3.2 อุปสรรคและการต่อสู้ของหลวงปู่

อุปสรรคและการต่อสู้

      เมื่อหลวงปู่มาอยู่ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญใหม่ๆ การปกครองเป็นไปด้วยความยากลำบาก ในเบื้องต้น ท่านได้เริ่มปราบปรามเหล่าพระภิกษุสามเณรที่มีความประพฤติไม่ดีต่างๆ ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อเจ้าคณะตำบลและพระภิกษุสามเณรที่เคยอยู่มาเก่าก่อน แม้แต่ชาวบ้านในถิ่นนั้นก็พากันเป็นศัตรูกับท่านด้วย ได้ช่วยกันแพร่ข่าวอันไม่เป็นมงคลทับถมท่านด้วยประการต่างๆ มีการดักทำร้ายถึงขั้นส่งคนมาดักยิงก็มีวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิด วันนั้นมีการแสดงธรรม หลวงปู่ให้พระกมล ซึ่งเป็นพระลูกศิษย์ของท่านขึ้นเทศน์บนธรรมาสน์แทน เทศน์เรื่องพระกรรมฐาน ซึ่งหลวงปู่นั่งฟังอยู่ด้วย

เทศน์เสร็จเวลา 20.00 น. ขณะที่หลวงปู่กำลังจะกลับกุฏิ ท่านเดินออกมาถึงหน้าศาลาการเปรียญ ก็มีเสียงปืนดังขึ้น 2 นัด "ปัง ปัง" ลูกกระสุนปนวิ่งทะลุผ่านจีวรของท่านขาดเป็นรู 2 รู ไปโดนนายพร้อมอุปัฏฐากที่เดินตามหลัง ทะลุแก้มเป็นบาดแผลสาหัสแต่ไม่ตายส่วนท่านไม่เป็นอะไรเลย ด้วยอานุภาพของศีลที่ท่านรักษาอย่างบริสุทธิ์เสมอมา และด้วยอานุภาพวิชชาธรรมกายที่ท่านเข้าถึง นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ทำให้ชื่อเสียงของท่านแพร่สะพัดไปอีกโดยไม่ต้องโฆษณา ท่านยังถือว่าเป็นการเพิ่มพูนบุญบารมีให้ตัวท่านอีกด้วย ท่านมีคติประจำใจเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้นว่า "พระเราต้องไม่สู้ ต้องไม่หนี ชนะทุกที"ต่อมาท่านยังเจอปัญหาอีก คือ ทางเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญเกิดความไม่เข้าใจในตัวท่าน เนื่องจากท่านเคยห้ามหลวงปู่ไม่ให้แสดงฤทธิ์ เพราะเกรงว่าจะเป็นการทำเกินหน้าวัดอื่นในเขตเดียวกัน แต่หลวงปู่ไม่ได้ใส่ใจ ท่านพูดว่า "จะให้งอมืองอเท้านั้นไม่ได้ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ชีวิตเป็นหมัน" หลวงปู่ท่านพูดอย่างหนักแน่นมาก ท่านยังคงดำเนินตามปฏิปทารุดหน้าต่อไป คำว่าถอยหลังท่านไม่เคยใช้เกี่ยวกับวิชชาธรรมกาย ในระยะแรกมีผู้ไม่รู้ได้คัดค้านท่าน กล่าวหาว่าท่านอุตริบัญญัติคำว่าธรรมกาย ขึ้นใช้เอง บางคนก็ว่าท่านอวดอุตริมนุสธรรม บ้างก็พูดเหยียดหยามว่า ใครอยากเป็นอสุรกายให้ไปเรียนธรรมกายที่วัดปากน้ำ เมื่อท่านได้ยินก็กลับยิ้มรับถ้อยคำเหล่านั้นด้วยอาการ สงบ ไม่แสดงปฏิกิริยาขุ่นเคืองใดๆ ท่านพูดว่า "น่าสงสาร พูดไปอย่างไร้ภูมิ ไม่มีที่มาเขาจะบัญญัติขึ้นได้อย่างไรเป็นถ้อยคำของคนเซอะ" ท่านว่าอย่างนั้นและยังพูดอีกว่า "เรื่องตื้นๆ ไม่น่าตกใจอะไร ธรรมกายเป็นของจริง ของจริงนี้จะส่งเสริมให้วัดปากน้ำเด่นขึ้น ไม่น้อยหน้าใคร พวกแกคอยดูไปเถิด"คราวหนึ่งหลวงปู่พูดกับ สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ เกี่ยวกับการถูกโจมตีเรื่องธรรมกาย

