4.2 วัตรปฏิบัติด้านการประพฤติธรรม

วัตรปฏิบัติด้านการประพฤติธรรม

เป็นคนจริง

      อุปนิสัยประการหนึ่งที่หลวงปู่วัดปากน้ำมีติดตัวมาตั้งแต่เล็กๆ คือ ความเป็นคนจริง ทำอะไรทำจริงการที่ท่านปฏิบัติจนกระทั่งได้บรรลุธรรมเข้าถึงพระธรรมกาย อันเป็นกายตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เพราะท่านมีธาตุของคนจริงอยู่ในเนื้อแท้ของจิตใจใครที่ได้เห็นท่านแม้เพียงลักษณะภายนอก ก็จะต้องชื่นชมในความ สง่างาม พอเห็นเท่านั้นก็เกิดความเคารพรัก อยากจะเข้าใกล้ มีทั้งความเกรงใจ ต้องรีบสำรวมระวัง มีทั้งความเลื่อมใสศรัทธารู้สึกได้ถึงความเมตตา ขณเดียวกันก็มีความน่าเกรงขามด้วย อุปมาท่านเหมือนกับแม่ทัพนั่งบัญชาการรบ ทั้งเด่น ทั้ง สง่างาม ท่านมองหน้าใครตาไม่กะพริบ พอ สบตาท่านเท่านั้น ราวกับแสงจากลูกนัยน์ตาท่านทะลุเข้าไปในใจ เกิดความสว่างภายในใจ เกิดความมั่นใจ ปลอดภัย และอบอุ่นนอกจากนั้น หลวงปู่วัดปากน้ำท่านเป็นผู้มีวาทะตรงกับใจ หากเป็นเรื่องจริงแล้วท่านกล้าพูดไม่ได้สะทกสะท้าน และไม่กลัวคำตำหนิติเตียนใดๆ ในหนังสือนิพนธ์ของสมเด็จป๋าตอนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า"วันหนึ่งพ่อค้าตลาดสำเพ็งเป็นคนมั่งคั่งคนหนึ่งมาถามท่านในเวลาฉันภัตตาหารว่า วันนี้จะมีผู้มาบริจาคสร้างกุฏิ เพื่อเจริญกรรมฐานบ้างไหม ชาวบ้านไม่น้อยกว่า 20 คน ที่นั่งอยู่ในที่นั้น ตั้งใจฟังคำตอบของหลวงปู่ ท่านนั่งนิ่งอยู่ประมาณ 5 นาที แล้วตอบออกไปว่า จะมีผู้บริจาค 23 หลังพอได้เวลาอนุโมทนา ก็มีคณะอุบาสก อุบาสิกาเข้ามากราบหลวงปู่ บอกว่า ศรัทธาจะสร้างกุฏิเพื่อเจริญกรรมฐานอย่างที่หลวงปู่สร้างไว้สัก 23 หลัง ขอให้หลวงปู่จัดการให้ด้วย ท่านไม่ได้หัวเราะยิ้มน้อยๆ พอควรแก่กาล มีผู้ถามท่านว่าพยากรณ์แม่นเหมือนตาเห็น แต่น่ากลัวอันตราย ไม่ควรตอบในเวลานั้นควรบอกเฉพาะตัวหรือ สองต่อสอง ท่านถามว่าอันตรายอย่างไร เขาก็เรียนท่านว่า ถ้าคำพยากรณ์ไม่เป็นจริงชาวบ้านจะเสื่อมศรัทธา ท่านว่า พุทธศาสนาเก๊ได้หรือ ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นของจริง ธรรมกายไม่เคยหลอกลวงใคร เมื่อได้ยินดังนั้นก็จำต้องนิ่ง และไม่คิดจะถวายความเห็นอะไรต่อไป ที่นำมาเขียนไว้

นี้แสดงว่า ญาณของหลวงปู่ให้ความรู้แก่ท่านอย่างไร ท่านก็ต้องพูดอย่างนั้น ถ้าญาณไม่แสดงออกจะเอาอะไรมาพูดได้"ท่านยังกล่าวถึงการปฏิบัติธรรมไว้อีกว่า"หยุดเป็นตัวสำเร็จ หยุดนี่แหละให้มันได้ตรงนี้ซะก่อน อื่นไม่ต้องไปพูดมากนักใหญ่โตมโหฬารพูดหยุดตรงนี้ให้มันตกลงกันเสียก่อน ถ้าไม่หยุดก็เข้าถึงธรรมกายไม่ได้ เราเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ทำกับเขาไม่ได้เชียวหรือ ทำไมจะทำไม่ได้ ทำจริงเข้า ทำไม่จริงต่างหากล่ะมันไม่ได้ จริงล่ะก็ได้ทุกคนจริงแค่ไหน จริงแค่ชีวิตซิ เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหมดไปไม่ว่า เหลือแต่กระดูก หนัง ช่างมัน ถ้าไม่ได้ ไม่ลุกจากที่ นี่จริงแค่นี้ ได้ทุกคน ฉันเอง 2 คราว ไม่ได้ตายเถอะ นิ่ง พอถึงกำหนดเข้าก็ได้ ไม่ได้ตายเถอะ นิ่ง พอถึงกำหนดก็ได้ ไม่ตายซักทีพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รูปนั้น ประกอบความเพียรด้วยจาตุรังคะวิริยะ ด้วยองค์ 4 เหลือแต่กระดูก หนัง ช่างมัน เนื้อ เลือดจะแห้งหมดไปไม่ว่า ประกอบด้วยจาตุรังคะวิริยะเช่นนี้พอถูกส่วนเท่านั้น ในเวลาค่ำได้บรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ เวลายามที่ 2 ได้บรรลุจุตูปปาตญาณเวลายามที่ 3 ได้บรรลุอา วักขยญาณ ท่านจริงอย่างนั้นอาจารย์ของเรา เป็นลูกศิษย์ก็จริงเหมือนกันแหละ ไม่ได้ยอมตาย ไม่หยุดยอมตายกันทีเดียว"


