท่านต้องการให้โยมพี่สาวได้บุญจากการเดินธุดงค์ เมื่อโยมพี่สาวถวายกลดแล้วท่านจึงออกเดินธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ตามประวัติที่เคยมีการรวบรวมไว้ พบว่า ท่านออกเดินธุดงค์ 2 ครั้งครั้งแรกไม่มีการบันทึกรายละเอียดไว้ส่วนครั้งที่ สอง ท่านเดินธุดงค์ไปถึงจังหวัดสุพรรณบุรีท่านได้พบเรื่องราวต่างๆ มากมายในระหว่างที่เดินธุดงค์ ได้พบพระภิกษุที่อยู่ในป่าหลายรูป

บางท่านมีฤทธิ์ บางท่านมีคุณวิเศษ เมื่อท่านเดินธุดงค์ไปถึงป่าในจังหวัดสุโขทัย ได้พบพระรูปหนึ่ง และสนทนากันเรื่องธรรมปฏิบัติ พระธุดงค์รูปนี้เล่าให้หลวงปู่ฟังว่า ท่านปฏิบัติโดยใช้คำภาวนาว่า "สัมมา อะระหัง"ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ท่านได้ยินคำว่า "สัมมา อะระหัง"ในการเดินธุดงค์ครั้งที่ สอง ท่านเดินไปถึงจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อไปถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจึงได้ปักกลดที่นั่น เพราะเห็นว่าเป็นที่ สงบ และอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านนัก เป็นวัดกึ่งวัดร้าง บรรยากาศเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมมาก วันหนึ่งท่านเห็นเด็กต้อนวัวเข้าไปเลี้ยงในบริเวณนั้น จึงห้ามว่า "อย่าปล่อยให้วัวเดินเหยียบย่ำพระซึ่งอยู่ใต้แผ่นดิน จะมีบาปมาก" เด็กเลี้ยงวัวเหล่านั้นไม่เชื่อว่ามีพระพุทธรูปอยู่ใต้ดินท่านจึงให้ขุดดู ปรากฏว่าพบพระพุทธรูปหลายองค์ คนในบริเวณนั้นจึงศรัทธาและเลื่อมใสท่านหลวงปู่ต้องการจะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปในวัด ซึ่งมี ภาพไม่ สมบูรณ์ เพราะถูกทุบทำลายบ้าง และเก่าตามกาลเวลาบ้าง ท่านจึงชักชวนประชาชนในบริเวณนั้นให้มาช่วยกันปฏิสังขรณ์ท่านรวมคนด้วยการ สอนการปฏิบัติธรรม มีคนมาเรียนธรรมปฏิบัติเป็นจำนวนมาก แล้วท่านก็อธิบายอานิสงส์ที่จะได้รับจากการปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป ปรากฏว่ามีชาวบ้านมาช่วยกันปฏิสังขรณ์กันเป็นจำนวนมากด้วยความปลื้มปีติ แต่ยังปฏิสังขรณ์ไม่เสร็จ ก็ได้รับคำสั่งให้กลับวัดพระเชตุพนฯ เนื่องจากเจ้าเมืองสุพรรณบุรีและ มุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีเห็นว่า มีคนมาเรียนธรรมปฏิบัติกับหลวงปู่กันเป็นจำนวนมาก เกรงว่าจะมีการซ่องสุมกำลังพล ครั้นเมื่อ มุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีได้พบกับ สมเด็จพระวันรัต (ติ ทัตตเถระ) วัดพระเชตุพนฯ ในเวลานั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญจึงได้ปรึกษากันเรื่องที่หลวงปู่วัดปากน้ำไปปักกลดธุดงค์อยู่ที่นั่น และขอให้ทางคณะสงฆ์เรียกตัวท่านกลับด้วยความเคารพในการปกครอง หลวงปู่จึงเดินทางออกจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุไปอยู่วัด สองพี่น้อง และจำพรรษาที่นั่น ในขณะที่อยู่ที่วัด สองพี่น้อง ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนนักธรรมและชักชวนกันตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาขึ้น หลังจากนั้นท่านจึงกลับมายังวัดพระเชตุพนฯ อีกครั้งก่อนที่หลวงปู่จะเริ่มเรียนด้านคันถธุระในพรรษาแรก ท่านตั้งใจไว้ว่าจะต้องแปลหนังสือใบลานมหา ติปัฏฐานลานยาวผูกหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่วัด สองพี่น้องให้ได้ ถ้าแปลได้เมื่อไรก็จะหยุดเรียนคันถธุระ แต่ถ้ายังแปลไม่ได้ก็จะต้องเรียนต่อไป เมื่อถึงพรรษาที่ 11 ท่านมีความรู้มากพอที่จะแปลหนังสือใบลานผูกนั้นได้จึงหยุดเรียนด้านคันถธุระในพรรษาที่ 11 นี้เอง

      สมัยที่หลวงปู่เรียนอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ ท่านได้รู้จักกับหลวงพ่อนก1 จึงไปเยี่ยมหลวงพ่อนกที่วัดโบสถ์บน หลวงพ่อนกมักให้ท่านไปเทศน์แทนอยู่เสมอ กิจวัตรที่หลวงปู่ท่านทำเป็นประจำเวลามาอยู่วัดโบสถ์บน คือ เวลาบ่าย 2 โมง ท่านจะเข้าปฏิบัติสมาธิในโบสถ์ บรรยากาศใน สมัยนั้น รอบโบสถ์มีต้นไม้มาก เป็นป่าล้อมรอบ มีความเงียบ สงัดไปทั่วบริเวณ หลวงปู่ท่านไปๆ มาๆ ที่วัดโบสถ์บนอยู่เป็นประจำเมื่อหลวงปู่หยุดเรียนด้านคันถธุระแล้ว ก็มุ่งปฏิบัติด้านวิปัสนาธุระอย่างจริงจัง ในขณะนั้นท่านต้องการจะไปจำพรรษาที่วัดโบสถ์บน ตำบลบางคูเวียง ในคลองบางกอกน้อย เพราะต้องการจะตอบแทนพระคุณของเจ้าอธิการชุ่ม เจ้าอาวาสวัดโบสถ์บน ซึ่งเคยถวายคัมภีร์มูลกัจจายน์ และคัมภีร์พระธรรมบทให้ท่านได้เรียนพระปริยัติธรรม ด้วยการช่วยแสดงธรรมให้กับพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกาในวัดหลวงปู่จึงกราบลาเจ้าคุณ มเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ เดินทางไปจำพรรษาที่วัดโบสถ์บนในพรรษาที่ 12 เมื่อถึงกลางพรรษา ก็มีความคิดว่า "ในเมื่อเราตั้งใจจริงๆ ในการบวช จำเดิมอายุ 19 เราได้ปฏิญาณตนบวชจนตาย ขออย่าให้ตายในระหว่างก่อนบวช บัดนี้ก็ได้บอก ลามาถึง 15 พรรษาย่างเข้าพรรษานี้แล้ว ก็พอแก่ความประสงค์ของเราแล้ว บัดนี้ของจริงของแท้ที่พระพุทธเจ้าท่านรู้ท่านเห็น เราก็ยังไม่ได้บรรลุ ยังไม่รู้ไม่เห็น สมควรแล้วที่จะต้องกระทำอย่างจริงจัง"

Complete and Continue