ว่า "คนเช่นเราใช่จะไร้เสียซึ่งปัญญา ชั่วก็รู้ ดีก็เห็น เราจะฆ่าตัวเองเพราะความปรารถนาลามกทำไมที่เขาพูดว่าเราอย่างนั้น บางคนคงจะไม่รู้จักคำว่า ธรรมกาย มีอยู่ที่ไหนหมายเอาใคร เขาอาศัยความไม่รู้มาว่าเราผู้ตั้งใจปฏิบัติชอบ เมื่อผู้ไม่รู้ติเตียนเรา ความไม่รู้ของเขาจะลบล้างสัจธรรมของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร ถ้าจะลบก็ลบได้เพียงชั่วคราว ไม่ช้าดวงแก้วของพระพุทธศาสนาก็จะเปล่งรัศมีให้ผู้มีปัญญาเห็นด้วยสายตาของตนเองการที่เขานำไปพูดเช่นนั้นเป็นผลแห่งการปฏิบัติที่เราได้กระทำกันอยู่ แสดงให้เห็นว่าคณะวัดปากน้ำไม่ได้กินแล้วนอน เป็นสำนักที่เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม การพูดของเขาเท่ากับเอาสำนักไปเผยแพร่ ดีเสียกว่าการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เพราะการที่เขานำไปพูดนั้นเป็นการกระทำของผู้พูดเอง เราไม่ได้จ้างไม่ได้วานใคร เมื่อพูดทางไม่ดีก็ต้องมีคนพูดทางดีได้เหมือนกันธรรมะจะต้องชนะอธรรมเสมอ เราไม่เดือดร้อนใจ เพราะธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็นของแท้ ไม่ใช่ของเก๊หรือของเทียม ธรรมกายจะปรากฏเป็นของจริงแก่ผู้เข้าถึงธรรม เรื่องอย่างนี้เราไม่หวั่น เราเชื่อในคุณของพระพุทธศาสนา"หลวงปู่ท่านถือคติว่า "ดอกไม้ที่หอมไม่ต้องเอาน้ำหอมมาพรมก็หอมเอง ใครจะห้ามไม่ได้ ซากศพไม่ต้องเอาของเหม็นมาละเลงใส่ ซากศพก็ต้องแสดงกลิ่นศพให้ปรากฏ ปิดกันไม่ได้" หมายความว่าสิ่งที่หลวงปู่ทำอยู่เป็นดังดอกไม้หอม กลิ่นหอมของการกระทำ คือ ชื่อเสียงที่ดีงามย่อมขจรขจายไปทุกสารทิศ ใครก็มาปิดกั้นไม่ได้ เมื่อเขารู้ข่าวและได้เข้ามาพิสูจน์ ผู้นั้นย่อมได้รับกลิ่นหอมจากการพิสูจน์กันทุกคนท่านได้อ้างพุทธภาษิตที่มีมาในบาลีพระธรรมบทว่า