มีความเพียรสม่ำเสมอ

      เรื่องความเพียรในการเจริญสมาธิภาวนานั้น หลวงปู่ท่านทำมิได้ขาดเลยจนวันเดียว ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านไม่เคยว่างเว้นจากการทำความเพียรทางจิต เจริญสมาธิภาวนาเลยจนวันเดียวตั้งแต่อุปสมบทมา ท่านถือหลักในการปฏิบัติที่ว่า "ประกอบเหตุสังเกตผล สนใจเถิด ประเสริฐนัก ประกอบในเหตุสังเกตในผล สนใจเข้าเถิด ประเสริฐดีนัก ประกอบที่ในเหตุสังเกตดูในผล สนใจเข้าเถิด ประเสริฐยิ่งนัก"หลวงปู่ท่าน สอนว่า การปฏิบัตินั้นต้องให้ถึงที่สุด ไม่ว่าเราจะเห็นหรือไม่เห็นก็ให้ปฏิบัติเรื่อยไปอย่าปล่อยให้กาลเวลาล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านจะเน้นเช่นนั้นเสมอ เพราะความเพียรก็ต้องมีที่สุดของความเพียร ความอดทนก็ต้องมีที่สุดของความอดทน ถ้าเรายังปฏิบัติความเพียรไม่ถึงที่สุดเราก็บอกว่าเราเพียรแล้ว ความอดทนเราก็ยังทำไม่ถึงที่สุด เราก็บอกว่าเราอดทนแล้ว เพราะที่สุดของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน เปรียบเหมือนการอ่านหนังสือ บางคนอ่านเพียงหน้าเดียวก็เข้าใจ มีความรู้ทันทีบางคนต้องเปิดอ่านหลายครั้งหลายคราวจึงจะเข้าใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญญาบารมีของแต่ละคนซึ่งมีไม่เท่ากัน


ประพฤติตรงต่อหนทางพระนิพพาน

      การเจริญสมาธิภาวนาของหลวงปู่วัดปากน้ำเป็นกิจวัตรประจำ ไม่เคยว่างเว้นเลยนั้น ทำให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อหนทางของพระนิพพานโดยแท้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระภิกษุที่เล่าเรียนศึกษาธรรมแล้ว ปรารภความเพียร เจริญสมาธิภาวนา ชื่อว่าไม่ประมาทในธรรม และอยู่ใกล้พระนิพพาน ดังพุทธพจน์ที่ว่า"ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีลสำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ และหมั่นประกอบความไม่เห็นแก่นอน เป็นผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งวันทั้งคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นภิกษุยินดีในอัปปมาทธรรม หรือเห็นภัยในความประมาทโดยปกติ ย่อมเป็นผู้ไม่พอที่จะเสื่อม เป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว"หลวงปู่ท่านยังกล่าวไว้ด้วยว่า "นั่งภาวนาทำใจให้หยุด ให้หยุดสักกะพริบตาเดียวเท่านั้นที่สร้างโบสถ์สร้างวิหาร ศาลาการเปรียญสู้ไม่ได้หรอก ให้เราแสวงหาเขตบุญในพระพุทธศาสนาให้มั่นเชียวนะ ให้ใจหยุดเป็นตัวสำคัญ หยุดนี้เป็นทางมรรคผลนิพพาน พวกให้ทาน รักษาศีลยังไกลกว่า หยุดนี้ใกล้นิพพานนัก"


อธิศีล

      หลวงปู่เป็นพระที่รักษาศีลอย่างเคร่งครัด และถูกต้องตามพระธรรมวินัย ท่านมีความปรารถนาดีกับพระภิกษุสามเณร แม่ชี ทุกรูปทุกคน ต้องการให้รักษาศีลได้บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างท่าน เรื่องเงินเรื่องทอง ท่านไม่เคยจับเลย ท่านจะให้ไวยาวัจกรคอยดูแลเรื่องนี้แทน มีไวยาวัจกรประจำวัดคนหนึ่งชื่อลุงประยูรสุนทารา ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการเงิน ทำบัญชีรายรับรายจ่ายทุกประเภทของวัด รวมทั้งดูแลรักษาสิ่งของทุกชนิดที่มีผู้นำมาถวายหลวงปู่และถวายเป็นสมบัติของวัด ลุงประยูรทำหน้าที่นี้จนชรามากจึงลาออกหลวงปู่ท่านฉันภัตตาหารด้วยอาการสำรวมทุกครั้ง ท่านปฏิบัติตามหลักเสขิยวัตรทุกข้อแม้น้ำแกงท่านก็ไม่เคยฉันหกเลย ข้าวในจานท่านตะล่อมไว้ตรงกลางอย่างเรียบร้อยน้ำปานะที่หลวงปู่ฉันในยามวิกาล ก็ต้องมาจากผลไม้ที่ลูกไม่เกินกำปัน ท่านบอกว่าผลไม้ถ้าเกินกำปันใช้ไม่ได้ น้ำที่ท่านชอบคือน้ำอ้อย มีอยู่วันหนึ่งแม่ครัวทำน้ำปานะเข้าไปถวายท่าน ท่านถามว่าน้ำอะไร น้ำ ส้มโอเจ้าค่ะ ท่านบอกว่าให้เอากลับไป ฉันไม่ได้ ลูกมันใหญ่ ท่านบอกว่าถ้าเป็น ส้ม เป็นมะตูมได้เคยมีผู้นำนมสดไปถวายท่านในตอนเย็น ท่านไม่ฉัน เนยท่านก็ไม่ฉัน สมัยนั้นท่านห้ามเด็ดขาดอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นเครื่องยืนยันถึงความบริสุทธิ์ในศีลของท่านได้เป็นอย่างดี คือ ในคราวที่ท่านอาพาธหนัก ท่านฉันภัตตาหารได้น้อย เจ้าคุณราชโมลีเกรงว่าหลวงปู่จะไม่มีเรี่ยวแรงต่อสู้กับโรคร้ายจึงได้สั่งให้แม่ชีธัญญาณีสุดเกษ ซึ่งมีหน้าที่ทำอาหารพิเศษถวายหลวงปู่โดยเฉพาะ ต้มข้าวให้เปื่อยบดให้ละเอียด แล้วกรองด้วยผ้าขาว ใส่กระติกน้ำร้อนมาถวายหลวงปู่ในเวลาหลังเพลไปแล้ว เหตุที่ต้องใส่กระติกน้ำร้อน เพื่อให้ท่านเข้าใจว่าเป็นน้ำร้อนธรรมดา เพราะเจ้าคุณท่านเกรงว่าหากหลวงปู่รู้จะไม่ยอมฉัน เมื่อนำมาถวายท่านกลับรู้ได้เองโดยไม่มีใครบอก ท่านก็ไม่ยอมฉันท่านเป็นพระที่เคร่งครัดและอดทนมาก แม้ยามป่วย ท่านก็ยังฉันเอง ไม่ให้คนอื่นช่วย บางวันเกินเวลาแล้วมีคนเอาน้ำข้าวไปป้อน ท่านก็ไม่รับ ท่านคายออกหมด


ความกตัญูกตเวที

      เมื่อคราวสมเด็จพระวันรัต (ติ ทัตตเถร) อาพาธ หลวงปู่ได้แสดงความกตัญูโดยการจัดภัตตาหารและรังนกจากวัดปากน้ำไปถวายทุกวัน ท่านตั้งงบประมาณไว้วันละ 40 บาท ทุกเช้าในเวลา 4.00 น. หลวงปู่ให้คนลงเรือจ้างจากปากคลองตลาดไปวัดพระเชตุพนฯ ไปถึงก็ได้อรุณพอดีเมื่อถวายภัตตาหารแล้ว กลับไปต้องรายงานให้ท่านทราบทุกครั้งที่ต้องนำภัตตาหารไปทางเรือ เพราะ สมัยนั้นอยู่ในช่วง สงครามสะพานพุทธชำรุดส่วนถนนฝังธนบุรีไปถึงตลาดยังสร้างไม่เสร็จ รถโดยสารก็ยังไม่มี หลวงปู่ทำอย่างนี้อยู่หลายเดือนจนกระทั่งสมเด็จพระวันรัตมรณภาพการที่หลวงปู่แสดงความกตัญูด้วยคิลานุปัฏฐากนี้ ทำให้ สมเด็จพระวันรัตเห็นถึงคุณธรรมในตัวหลวงปู่ จนวันหนึ่งเมื่อเจ้าคุณพระพิมลธรรม (ฐานทัตตเถร) วัดมหาธาตุ มาเยี่ยม สมเด็จพระวันรัตในเวลาค่ำ สมเด็จพระวันรัตได้เอ่ยปากขอร้องให้ช่วยแต่งตั้งพระครู สมณธรรม มาทาน วัดปากน้ำ เป็นอุปัชฌายะด้วยเจ้าคุณพระพิมลธรรมรับด้วยความยินดี และรับรองว่าจะจัดการให้ ในเวลาต่อมา หลวงปู่วัดปากน้ำก็ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และสิ่งที่แสดงออกถึงความกตัญูกตเวทีของหลวงปู่อีกเหตุการณ์หนึ่งก็คือ ใน สมัยที่ท่านเรียนทางปริยัติอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ ท่านลำบากในเรื่องการขบฉันมาก บางวันบิณฑบาตไม่พอฉัน บางวันไม่ได้เลย แต่ด้วยความเพียรจึงมีผู้เลื่อมใสปวารณาในเรื่องภัตตาหาร รวมทั้งแม่ค้าข้าวแกงคนหนึ่งที่ชื่อ นวมก็ได้จัดภัตตาหารเพลถวายเป็นประจำ เมื่อหลวงปู่ย้ายมาวัดปากน้ำ แม่ค้าผู้นี้ทุพพลภาพลงเพราะชรา ขาดผู้อุปการะ ท่านก็ได้รับตัวมาอยู่ที่วัดปากน้ำ และอุปการะทุกวิถีทาง เมื่อสิ้นชีวิตก็ได้จัดการฌาปนกิจศพให้นับว่าท่านเป็นผู้ที่มีความกตัญูที่หาได้ยากยิ่ง