โย โข วกฺกลิ ธมฺม ปสฺ สติ โสม ปสฺสติ

ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าแลเห็นเรา ตถาคต

      นอกจากนี้ ท่านได้อ้างเอาบาลีที่มีมาในอัคคัญญสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคที่พระพุทธองค์ตรัสแก่วาเสฏฐสามเณรว่าตถาคตสฺส เหต วาเสฏา อธิวจน ธมฺมกาโย อิติปิฯดูก่อนวาเสฏฐสามเณร คำว่าธรรมกายนี้เป็นชื่อตถาคตโดยแท้เรื่องพระวักกลิดังที่ยกมากล่าวข้างต้นนั้น เมื่อประกอบกับความในอัคคัญญสูตร ย่อมส่องความให้เห็นว่า ที่พระพุทธองค์ตรัสว่าผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ก็หมายความว่า ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเราคือตถาคตนั่นเอง หรือพูดให้ง่ายกว่านั้นก็คือ ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้าทำไมจึงหมายความเช่นนั้น ก็เพราะว่า ขณะนั้นพระวักกลิอยู่ใกล้ๆ กับพระองค์ หากจะแลดูด้วยตาเนื้อ ทำไมจะไม่เห็นพระองค์ เพราะไม่ปรากฏว่าพระวักกลิตาพิการ เมื่อเป็นเช่นนี้ไฉนพระองค์จะตรัสเช่นนั้นเล่า ที่ตรัสเช่นนั้นจึงตีความได้ว่า ที่แลเห็นด้วยตาธรรมดานั้น เห็นแต่เปลือกของพระองค์คือ กายพระสิทธัตถะที่ออกบวช ซึ่งมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "เรา" (ตถาคต) และยังตรัสว่าเป็นกายที่เน่าเปอยอีกด้วย นั่นคือกายพระสิทธัตถะที่ออกบวช ซึ่งเป็น "กายภายนอก"คำว่า "เรา" ในที่นี้จึงหมายถึง "กายภายใน" ซึ่งไม่ใช่กายที่เปอยเน่า กายภายในคืออะไรเล่าก็คือ "ธรรมกาย"สามารถรู้เห็นได้เมื่อบำเพ็ญกิจถูกส่วนแล้ว และเห็นด้วย "ตาธรรมกาย" ไม่ใช"ตาธรรมดา" พระพุทธดำรัสข้างต้นนั้น เป็นปัญหาธรรมมีนัยลึกซึ้งอยู่ ถ้ามิได้ปฏิบัติธรรมก็เข้าใจได้ยากเมื่อท่านปฏิบัติได้แล้ว จึงตอบปัญหาได้อย่างง่ายดาย

อาพาธและมรณภาพ

      นับจากวันที่หลวงปู่ได้รับมอบหมายให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำเป็นต้นมา ท่านรับภาระหนักมาโดยตลอด ท่านมีเวลาพักผ่อนน้อย เพราะเวลาส่วนใหญ่อุทิศให้กับเรื่องการทำภาวนาและการบริหารวัดทุกวันไม่ได้ขาด จนล่วงเข้าวัยชราสุขภาพของท่านก็เริ่มทรุดโทรม ท่านเริ่มอาพาธเป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อประมาณกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2499 ในช่วงแรกอาการของหลวงปู่ขึ้นๆ ลงๆมี พล.ร.จ.เรียง วิภัติภูมิประเทศ ร.น. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารเรือ เป็นแพทย์ประจำของหลวงปู่ได้มาเยี่ยมดูอาการทุกเช้าเย็น และให้การรักษาพยาบาลด้วยตัวเอง เมื่อตรวจพบอาการของโรคใดที่สงสัย ก็จะเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ มาตรวจรักษาหลวงปู่ตอนที่เริ่มอาพาธใหม่ๆ หลวงปู่ท่านนัดประชุมพระภิกษุสามเณร แม่ชี และลูกศิษย์วัดทั้งหมดที่ศาลาเก่า ท่านขอให้ทุกคนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระปีละ 1 วัน โดยให้ไปชักชวนพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ให้ได้

ครบ 365 วัน ตอนนั้นพระครูปัญญาภิรัติคิดว่าหลวงปู่จะปลงสังขารแล้ว จึงได้อาราธนาให้ท่านอยู่นานๆเหตุนี้จึงนับเป็นการเริ่มโครงการเลี้ยงพระประจำวัน ซึ่งมีหลวงปู่เป็นผู้ริเริ่มหลวงปู่ได้รับ สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระมงคลเทพมุนี ในระหว่างอาพาธ ในขณะนั้นอาการมีแต่ทรงกับทรุด ถึงแม้ว่าอาการจะเป็นอย่างนี้ แต่กำลังใจของท่านยังแข็งแกร่ง ท่านยังเข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรในพระบรมมหาราชวังได้ด้วยตัวเองหลวงปู่ได้นำโยมมารดาของท่านมาเลี้ยงดูอยู่ในวัดปากน้ำเป็นอย่างดีสร้างที่อยู่ให้อย่างสะดวก สบายจนตลอดชีวิต