เห็นคุณค่าในสิ่งเล็กน้อย

      หลวงปู่ท่านเห็นคุณค่าในทุกสิ่งที่ญาติโยมถวายมา แม้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ท่านไม่มองข้ามเลยอย่างเช่นในเวลาที่หลวงปู่เดินไปฉันภัตตาหารที่โรงครัว ครั้งใดที่ท่านเห็นเมล็ดข้าวสารเมล็ดเล็กๆ ตกอยู่บนพื้น หลวงปู่จะเรียกเด็กมาเก็บทุกที เพราะเห็นว่าเมล็ดข้าวสารแม้เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเก็บบ่อยๆ เข้าก็จะรวมกันเป็นจำนวนมากสามารถนำมาเลี้ยงคนได้เหมือนกัน เมื่อญาติโยมที่มาทำบุญเห็นก็ยิ่งเกิดความเลื่อมใสท่านมากขึ้น ดังนั้นไม่แปลกเลยที่ใน สมัยนั้นจะมีผู้นำข้าวสารบรรทุกเรือมาถวายที่วัดปากน้ำไม่ขาดสายหลวงปู่ท่านเป็นคนประหยัด ละเอียดถี่ถ้วน เดินไปตามถนนพบเห็นเศษไม้เป็นท่อน ก็เก็บเอามา

บอกว่าเอาไว้ทำฟืนได้ พวกผ้าขี้ริ้วขาดแล้วอย่าเอาไปทิ้ง เผื่อมันจำเป็น อะไรรั่วขึ้นมา เอาน้ำมันยางโปะก็กันได้ชั่วระยะ ไม่ให้ทิ้ง และที่ล้างชามอย่าไปเทพรวดๆ ค่อยๆ รินเอาน้ำออก แล้วเอาส่วนที่เหลือ ไปให้หมูให้หมากิน ท่าน สอนละเอียดเลย สอนบ่อยๆ สอนมากๆ เข้าก็ค่อยๆ ซึมเข้าไป

 

ความประหยัด

      มีผู้มีจิตศรัทธามาถวายผ้าไตรจีวรกับหลวงปู่เป็นจำนวนมาก แต่หลวงปู่ก็ไม่ได้เก็บไว้เป็นของส่วนตัวเลย จะเอาไว้ก็เฉพาะที่ใช้เท่านั้น นอกนั้นท่านถวายแก่พระภิกษุสามเณรหมด ท่านใช้จีวรอย่างประหยัดมาก แม้ว่าจีวรจะเก่าแล้วท่านก็ยังไม่เปลี่ยน หากจีวรขาดหรือเป็นรู ท่านก็ให้ซ่อมแซมแล้วนำมาใช้ต่อ ยิ่งในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงที่ทุกอย่างขาดแคลน เนื่องจากภาวะ สงคราม หลวงปู่ท่านประหยัดมากถึงขนาดที่ว่า ท่านให้เอาอังสะหลายๆ ตัวที่ไม่ได้ใช้ ให้มาเย็บต่อกันจนเป็นจีวร แต่เนื่องจากอังสะบางตัวจะมีสีไม่เหมือนกัน ทำให้จีวรผืนนี้มีหลากสี มีทั้ง สีเหลืองเข้ม สีกลัก สีเหลืองแก่ เมื่อเย็บเสร็จ

แล้ว ท่านนำจีวรผืนนี้ไปแจกพระภิกษุสามเณรรูปอื่นๆ แต่ก็ไม่มีใครรับ ท่านจึงนำมาใช้เอง ท่านใส่เดินทุกวัน ต่อมามีลูกศิษย์ผู้หนึ่งขอจีวรผืนนี้ไปบูชา ท่านจึงให้ไปผู้ที่เห็นถึงความประหยัดของท่านในเวลานั้น ต่างก็ยิ่งเลื่อมใสในหลวงปู่มากยิ่งขึ้น เห็นว่าท่านใช้เงินทุกบาททุก สตางค์ที่ญาติโยมถวายอย่างคุ้มค่าจริงๆ บรรดาญาติโยมจึงไม่เสียดายเมื่อได้ทำบุญกับท่าน และยังทำบุญกับท่านอย่างต่อเนื่องตลอดมา


มีความมักน้อยสันโดษ

      หลวงปู่ท่านอยู่ง่าย เรือนที่ท่านอยู่เป็นเรือนไม้หรือกุฏิเก่าสังกะสีเก่า โบราณ ไม่มีตู้เย็นไม่มีข้าวของเครื่องใช้ที่ทัน สมัยในกุฏิของท่าน เตียงของท่านก็เก่า ตัวท่านก็ไม่ฟุ่มเฟือย ท่านมีแต่บริจาคมีแต่ดูแลพระศาสนา


มีวาจาสุภาษิต

      บางคนมักเข้าใจว่าหลวงปู่ท่านเป็นคนดุ แต่ความจริงแล้วท่านเป็นพระที่รู้จักใช้คำพูด ท่านพูดด้วยความเมตตา ไม่พูดให้ใครเสียกำลังใจ คราวหนึ่งแม่ครัวนึ่งข้าวแล้วเข้าใจว่าข้าวสุกแล้ว ไม่ได้ดูให้ดีแล้วเตรียมไปถวายหลวงปู่ พอไปถึงท่านบอกว่า "แม่ครัวช่วยเปลี่ยนข้าวให้หน่อย ข้าวมันแข็ง" ท่านพูดเพียงเท่านี้ ไม่ได้ตำหนิอะไร พอแม่ครัวเอาข้าวมาดู ปรากฏว่าข้าวทั้งแข็ง ทั้งดิบ


มีมหากรุณา

       หลวงปู่ท่านเมตตาต่อทุกคนอย่างเสมอภาค มีอะไรท่านจะแบ่งปันให้กับทุกคน ครั้งหนึ่งท่านเก็บมะม่วงใส่กระจาดแล้วให้แม่ชีจับฉลากกัน ใครอยากได้ก็อธิษฐานเอา หากใครขาดแคลนสิ่งใดท่านก็จะหามาให้ คราวหนึ่งในฤดูหนาว มีเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ออกมายืนบริเวณหน้าโรงงานทำวิชชาดูท่าทางเขาหนาวมาก ป้าจินตนา โอสถ (ขณะนั้นเป็นแม่ชี) เกิดความสงสาร จึงเอาผ้าห่มของตัวเองที่มีอยู่ผืนเดียวให้เขาไป เย็นวันนั้นหลวงปู่ถามว่า "ใครไม่มีผ้าห่มบ้างวะ" แล้วท่านก็ส่งผ้าห่มมาให้ 1 ผืนผ่านมาทางช่องส่งของเล็กๆ ของโรงงานทำวิชชาอีกคราวหนึ่ง เป็นเรื่องของสามเณรทวนชัย ซึ่งมีจีวรอยู่ผืนเดียว ใช้มา 78 ปี จนเก่ามากตัดสินใจไปขอผืนใหม่จากหลวงปู่ พอเข้าไปกราบ ท่านก็ถามว่า "เออ..มาอะไรลูก" "ผมไม่มีจีวรครับ

จีวรผืนนี้มันเก่า มันจะขาดหมดแล้ว" ท่านก็ให้ลุงประยูรซึ่งเป็นอุปัฏฐากของท่านไปหามาให้ เลือกเอาที่พอดีกับตัวสามเณร


มีความอ่อนน้อมถ่อมตน

      คราวหนึ่งพระมหาโชดก ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่และมีตำแหน่งสูง มีหน้าที่ดูแลวัดปากน้ำใน สมัยนั้นท่านมีความเข้าใจในเรื่องกรรมฐานแตกต่างไปจากหลวงปู่ ท่านเชื่อว่าการปฏิบัติสายวัดปากน้ำไม่ใช่พุทธศาสนา ไม่ใช่ทางวิปัสนา ไม่ใช่ทางหลุดพ้น และไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง เมื่อท่านมาที่วัดปากน้ำ หลวงปู่ก็แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน ท่านทั้งสองได้สนทนาธรรมกันในโบสถ์อยู่หลายวัน ภายหลังหลวงปู่ได้น้อมถวายรูปภาพชิ้นหนึ่งแก่ท่าน พร้อมกับเขียนข้อความว่า "รูปนี้ให้ไว้เป็นที่ระลึก เนื่องในโอกาสที่พระเดชพระคุณมา สอนวิปัสนากรรมฐานให้กระผม ซึ่งเห็นว่าถูกต้องทุกอย่าง" ด้วยมารยาท และเป็นพระผู้น้อย หลวงปู่ได้วางตัวให้เกียรติกับพระผู้ใหญ่ผลจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้มีบางท่านเข้าใจไปว่า หลวงปู่ได้ละทิ้งวิชชาธรรมกาย แล้วหันมาปฏิบัติตามแบบของพระมหาโชดก ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เป็นด้วยหลวงปู่ท่านแสดงความนอบน้อมต่อพระผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นธรรมเนียมที่ดีงามของผู้เป็นเจ้าของสถานที่พึงกระทำต่อผู้มาเยือน นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานชิ้นใดที่แสดงให้เห็นว่าท่านปฏิเสธวิชชาธรรมกายเลย

มีความเพียรสม่ำเสมอ

      เรื่องความเพียรในการเจริญสมาธิภาวนานั้น หลวงปู่ท่านทำมิได้ขาดเลยจนวันเดียว ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านไม่เคยว่างเว้นจากการทำความเพียรทางจิต เจริญสมาธิภาวนาเลยจนวันเดียวตั้งแต่อุปสมบทมา ท่านถือหลักในการปฏิบัติที่ว่า "ประกอบเหตุสังเกตผล สนใจเถิด ประเสริฐนัก ประกอบในเหตุสังเกตในผล สนใจเข้าเถิด ประเสริฐดีนัก ประกอบที่ในเหตุสังเกตดูในผล สนใจเข้าเถิด ประเสริฐยิ่งนัก"หลวงปู่ท่าน สอนว่า การปฏิบัตินั้นต้องให้ถึงที่สุด ไม่ว่าเราจะเห็นหรือไม่เห็นก็ให้ปฏิบัติเรื่อยไปอย่าปล่อยให้กาลเวลาล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านจะเน้นเช่นนั้นเสมอ เพราะความเพียรก็ต้องมีที่สุดของความเพียร ความอดทนก็ต้องมีที่สุดของความอดทน ถ้าเรายังปฏิบัติความเพียรไม่ถึงที่สุดเราก็บอกว่าเราเพียรแล้ว ความอดทนเราก็ยังทำไม่ถึงที่สุด เราก็บอกว่าเราอดทนแล้ว เพราะที่สุดของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน เปรียบเหมือนการอ่านหนังสือ บางคนอ่านเพียงหน้าเดียวก็เข้าใจ มีความรู้ทันทีบางคนต้องเปิดอ่านหลายครั้งหลายคราวจึงจะเข้าใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญญาบารมีของแต่ละคนซึ่งมีไม่เท่ากัน

ประพฤติตรงต่อหนทางพระนิพพาน

      การเจริญสมาธิภาวนาของหลวงปู่วัดปากน้ำเป็นกิจวัตรประจำ ไม่เคยว่างเว้นเลยนั้น ทำให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อหนทางของพระนิพพานโดยแท้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระภิกษุที่เล่าเรียนศึกษาธรรมแล้ว ปรารภความเพียร เจริญสมาธิภาวนา ชื่อว่าไม่ประมาทในธรรม และอยู่ใกล้พระนิพพาน ดังพุทธพจน์ที่ว่า"ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีลสำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ และหมั่นประกอบความไม่เห็นแก่นอน เป็นผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งวันทั้งคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นภิกษุยินดีในอัปปมาทธรรม หรือเห็นภัยในความประมาทโดยปกติ ย่อมเป็นผู้ไม่พอที่จะเสื่อม เป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว"หลวงปู่ท่านยังกล่าวไว้ด้วยว่า "นั่งภาวนาทำใจให้หยุด ให้หยุดสักกะพริบตาเดียวเท่านั้นที่สร้างโบสถ์สร้างวิหาร ศาลาการเปรียญสู้ไม่ได้หรอก ให้เราแสวงหาเขตบุญในพระพุทธศาสนาให้มั่นเชียวนะ ให้ใจหยุดเป็นตัวสำคัญ หยุดนี้เป็นทางมรรคผลนิพพาน พวกให้ทาน รักษาศีลยังไกลกว่า หยุดนี้ใกล้นิพพานนัก"