        โยมแม่เสียชีวิตด้วยโรคงูบินในปี พ.ศ. 2484 เมื่ออายุ 82 ปี หลวงปู่ได้เก็บร่างของโยมแม่ไว้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500 ท่านได้จัดการฌาปนกิจศพโยมมารดาของท่าน เพื่อเป็นการสนองพระคุณ แม้ว่าอาการของโรคจะกำเริบมากขึ้น แต่ท่านก็ยังไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลได้จนตลอดก่อนหน้านี้หลวงปู่เคยเข้ารับการผ่าตัดโรคไส้เลื่อนที่โรงพยาบาลศิริราชมาก่อน 1 ครั้ง และต้องเข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์ 2 ครั้ง แม้ว่าท่านจะอาพาธแต่ก็ยัง สอนเจริญภาวนา และทำภาวนาตามปกติ ท่านจะให้พระภิกษุมานั่งสมาธิใกล้ๆ ท่านทุกวันไม่ได้ขาดหลวงปู่ท่านมีกำลังใจเข้มแข็งมาก เวลาท่านจะลุก นั่ง ยืน เดิน หรือ สรงน้ำ ท่านจะทำเอง ไม่ยอมให้ผู้อื่นช่วย ท่านไม่เคยบ่นหรือจู้จี้กับใคร ใครนำอาหารมาถวายอย่างไร ก็ฉันอย่างนั้น ถ้ามีผู้ห้ามไม่ให้ท่านฉันอาหารบางอย่างเพราะกลัวจะแสลงโรค ท่านก็เลิกฉันอาหารนั้นๆผู้ที่จัดการดูแลหลวงปู่ในระหว่างอาพาธ คือ ท่านเจ้าคุณราชโมลี ( มัยนั้นดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักเรียนและเลขาของหลวงปู่ด้วย) ท่านได้จัดพระภิกษุสามเณร เปลี่ยนเวรกัน ช่วงละ 2 ชั่วโมงตลอด 24 ชั่วโมง และให้จดบันทึกอาการของหลวงปู่โดยละเอียด เมื่อแพทย์มาตรวจรักษาจะได้รายงานอาการของหลวงปู่ได้ถูกต้องตามความเป็นจริง พระภิกษุสามเณรที่มาดูแลหลวงปู่มีหลายรูป ในระยะแรกผู้ที่ดูแล คือ หลวงพ่อเล็ก ครั้งยังดำรง สมณศักดิ์ที่พระครู สมณธรรม สมาทาน พระครูอุปถัมภ์ธรรมกิจ( สมัยยังเป็นสามเณร) พระครูปลัดถนอม พระแพ พระมหาอินทร์ พระจ้าย พระโนรี พระครูโอภาสมาธิคุณ(พระสุภาพ) รุ่นต่อมามีพระมหามานิตย์ พระครูวินัยธรทรงเกียรติ และพระ นั่น นอกจากนี้ยังมีลูกพี่ลูกน้องและหลานๆ ของหลวงปู่มาช่วยดูแลอุปัฏฐากด้วย อาทิเช่น นายแกละ นายแบน นายยง นายละอองนายฉลอม มีแก้วน้อย และนายเจริญ เจริญเรืองตั้งแต่หลวงปู่อาพาธ สมเด็จป๋า จะมาเยี่ยมดูอาการอยู่บ่อยๆ บางวันมาเช้า บางวันมาบ่ายบางวันมาเย็น อีกทั้งมาคอยดูแลว่าพระภิกษุสามเณรที่พยาบาลหลวงปู่ ดูแลดีเพียงใด วันหนึ่ง สมเด็จป๋ามาเยี่ยม หลวงปู่ให้พระภิกษุสามเณรตั้งแถวต้อนรับ เมื่อ สมเด็จป๋าไปถึงที่พักของหลวงปู่ มีพระอุปัฏฐากออกมาแจ้งว่า หลวงปู่ออกมารออยู่นานแล้ว สมเด็จป๋าจึงพูดว่า "ฉันไม่เคยบอกแก่ใครว่าจะมา พวกคุณไปโกหกหลวงปู่ไว้หรือว่าฉันจะมา" พระอุปัฏฐากตอบว่า "ผมก็ไม่ทราบ แต่หลวงปู่สั่งให้จัดอาสนะไว้รับพระเดชพระคุณด้วยวาจาว่า จัดที่ไว้ ธรรมดิลกจะมา" ท่านสั่งไว้อย่างนี้ ไม่เคยผิดพลาดสักครั้งเดียว