อธิศีล

      หลวงปู่เป็นพระที่รักษาศีลอย่างเคร่งครัด และถูกต้องตามพระธรรมวินัย ท่านมีความปรารถนาดีกับพระภิกษุสามเณร แม่ชี ทุกรูปทุกคน ต้องการให้รักษาศีลได้บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างท่าน เรื่องเงินเรื่องทอง ท่านไม่เคยจับเลย ท่านจะให้ไวยาวัจกรคอยดูแลเรื่องนี้แทน มีไวยาวัจกรประจำวัดคนหนึ่งชื่อลุงประยูรสุนทารา ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการเงิน ทำบัญชีรายรับรายจ่ายทุกประเภทของวัด รวมทั้งดูแลรักษาสิ่งของทุกชนิดที่มีผู้นำมาถวายหลวงปู่และถวายเป็นสมบัติของวัด ลุงประยูรทำหน้าที่นี้จนชรามากจึงลาออกหลวงปู่ท่านฉันภัตตาหารด้วยอาการสำรวมทุกครั้ง ท่านปฏิบัติตามหลักเสขิยวัตรทุกข้อแม้น้ำแกงท่านก็ไม่เคยฉันหกเลย ข้าวในจานท่านตะล่อมไว้ตรงกลางอย่างเรียบร้อยน้ำปานะที่หลวงปู่ฉันในยามวิกาล ก็ต้องมาจากผลไม้ที่ลูกไม่เกินกำปัน ท่านบอกว่าผลไม้ถ้าเกินกำปันใช้ไม่ได้ น้ำที่ท่านชอบคือน้ำอ้อย มีอยู่วันหนึ่งแม่ครัวทำน้ำปานะเข้าไปถวายท่าน ท่านถามว่าน้ำอะไร น้ำ ส้มโอเจ้าค่ะ ท่านบอกว่าให้เอากลับไป ฉันไม่ได้ ลูกมันใหญ่ ท่านบอกว่าถ้าเป็น ส้ม เป็นมะตูมได้เคยมีผู้นำนมสดไปถวายท่านในตอนเย็น ท่านไม่ฉัน เนยท่านก็ไม่ฉัน สมัยนั้นท่านห้ามเด็ดขาดอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นเครื่องยืนยันถึงความบริสุทธิ์ในศีลของท่านได้เป็นอย่างดี คือ ในคราวที่ท่านอาพาธหนัก ท่านฉันภัตตาหารได้น้อย เจ้าคุณราชโมลีเกรงว่าหลวงปู่จะไม่มีเรี่ยวแรงต่อสู้กับโรคร้ายจึงได้สั่งให้แม่ชีธัญญาณีสุดเกษ ซึ่งมีหน้าที่ทำอาหารพิเศษถวายหลวงปู่โดยเฉพาะ ต้มข้าวให้เปื่อยบดให้ละเอียด แล้วกรองด้วยผ้าขาว ใส่กระติกน้ำร้อนมาถวายหลวงปู่ในเวลาหลังเพลไปแล้ว เหตุที่ต้องใส่กระติกน้ำร้อน เพื่อให้ท่านเข้าใจว่าเป็นน้ำร้อนธรรมดา เพราะเจ้าคุณท่านเกรงว่าหากหลวงปู่รู้จะไม่ยอมฉัน เมื่อนำมาถวายท่านกลับรู้ได้เองโดยไม่มีใครบอก ท่านก็ไม่ยอมฉันท่านเป็นพระที่เคร่งครัดและอดทนมาก แม้ยามป่วย ท่านก็ยังฉันเอง ไม่ให้คนอื่นช่วย บางวันเกินเวลาแล้วมีคนเอาน้ำข้าวไปป้อน ท่านก็ไม่รับ ท่านคายออกหมด

ความกตัญูกตเวที

      เมื่อคราวสมเด็จพระวันรัต (ติ ทัตตเถร) อาพาธ หลวงปู่ได้แสดงความกตัญูโดยการจัดภัตตาหารและรังนกจากวัดปากน้ำไปถวายทุกวัน ท่านตั้งงบประมาณไว้วันละ 40 บาท ทุกเช้าในเวลา 4.00 น. หลวงปู่ให้คนลงเรือจ้างจากปากคลองตลาดไปวัดพระเชตุพนฯ ไปถึงก็ได้อรุณพอดีเมื่อถวายภัตตาหารแล้ว กลับไปต้องรายงานให้ท่านทราบทุกครั้งที่ต้องนำภัตตาหารไปทางเรือ เพราะ สมัยนั้นอยู่ในช่วง สงครามสะพานพุทธชำรุดส่วนถนนฝังธนบุรีไปถึงตลาดยังสร้างไม่เสร็จ รถโดยสารก็ยังไม่มี หลวงปู่ทำอย่างนี้อยู่หลายเดือนจนกระทั่งสมเด็จพระวันรัตมรณภาพการที่หลวงปู่แสดงความกตัญูด้วยคิลานุปัฏฐากนี้ ทำให้ สมเด็จพระวันรัตเห็นถึงคุณธรรมในตัวหลวงปู่ จนวันหนึ่งเมื่อเจ้าคุณพระพิมลธรรม (ฐานทัตตเถร) วัดมหาธาตุ มาเยี่ยม สมเด็จพระวันรัตในเวลาค่ำ สมเด็จพระวันรัตได้เอ่ยปากขอร้องให้ช่วยแต่งตั้งพระครู สมณธรรม มาทาน วัดปากน้ำ เป็นอุปัชฌายะด้วยเจ้าคุณพระพิมลธรรมรับด้วยความยินดี และรับรองว่าจะจัดการให้ ในเวลาต่อมา หลวงปู่วัดปากน้ำก็ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และสิ่งที่แสดงออกถึงความกตัญูกตเวทีของหลวงปู่อีกเหตุการณ์หนึ่งก็คือ ใน สมัยที่ท่านเรียนทางปริยัติอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ ท่านลำบากในเรื่องการขบฉันมาก บางวันบิณฑบาตไม่พอฉัน บางวันไม่ได้เลย แต่ด้วยความเพียรจึงมีผู้เลื่อมใสปวารณาในเรื่องภัตตาหาร รวมทั้งแม่ค้าข้าวแกงคนหนึ่งที่ชื่อ นวมก็ได้จัดภัตตาหารเพลถวายเป็นประจำ เมื่อหลวงปู่ย้ายมาวัดปากน้ำ แม่ค้าผู้นี้ทุพพลภาพลงเพราะชรา ขาดผู้อุปการะ ท่านก็ได้รับตัวมาอยู่ที่วัดปากน้ำ และอุปการะทุกวิถีทาง เมื่อสิ้นชีวิตก็ได้จัดการฌาปนกิจศพให้นับว่าท่านเป็นผู้ที่มีความกตัญูที่หาได้ยากยิ่ง

เห็นคุณค่าในสิ่งเล็กน้อย

      หลวงปู่ท่านเห็นคุณค่าในทุกสิ่งที่ญาติโยมถวายมา แม้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ท่านไม่มองข้ามเลยอย่างเช่นในเวลาที่หลวงปู่เดินไปฉันภัตตาหารที่โรงครัว ครั้งใดที่ท่านเห็นเมล็ดข้าวสารเมล็ดเล็กๆ ตกอยู่บนพื้น หลวงปู่จะเรียกเด็กมาเก็บทุกที เพราะเห็นว่าเมล็ดข้าวสารแม้เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเก็บบ่อยๆ เข้าก็จะรวมกันเป็นจำนวนมากสามารถนำมาเลี้ยงคนได้เหมือนกัน เมื่อญาติโยมที่มาทำบุญเห็นก็ยิ่งเกิดความเลื่อมใสท่านมากขึ้น ดังนั้นไม่แปลกเลยที่ใน สมัยนั้นจะมีผู้นำข้าวสารบรรทุกเรือมาถวายที่วัดปากน้ำไม่ขาดสายหลวงปู่ท่านเป็นคนประหยัด ละเอียดถี่ถ้วน เดินไปตามถนนพบเห็นเศษไม้เป็นท่อน ก็เก็บเอามา

บอกว่าเอาไว้ทำฟืนได้ พวกผ้าขี้ริ้วขาดแล้วอย่าเอาไปทิ้ง เผื่อมันจำเป็น อะไรรั่วขึ้นมา เอาน้ำมันยางโปะก็กันได้ชั่วระยะ ไม่ให้ทิ้ง และที่ล้างชามอย่าไปเทพรวดๆ ค่อยๆ รินเอาน้ำออก แล้วเอาส่วนที่เหลือ ไปให้หมูให้หมากิน ท่าน สอนละเอียดเลย สอนบ่อยๆ สอนมากๆ เข้าก็ค่อยๆ ซึมเข้าไป

 ความประหยัด

      มีผู้มีจิตศรัทธามาถวายผ้าไตรจีวรกับหลวงปู่เป็นจำนวนมาก แต่หลวงปู่ก็ไม่ได้เก็บไว้เป็นของส่วนตัวเลย จะเอาไว้ก็เฉพาะที่ใช้เท่านั้น นอกนั้นท่านถวายแก่พระภิกษุสามเณรหมด ท่านใช้จีวรอย่างประหยัดมาก แม้ว่าจีวรจะเก่าแล้วท่านก็ยังไม่เปลี่ยน หากจีวรขาดหรือเป็นรู ท่านก็ให้ซ่อมแซมแล้วนำมาใช้ต่อ ยิ่งในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงที่ทุกอย่างขาดแคลน เนื่องจากภาวะ สงคราม หลวงปู่ท่านประหยัดมากถึงขนาดที่ว่า ท่านให้เอาอังสะหลายๆ ตัวที่ไม่ได้ใช้ ให้มาเย็บต่อกันจนเป็นจีวร แต่เนื่องจากอังสะบางตัวจะมีสีไม่เหมือนกัน ทำให้จีวรผืนนี้มีหลากสี มีทั้ง สีเหลืองเข้ม สีกลัก สีเหลืองแก่ เมื่อเย็บเสร็จ