      ช่วงไหนที่ สมเด็จป๋าหายไปนาน หลวงปู่ก็พูดขึ้นลอยๆ ว่า "ธรรมดิลกวัดโพธิ์ไม่อยู่"ท่านพูดถึงอาการอาพาธกับ สมเด็จป๋าว่า "เจ็บคราวนี้ไม่หาย ไม่มียารักษา เพราะยาที่ฉันอยู่นั้น มันไม่ถึงโรค" ท่านว่ากรรมมันบังไว้ อุปมาเหมือนมีแผ่นหินมารองรับกั้นไว้ ไม่ให้ยาซึมไปกำจัดโรคได้ โรคของท่านนั้นเป็นไข้เหนือหมอ ไม่มีใครรักษาหาย แต่เมื่อลูกศิษย์พาแพทย์ที่มีชื่อเสียงมารักษา ท่านก็ไม่ขัด เพราะต้องการเปิดโอกาสให้ลูกศิษย์ได้แสดงกตัญูกตเวทิตาในระหว่างที่อาพาธอยู่เมื่อท่านอาพาธหนัก ท่านได้เรียกหลวงพ่อเล็ก เข้าไปพบ เพื่อสั่งให้ดำเนินการเผยแผ่วิชชาธรรมกาย และแจกพระของขวัญต่อไป อีกทั้งยังสั่งเรื่องสำคัญไว้ด้วยว่า เมื่อท่านมรณภาพแล้วให้เก็บ สรีระของท่านไว้ไม่ต้องเผาก่อนที่หลวงปู่ท่านจะมรณภาพ ท่านได้ให้โอวาทกับศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลายคนว่า ให้เผยแผ่วิชชาธรรมกายต่อไป ท่านได้สั่งลูกศิษย์ธรรมกายทุกคนของท่าน เสมือนพินัยกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ว่า แม้ท่านจะมรณภาพแล้ว ก็ขอให้ทุกคนช่วยกันสั่ง สอนวิชชาธรรมกายนี้ สืบไป ไม่ย่อท้อจนกว่าจะสิ้นชีวิต ไม่ให้ไปไหนให้อยู่ที่วัดปากน้ำ รอผู้ที่จะมา สืบทอดวิชชาธรรมกายในวันข้างหน้าต่อไปในเวลา 13.00 น. เศษ ของวันที่หลวงปู่จะมรณภาพนั้น ท่านมีอาการหอบ จึงได้ตามแพทย์ที่เคยมาดูแลประจำ แต่แพทย์ไม่อยู่ คุณหญิงชลขันธพินิจ ซึ่งมาคอยดูแลหลวงปู่ในที่นั้นด้วย จึงออกไปตามแพทย์ท่านอื่นมา เมื่อมาถึงก็ได้ตรวจอาการของหลวงปู่สักครู่แพทย์ได้แจ้งให้ทราบว่าหลวงปู่หมดความรู้สึกและเส้นโลหิตใน สมองแตกแล้ว หมดทางที่จะรักษา ในเวลานั้นพระภิกษุสามเณร อยู่กันเต็มห้อง ต่างมองดูหลวงปู่ด้วยใบหน้า สลดหลวงปู่ท่านมรณภาพอย่าง งบที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 เวลา15.05 น.สิริรวมอายุได้ 74 ปี 3 เดือน 24 วัน 53 พรรษา ท่ามกลางความโศก ลดและเสียงสะอื้นของศิษยานุศิษย์ทั้งหลายที่มาแวดล้อมและที่ทราบข่าว เมื่อระฆังและกลองในวัดบันลือเสียงขึ้น ทุกคนน้ำตาคลอบ้างก้มลงกราบ บ้างยืนมองแล้วร้องไห้ บ้างเอามือปิดหน้าสะอึกสะอื้น ไม่มีเสียงพูดใดๆ ทั้งสิ้น

Complete and Continue