แล้ว ท่านนำจีวรผืนนี้ไปแจกพระภิกษุสามเณรรูปอื่นๆ แต่ก็ไม่มีใครรับ ท่านจึงนำมาใช้เอง ท่านใส่เดินทุกวัน ต่อมามีลูกศิษย์ผู้หนึ่งขอจีวรผืนนี้ไปบูชา ท่านจึงให้ไปผู้ที่เห็นถึงความประหยัดของท่านในเวลานั้น ต่างก็ยิ่งเลื่อมใสในหลวงปู่มากยิ่งขึ้น เห็นว่าท่านใช้เงินทุกบาททุก สตางค์ที่ญาติโยมถวายอย่างคุ้มค่าจริงๆ บรรดาญาติโยมจึงไม่เสียดายเมื่อได้ทำบุญกับท่าน และยังทำบุญกับท่านอย่างต่อเนื่องตลอดมา

มีความมักน้อยสันโดษ

      หลวงปู่ท่านอยู่ง่าย เรือนที่ท่านอยู่เป็นเรือนไม้หรือกุฏิเก่าสังกะสีเก่า โบราณ ไม่มีตู้เย็นไม่มีข้าวของเครื่องใช้ที่ทัน สมัยในกุฏิของท่าน เตียงของท่านก็เก่า ตัวท่านก็ไม่ฟุ่มเฟือย ท่านมีแต่บริจาคมีแต่ดูแลพระศาสนา

มีวาจาสุภาษิต

      บางคนมักเข้าใจว่าหลวงปู่ท่านเป็นคนดุ แต่ความจริงแล้วท่านเป็นพระที่รู้จักใช้คำพูด ท่านพูดด้วยความเมตตา ไม่พูดให้ใครเสียกำลังใจ คราวหนึ่งแม่ครัวนึ่งข้าวแล้วเข้าใจว่าข้าวสุกแล้ว ไม่ได้ดูให้ดีแล้วเตรียมไปถวายหลวงปู่ พอไปถึงท่านบอกว่า "แม่ครัวช่วยเปลี่ยนข้าวให้หน่อย ข้าวมันแข็ง" ท่านพูดเพียงเท่านี้ ไม่ได้ตำหนิอะไร พอแม่ครัวเอาข้าวมาดู ปรากฏว่าข้าวทั้งแข็ง ทั้งดิบ

มีมหากรุณา

       หลวงปู่ท่านเมตตาต่อทุกคนอย่างเสมอภาค มีอะไรท่านจะแบ่งปันให้กับทุกคน ครั้งหนึ่งท่านเก็บมะม่วงใส่กระจาดแล้วให้แม่ชีจับฉลากกัน ใครอยากได้ก็อธิษฐานเอา หากใครขาดแคลนสิ่งใดท่านก็จะหามาให้ คราวหนึ่งในฤดูหนาว มีเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ออกมายืนบริเวณหน้าโรงงานทำวิชชาดูท่าทางเขาหนาวมาก ป้าจินตนา โอสถ (ขณะนั้นเป็นแม่ชี) เกิดความสงสาร จึงเอาผ้าห่มของตัวเองที่มีอยู่ผืนเดียวให้เขาไป เย็นวันนั้นหลวงปู่ถามว่า "ใครไม่มีผ้าห่มบ้างวะ" แล้วท่านก็ส่งผ้าห่มมาให้ 1 ผืนผ่านมาทางช่องส่งของเล็กๆ ของโรงงานทำวิชชาอีกคราวหนึ่ง เป็นเรื่องของสามเณรทวนชัย ซึ่งมีจีวรอยู่ผืนเดียว ใช้มา 78 ปี จนเก่ามากตัดสินใจไปขอผืนใหม่จากหลวงปู่ พอเข้าไปกราบ ท่านก็ถามว่า "เออ..มาอะไรลูก" "ผมไม่มีจีวรครับจีวรผืนนี้มันเก่า มันจะขาดหมดแล้ว" ท่านก็ให้ลุงประยูรซึ่งเป็นอุปัฏฐากของท่านไปหามาให้ เลือกเอาที่พอดีกับตัวสามเณร

มีความอ่อนน้อมถ่อมตน

      คราวหนึ่งพระมหาโชดก ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่และมีตำแหน่งสูง มีหน้าที่ดูแลวัดปากน้ำใน สมัยนั้นท่านมีความเข้าใจในเรื่องกรรมฐานแตกต่างไปจากหลวงปู่ ท่านเชื่อว่าการปฏิบัติสายวัดปากน้ำไม่ใช่พุทธศาสนา ไม่ใช่ทางวิปัสนา ไม่ใช่ทางหลุดพ้น และไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง เมื่อท่านมาที่วัดปากน้ำ หลวงปู่ก็แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน ท่านทั้งสองได้สนทนาธรรมกันในโบสถ์อยู่หลายวัน ภายหลังหลวงปู่ได้น้อมถวายรูปภาพชิ้นหนึ่งแก่ท่าน พร้อมกับเขียนข้อความว่า "รูปนี้ให้ไว้เป็นที่ระลึก เนื่องในโอกาสที่พระเดชพระคุณมา สอนวิปัสนากรรมฐานให้กระผม ซึ่งเห็นว่าถูกต้องทุกอย่าง" ด้วยมารยาท และเป็นพระผู้น้อย หลวงปู่ได้วางตัวให้เกียรติกับพระผู้ใหญ่ผลจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้มีบางท่านเข้าใจไปว่า หลวงปู่ได้ละทิ้งวิชชาธรรมกาย แล้วหันมาปฏิบัติตามแบบของพระมหาโชดก ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เป็นด้วยหลวงปู่ท่านแสดงความนอบน้อมต่อพระผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นธรรมเนียมที่ดีงามของผู้เป็นเจ้าของสถานที่พึงกระทำต่อผู้มาเยือน นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานชิ้นใดที่แสดงให้เห็นว่าท่านปฏิเสธวิชชาธรรมกายเลย

Complete and Continue